เมนู

กุศลธรรมอันยิ่งทั้งหลายในเสนาสนะอันสงัดทั้งหลาย ชื่อว่ายังความเพียรให้
ถ้อถอย ภิกษุเมื่อไม่หน่าย ชื่อว่า ไม่ยังความเพียรให้ถ้อถอย เพราะฉะนั้น
เพื่อทรงแสดงนัยนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยา กุสลานํ ธมฺมานํ (เพื่อความ
เจริญแห่งกุศลธรรมอันใด) ดังนี้.
ในพระบาลีเหล่านั้น บทว่า สกฺกจฺจกิริยตา (ความเป็นผู้กระทำ
โดยเคารพ) ได้แก่ ความเป็นผู้กระทำโดยเคารพในการทำกุศลทั้งหลาย.
บทว่า สาตจฺจกิริยตา (ความกระทำติดต่อ) คือ ทำติดต่อกันนั่นแหละ.
บทว่า อฏฺฐิตกิริยตา (ความการทำไม่หยุด) คือ ทำไม่ให้ขาด
ทำไม่หยุด.
บทว่า อโนลีนวุตฺติตา (ความประพฤติไม่ย่อหย่อน) คือ ความ
ดำรงชีพไม่ย่อหย่อน หรือความประพฤติไม่ย่อหย่อน.
บทว่า อนิกฺขิตฺตฉนฺทตา (ความไม่ทิ้งฉันทะ) คือ ไม่ทิ้งกุศลฉันทะ.
บทว่า อนิกฺขตฺตธุรตา (ความไม่ทอดธุระ) คือ ไม่ทอดทิ้งธุระความ
เพียรในการสร้างกุศล.

ว่าด้วยนิทเทสวิชชาทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติญาณํ วิชฺชา นี้ต่อไป
บทว่า ปุพฺเพนิวาโส (บุพเพนิวาส) ได้แก่ ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ใน
กาลก่อน และขันธ์ที่เนื่องกัน. การตามระลึกบุพเพนิวาสได้ ชื่อว่า บุพเพนิ-
วาสานุสติ.
ญาณสัมปยุตด้วยบุพเพนิวาสานุสตินั้น ชื่อว่า บุพเพนิวาสา-
นุสติญาณ.
บุพเพนิวาสานุสติญาณนี้นั้น ชื่อว่า วิชชา แม้เพราะอรรถว่า
ย่อมกำจัดความมืดอันปกปิดขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน คือญาณนั้นกำจัด
ความมืดแล้วกระทำขันธ์เหล่านั้น อันตนรู้แจ้งแล้วให้ปรากฏ เพราะเหตุนั้น
ญาณนั้น จึงชื่อว่า วิชชา ด้วยอรรถว่า กระทำขันธ์ให้ปรากฏ.