เมนู

กุศลธรรมอันยิ่งทั้งหลายในเสนาสนะอันสงัดทั้งหลาย ชื่อว่ายังความเพียรให้
ถ้อถอย ภิกษุเมื่อไม่หน่าย ชื่อว่า ไม่ยังความเพียรให้ถ้อถอย เพราะฉะนั้น
เพื่อทรงแสดงนัยนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยา กุสลานํ ธมฺมานํ (เพื่อความ
เจริญแห่งกุศลธรรมอันใด) ดังนี้.
ในพระบาลีเหล่านั้น บทว่า สกฺกจฺจกิริยตา (ความเป็นผู้กระทำ
โดยเคารพ) ได้แก่ ความเป็นผู้กระทำโดยเคารพในการทำกุศลทั้งหลาย.
บทว่า สาตจฺจกิริยตา (ความกระทำติดต่อ) คือ ทำติดต่อกันนั่นแหละ.
บทว่า อฏฺฐิตกิริยตา (ความการทำไม่หยุด) คือ ทำไม่ให้ขาด
ทำไม่หยุด.
บทว่า อโนลีนวุตฺติตา (ความประพฤติไม่ย่อหย่อน) คือ ความ
ดำรงชีพไม่ย่อหย่อน หรือความประพฤติไม่ย่อหย่อน.
บทว่า อนิกฺขิตฺตฉนฺทตา (ความไม่ทิ้งฉันทะ) คือ ไม่ทิ้งกุศลฉันทะ.
บทว่า อนิกฺขตฺตธุรตา (ความไม่ทอดธุระ) คือ ไม่ทอดทิ้งธุระความ
เพียรในการสร้างกุศล.

ว่าด้วยนิทเทสวิชชาทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติญาณํ วิชฺชา นี้ต่อไป
บทว่า ปุพฺเพนิวาโส (บุพเพนิวาส) ได้แก่ ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ใน
กาลก่อน และขันธ์ที่เนื่องกัน. การตามระลึกบุพเพนิวาสได้ ชื่อว่า บุพเพนิ-
วาสานุสติ.
ญาณสัมปยุตด้วยบุพเพนิวาสานุสตินั้น ชื่อว่า บุพเพนิวาสา-
นุสติญาณ.
บุพเพนิวาสานุสติญาณนี้นั้น ชื่อว่า วิชชา แม้เพราะอรรถว่า
ย่อมกำจัดความมืดอันปกปิดขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน คือญาณนั้นกำจัด
ความมืดแล้วกระทำขันธ์เหล่านั้น อันตนรู้แจ้งแล้วให้ปรากฏ เพราะเหตุนั้น
ญาณนั้น จึงชื่อว่า วิชชา ด้วยอรรถว่า กระทำขันธ์ให้ปรากฏ.

บทว่า จุตูปปาเต ญาณํ (จุตูปปาตญาณ) ได้แก่ ญาณ (คือ
ความรู้) ในจุติและอุปบัติ. ญาณแม้นี้ก็ชื่อว่า วิชชา แม้ด้วยอรรถว่า ย่อม
กำจัดความมืดอันปกปิดจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย คือ ญาณนั้นกำจัด
ความมืดแล้วกระทำจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายที่รู้แล้วให้ปรากฏ เพราะ
ฉะนั้น ญาณนั้น จึงชื่อว่า วิชชา แม้ด้วยอรรถว่า กระทำจุติปฏิสนธิที่รู้แล้ว
ให้ปรากฏ.
บทว่า อาสวานํ ขเย ญาณํ (อาสวักขยญาณ) ได้แก่ ญาณใน
สมัยสิ้นสรรพกิเลสทั้งหลาย ญาณนี้นั้น ชื่อว่า วิชชา แม้เพราะอรรถว่า
ย่อมกำจัดความมืดอันปิดบังสัจจะทั้ง 4 คือ ญาณนั้นกำจัดความมืดแล้วกระทำ
สัจจะ ที่รู้แล้วให้ปรากฏ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิชชา แม้ด้วยอรรถว่า
กระทำสัจจะให้แจ่มแจ้ง.
ในข้อว่า จิตฺตสฺส จ อธิมุตฺติ นิพฺพานญฺจ (อธิมุตติแห่งจิต
และนิพพาน) นี้ สมาบัติ 8 ชื่อว่า อธิมุตติแห่งจิต ด้วยอรรถว่า น้อม
ไปในอารมณ์ และด้วยอรรถว่า หลุดพ้นด้วยดีจากธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลาย.
ส่วนญาณนอกนี้ชื่อว่า นิพพาน ด้วยอรรถว่า วานะกล่าวคือตัณหาไม่มีใน
นิพพานนี้ หรือ พระนิพพานนี้ออกไปจากวานะ (คือตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด)
นั้น. บรรดาธรรมทั้ง 2 (คืออธิมุตติแห่งจิตและนิพพาน) เหล่านั้น สมาบัติ
8 ตรัสว่า วิมุตติ เพราะหลุดพ้นแล้วจากกิเลสที่ข่มไว้ได้เอง. แต่นิพพาน
ตรัสว่า วิมุตติ เพราะหลุดพ้นโดยส่วนเดียวจากสรรพกิเลสทั้งหลาย.
บทว่า มคฺคสมงฺคิสฺส ญาณํ (ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วย
มรรค) ได้แก่ มรรคญาณทั้ง 4. บทว่า ผลสมงฺคิสฺส ญาณํ (ญาณของ
ท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยผล) ได้แก่ ผลญาณทั้ง 4.

ในบรรดาญาณเหล่านั้น มรรคญาณที่ 1 ชื่อว่า ขเย ญาณํ (ญาณ
ในความสิ้นไป) เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นยังกิเลส 5 อย่างให้สิ้นไป ให้ดับไป
ให้สงบ ให้ระงับ. มรรคญาณที่ 2 ยังกิเลส 4 อย่าง ให้สิ้นไป. มรรคญาณ
ที่ 3 ก็ยังกิเลส 4 อย่างให้สิ้นไปเหมือนกัน แต่มรรคญาณที่ 4 ชื่อว่า ขเย
ญาณํ
(ขยญาณ) เพราะอรรถว่า ย่อมเกิดขึ้นทำกิเลส 8 อย่างให้สิ้นไป
ให้ดับไป ให้สงบ ให้ระงับ.
แต่ผลญาณของมรรคนั้น ๆ ชื่อว่า อนุปฺปาเท ญาณํ (อนุปปาท-
ญาณ) เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นในที่สุดแห่งการสิ้นไป ในที่สุดแห่งการดับไป
ในที่สุดแห่งการสงบไป ในที่สุดแห่งการระงับไป ในที่สุดแห่งการไม่เกิดขึ้น
ในที่สุดแห่งการไม่เป็นไปแห่งกิเลสเหล่านั้น ดังนี้แล.
การพรรณนานิกเขปกัณฑ์
อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี จบ

อัตถุทธารกัณฑ์


ติกะ


[878] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 4 สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทฝ่ายอกุศล 12 ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น
อกุศล.
ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?
วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[879] ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง
ฝ่ายอกุศล 4 ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก และฝ่ายกิริยา (อย่างละ) 5 ดวง
ฌาน 3 (ในจตุกนัย) และ (ในปัญจกนัย) ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล
ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน 3 และ 4 ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และ
ฝ่ายวิบาก เว้นสุขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา.
ธรรมที่สัมปยุตตด้วยทุกขเวทนา เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา 2 ดวง กายวิญญาณที่สหรคต
ด้วยทุกขเวทนา เว้นทุกขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านั้นเสีย สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยทุกขเวทนา.