เมนู

ภิกษุผู้เห็นชาติเป็นต้น โดยความเป็นภัยแล้วใคร่เพื่อจะพ้นไปจากชาติ ชราพยา-
ธิและมรณะ. ส่วนเนื้อความแห่งบทภาชนีย์จักมีแจ้งในอรรถกถาวิภังคัฏฐกถา.

ว่าด้วยนิทเทสอสันตุฏฐตากุศลธรรมทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในบทนิทเทสว่า อสนฺตุฏฺฐตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ
(ความไม่รู้จักอิ่มในกุศลธรรมทั้งหลาย) ต่อไป
บทว่า ภิยฺโย กมฺยตา (ความพอใจยิ่ง ๆ ขึ้นไป) ได้แก่ ความพอใจ
อย่างเยี่ยม จริงอยู่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายปักขิยภัต (อาหารที่
ถวายประจำปักษ์) บ้าง สลากภัต (อาหารที่ถวายโดยวิธีจับสลาก) บ้าง
อุโปสถิกภัต (อาหารที่ถวายในวันอุโบสถ) บ้าง ปาฏิปทิกภัต (อาหารที่
ถวายในวันหนึ่งค่ำ) บ้าง ตั้งแต่เริ่มต้นทีเดียว บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยการ
ถวายทานนั้น ๆ จึงถวายธุวภัต* (ถวายอาหารประจำ) สังฆภัต (ถวายอาหาร
แก่สงฆ์) วัสสาวาสิกภัต (ถวายอาหารแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา) อีก ย่อม
สร้างอาวาส ย่อมถวายปัจจัยแม้ทั้ง 4. เขาก็ยังเป็นผู้ไม่อิ่มใจแม้ในการถวาย
นั้น ๆ จึงรับสรณะทั้งหลาย สมาทานเบญจศีล เขาก็ยังเป็นผู้ไม่อิ่มแม้ในการ
ทำกุศลนั้น ๆ จึงบวช ครั้นบวชแล้วก็เรียนกะพุทธวจนะ คือพระไตรปิฎก
คือนิกายหนึ่ง สองนิกาย ย่อมยังสมาบัติ 8 ให้เกิด เจริญวิปัสสนาถือเอา
พระอรหัต จำเดิมแต่การบรรลุพระอรหัตแล้ว ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า มหาสันตุฏฐะ
(อิ่มใจอย่างใหญ่) ความพอใจอย่างเยี่ยม (พิเศษ) จนถึงพระอรหัตอย่างนี้
ชื่อว่า ภิยฺโยกมฺยตา (ความพอใจยิ่ง ๆ ขึ้นไป).
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งบทว่า อปฺปฏิวานิตา จ ปธานสฺมึ
(ความไม่ท้อถอยในความพยายาม) ดังนี้ เพราะภิกษุหน่ายอยู่ในการเจริญ
* โยชนาว่า ธุรภัต อาหารที่ถวายผู้ทำความเพียร

กุศลธรรมอันยิ่งทั้งหลายในเสนาสนะอันสงัดทั้งหลาย ชื่อว่ายังความเพียรให้
ถ้อถอย ภิกษุเมื่อไม่หน่าย ชื่อว่า ไม่ยังความเพียรให้ถ้อถอย เพราะฉะนั้น
เพื่อทรงแสดงนัยนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยา กุสลานํ ธมฺมานํ (เพื่อความ
เจริญแห่งกุศลธรรมอันใด) ดังนี้.
ในพระบาลีเหล่านั้น บทว่า สกฺกจฺจกิริยตา (ความเป็นผู้กระทำ
โดยเคารพ) ได้แก่ ความเป็นผู้กระทำโดยเคารพในการทำกุศลทั้งหลาย.
บทว่า สาตจฺจกิริยตา (ความกระทำติดต่อ) คือ ทำติดต่อกันนั่นแหละ.
บทว่า อฏฺฐิตกิริยตา (ความการทำไม่หยุด) คือ ทำไม่ให้ขาด
ทำไม่หยุด.
บทว่า อโนลีนวุตฺติตา (ความประพฤติไม่ย่อหย่อน) คือ ความ
ดำรงชีพไม่ย่อหย่อน หรือความประพฤติไม่ย่อหย่อน.
บทว่า อนิกฺขิตฺตฉนฺทตา (ความไม่ทิ้งฉันทะ) คือ ไม่ทิ้งกุศลฉันทะ.
บทว่า อนิกฺขตฺตธุรตา (ความไม่ทอดธุระ) คือ ไม่ทอดทิ้งธุระความ
เพียรในการสร้างกุศล.

ว่าด้วยนิทเทสวิชชาทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติญาณํ วิชฺชา นี้ต่อไป
บทว่า ปุพฺเพนิวาโส (บุพเพนิวาส) ได้แก่ ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ใน
กาลก่อน และขันธ์ที่เนื่องกัน. การตามระลึกบุพเพนิวาสได้ ชื่อว่า บุพเพนิ-
วาสานุสติ.
ญาณสัมปยุตด้วยบุพเพนิวาสานุสตินั้น ชื่อว่า บุพเพนิวาสา-
นุสติญาณ.
บุพเพนิวาสานุสติญาณนี้นั้น ชื่อว่า วิชชา แม้เพราะอรรถว่า
ย่อมกำจัดความมืดอันปกปิดขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน คือญาณนั้นกำจัด
ความมืดแล้วกระทำขันธ์เหล่านั้น อันตนรู้แจ้งแล้วให้ปรากฏ เพราะเหตุนั้น
ญาณนั้น จึงชื่อว่า วิชชา ด้วยอรรถว่า กระทำขันธ์ให้ปรากฏ.