เมนู

ว่าด้วยธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะเป็นต้น


ธรรมคือ วิญญาณัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ ชื่อว่า
มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ เพราะปรารภสมาบัติเบื้องต่ำของตน ๆ เป็นไป.
ธรรมคือ มรรคและผล ชื่อว่า มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ.
จิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุต 8 คือ ที่เป็นกุศล 4 เป็นกิริยา 4
ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ ในเวลาที่เสกขบุคคล ปุถุชนและพระ-
ขีณาสพปรารภกามาวจรธรรมในเวลาให้ทาน การพิจารณา การฟังธรรมโดย
ไม่เคารพเป็นต้นเป็นไป ชื่อว่า มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ ในเวลาที่พิจารณา
ธรรมมีปฐมฌานเป็นต้นที่คล่องแคล่วยิ่ง ชื่อว่า เป็นนวัตตัพพารัมมณะ
ในการพิจารณาปัญญัติมีกสิณและนิมิตเป็นต้น. จิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิคตสัม-
ปยุตตจิต 4 ดวงฝ่ายอกุศล ชื่อว่า มีอารมณ์เป็นปริตตะ ในเวลาที่ยินดี
เพลิดเพลินด้วยความเห็นกามาวจรธรรม 55 ดวงว่าเป็นสัตว์มีอัตตา ชื่อว่า
มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ ในเวลาปรารภมหัคคตธรรม 27 ดวง เป็นไปโดย
อาการเห็นผิดนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า มีอารมณ์เป็นนวัตตัพพะ ในเวลาที่
ที่ปรารภบัญญัติธรรมเป็นไป. จิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุต พึงทราบว่ามี
อารมณ์เป็น ปริตตะ มหัคคตะและนวัตตัพพะ ในเวลาปรารภธรรม
เหล่านั้นนั่นแหละเป็นไปด้วยอำนาจความยินดีเพลิดเพลินอย่างเดียว. และ
จิตตุปบาทที่เป็นปฏิฆสัมปยุต พึงทราบว่า มีอารมณ์เป็นปริตตะ มหัคคตะ
และนวัตตัพพะ
ในเวลาเป็นไปด้วยอำนาจโทมนัส. จิตตุปบาทที่สัมปยุต
ด้วยวิจิกิจฉา พึงทราบว่า มีอารมณ์เป็นปริตตะ มหัคคตะ และนวัต-
ตัพพะ
เป็นไปด้วยอำนาจความไม่ตกลงใจ. จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ
ก็พึงทราบว่า มีอารมณ์เป็นปริตตะ มหัคคตะและนวัตตัพพะ เป็น
ไปด้วยอำนาจความฟุ้งซ่าน คือด้วยอำนาจแห่งความไม่สงบ.