เมนู

ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 4 อกุศล วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 รูปที่
เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้แต่นับเนื่องในธรรมายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้.
ติกะ จบ

อัฏฐกถากัณฑวรรณนา

*

อธิบายเนื้อความหมวดติกะ


บัดนี้ ถึงลำดับการพรรณนาอัฏฐกถากัณฑ์ที่ท่านตั้งไว้ในลำดับแห่ง
นิกเขปกัณฑ์. ถามว่า ก็กัณฑ์นี้ ชื่อว่า อัฏฐกถากัณฑ์ เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะยกเนื้อความพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกขึ้นขยายความ.
จริงอยู่ ความแตกต่างกันแห่งธรรมที่มาในปิฎกทั้ง 3 ท่านได้
กำหนดแยกแยะใคร่ครวญไว้ด้วยอัฏฐกถากัณฑ์นั่นแหละ ย่อมชื่อว่า เป็นคำ
อันท่านวินิจฉัยดีแล้ว. แม้จะกำหนดทางแห่งนัยในพระอภิธรรมปิฎกทั้งสิ้น
ตลอดถึงการขยายความปัญหา การเป็นไปแห่งการนับในมหาปกรณ์ ไม่ได้
ก็ควรนำมาเปรียบเนื้อความดูจากอัฏฐกถากัณฑ์ได้.
ถามว่า ก็อัฏฐกถากัณฑ์นี้ เกิดแต่ใคร ?
ตอบว่า เกิดแต่พระสารีบุตรเถระ.
จริงอยู่ พระสารีบุตรเถระได้กล่าวอัฏฐกถากัณฑ์ให้สติ วิหาริกของ
ท่านรูปหนึ่ง ซึ่งไม่อาจกำหนดขยายเนื้อความในนิกเขปกัณฑ์ได้ แต่อัฏฐกถา
กัณฑ์นี้ ท่านกล่าวคัดค้านไว้ในมหาอรรถกถาว่า ธรรมดาพระอภิธรรมไม่ใช่
* บาลีเป็น อัตถทธารกัณฑ์

เป็นวิสัยของพระสาวก ไม่ใช่เป็นโคจรของพระสาวก พระอภิธรรมนี้เป็น
พุทธวิสัย เป็นโคจรของพระพุทธเจ้า แต่พระธรรมเสนาบดีถูกสัทธิวิหาริก
ถามแล้ว จึงพาสัทธิวิหาริกนั้นไปสำนักพระศาสดา แล้วทูลถามต่อพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสอัฏฐกถากัณฑ์ประทานแก่ภิกษุนั้น.
ได้ตรัสประทานอย่างไร ? คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า กตเม ธมฺมา
กุสลา
(ธรรมเป็นกุศลเป็นไฉน). อธิบายว่า เธอกำหนดว่า ธรรมดากุศลธรรม
ทั้งหลาย เป็นไฉน ดังนี้. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรม
มีกุศลเป็นต้นด้วยอำนาจการขยายความกระทำให้เป็นช่อ ๆ เป็นพวง ๆ เป็น
กลุ่ม ๆ ประทานแก่ภิกษุผู้ดุษณีภาพนั้นโดยนัยนี้ว่า กุศลอันต่างโดยภูมิ
ด้วยนัยมีอาทิว่า ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ? กามาวจรกุศลจิต
เกิดขึ้นในสมัยใด ดังนี้ เราแสดงแล้วมิใช่หรือ กุศลจิตนั้นแม้
ทั้งหมดในภูมิ 4 สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
ดังนี้.
ในคำพุทธพจน์เหล่านั้น บทว่า จตูสุ (ในภูมิ 4) ได้แก่ กามาวจรภูมิ
รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตรภูมิ. บทว่า กุสลํ (กุศล) ได้แก่
กุศลอันต่างด้วยกุศลมีผัสสะเป็นต้น. บทว่า อิเม ธมฺมา กุสลา (สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล) ได้แก่ ธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดมีผัสสะเป็นต้น
ที่ตรัสไว้ในภูมิ 4 เหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ก็เพราะอกุศลธรรมทั้งหลายไม่มีความแตกต่างกันด้วยอำนาจภูมิ จึง
ตรัสว่า ทฺวาทส อกุสลจิตฺตุปฺปาทา (จิตตุปบาทฝ่ายอกุศล 12 ดวง) ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อกุศลจิตตุปบาท นั้นต่อไป.
ที่ชื่อว่า อุปปาโท (อุปบาทะ) เพราะอรรถว่า เกิดขึ้น. อุปปาทะ
คือ จิตนั่นเอง ชื่อว่า จิตตุปปาทะ ก็คำว่า จิตตุปปาทะนี้เป็นประธานของ

เทศนา เหมือนอย่างที่เขากล่าวว่า พระราชาเสด็จมาแล้ว ดังนี้ ย่อมเป็นอัน
กล่าวถึงการมาแม้ของอำมาตย์เป็นต้น ฉันใด เมื่อพระองค์ตรัสว่า จิตตุปบาท
ดังนี้ แม้สัมปยุตตธรรมทั้งหลายก็เป็นอันตรัสแล้วด้วยจิตตุปบาทเหล่านั้นฉันนั้น
เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ด้วยศัพท์ว่าจิตตุปบาทในที่ทั้งหมด พึงทราบว่า
ทรงถือเอาจิตพร้อมทั้งสัมปยุตธรรม ดังนี้.
ก็จำเดิมแต่นี้ไป เนื้อความแห่งบทที่พึงจำแนกด้วยบทติกะและทุกะ
แม้ทั้งหมด มีอาทิว่า จตูสุ ภูมีสุ วิปาโก (วิบากในภูมิ) และนวัต-
ตัพพธรรม (คือธรรมที่ไม่พึงกล่าว) แห่งเวทนามีสุขเป็นต้นในเวทนาติกะ
เป็นต้น บัณฑิตใคร่ครวญพระบาลี และอรรถกถา ในหนหลังแล้วก็พึงทราบ
ได้โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ข้าพเจ้าจักกล่าวแต่เนื้อความที่ต่างกันเท่านั้น.

ว่าด้วยปริตตารัมมณติกะ


บรรดาติกะเหล่านั้น พึงทราบปริตตารัมมณติกะ (บาลีข้อ 890) ก่อน
ในข้อว่า สพฺโพ กามาวจรสฺส วิปาโก (กามาวจรวิบากทั้งหมด)
นี้ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ (วิญญาน 10) ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริต-
ตะ
(กามอารมณ์) เพราะอรรถาว่าอาศัยจักขุประสาทเป็นต้นแล้วเริ่มเป็นไปใน
ธรรมคือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันต่างโดยเป็นอิฏฐารมณ์และ
อนิฏฐารมณ์เป็นต้น โดยแน่นอนทีเดียว. และมโนธาตุ 2 คือ กุศลวิบาก
และอกุศลวิบาก ก็ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เพราะอรรถว่า
อาศัยหทยวัตถุปรารภอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นนั่นแหละเป็นไป ในลำดับ
แห่งจักขุวิญญาณเป็นต้นโดยแน่นอน.
อเหตุกโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส ก็ชื่อ
ว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เพราะอรรถว่า ปรารภอารมณ์กามาวจร