เมนู

เทศนา เหมือนอย่างที่เขากล่าวว่า พระราชาเสด็จมาแล้ว ดังนี้ ย่อมเป็นอัน
กล่าวถึงการมาแม้ของอำมาตย์เป็นต้น ฉันใด เมื่อพระองค์ตรัสว่า จิตตุปบาท
ดังนี้ แม้สัมปยุตตธรรมทั้งหลายก็เป็นอันตรัสแล้วด้วยจิตตุปบาทเหล่านั้นฉันนั้น
เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ด้วยศัพท์ว่าจิตตุปบาทในที่ทั้งหมด พึงทราบว่า
ทรงถือเอาจิตพร้อมทั้งสัมปยุตธรรม ดังนี้.
ก็จำเดิมแต่นี้ไป เนื้อความแห่งบทที่พึงจำแนกด้วยบทติกะและทุกะ
แม้ทั้งหมด มีอาทิว่า จตูสุ ภูมีสุ วิปาโก (วิบากในภูมิ) และนวัต-
ตัพพธรรม (คือธรรมที่ไม่พึงกล่าว) แห่งเวทนามีสุขเป็นต้นในเวทนาติกะ
เป็นต้น บัณฑิตใคร่ครวญพระบาลี และอรรถกถา ในหนหลังแล้วก็พึงทราบ
ได้โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ข้าพเจ้าจักกล่าวแต่เนื้อความที่ต่างกันเท่านั้น.

ว่าด้วยปริตตารัมมณติกะ


บรรดาติกะเหล่านั้น พึงทราบปริตตารัมมณติกะ (บาลีข้อ 890) ก่อน
ในข้อว่า สพฺโพ กามาวจรสฺส วิปาโก (กามาวจรวิบากทั้งหมด)
นี้ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ (วิญญาน 10) ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริต-
ตะ
(กามอารมณ์) เพราะอรรถาว่าอาศัยจักขุประสาทเป็นต้นแล้วเริ่มเป็นไปใน
ธรรมคือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันต่างโดยเป็นอิฏฐารมณ์และ
อนิฏฐารมณ์เป็นต้น โดยแน่นอนทีเดียว. และมโนธาตุ 2 คือ กุศลวิบาก
และอกุศลวิบาก ก็ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เพราะอรรถว่า
อาศัยหทยวัตถุปรารภอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นนั่นแหละเป็นไป ในลำดับ
แห่งจักขุวิญญาณเป็นต้นโดยแน่นอน.
อเหตุกโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส ก็ชื่อ
ว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เพราะอรรถว่า ปรารภอารมณ์กามาวจร