เมนู

บทว่า สจฺจานุโลมิกญาณํ (สัจจานุโลมิกญาณ) ได้แก่ วิปัสส-
นาญาณที่คล้อยตามสัจจะ 4.
บทว่า มคฺคสมงฺคิสฺส ญาณํ ผลสมงฺคิสฺส ญาณํ (ญาณของ
ท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยผล) ได้แก่
มรรคญาณและผลญาณนั่นแหละ.
ในนิทเทสแห่งบทว่า ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ โข ปน (ความหมดจดแห่ง
ทิฏฐิ) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกญาณ 4 มี กัมมัสสกตญาณเป็นต้นนั่น-
แหละที่ตรัสไว้ในหนหลัง ด้วยบทมีอาทิว่า ยา ปญฺญา ปชานนา (ปัญญา
กิริยาที่รู้ชัด อันใด) ดังนี้.
ในนิทเทสแห่งบทว่า ยถา ทิฏฺฐิสฺส จ ปธานํ (ความเพียรแห่ง
บุคคลผู้มีทิฏฐิอันหมดจด) ได้แก่ ความเพียรที่ทรงแสดงด้วยบทมีอาทิว่า โย
เจตสิโก วิริยารมฺโภ
(การปรารภความเพียรทางใจอันใด) ดังนี้ มีคติอย่าง
ปัญญานั่นแหละ ในฐานะแห่งปัญญาที่เป็นโลกีย์ ก็พึงทราบว่าวิริยะนั้นเป็น
โลกีย์ ในฐานะแห่งโลกุตรปัญญา ก็พึงทราบว่า วิริยะนั้นเป็นโลกุตระ ดังนี้.

ว่าด้วยนิทเทสสังเวคทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสสังเวคทุกะ ต่อไป
บทว่า ชาติภยํ (กลัวชาติ) ได้แก่ ญาณที่เห็นชาติ (ความเกิด)
โดยความเป็นภัยตั้งอยู่. แม้ในญาณที่เห็นชราและมรณะโดยความเป็นภัยเป็นต้น
ก็นัยนี้แหละ.
ด้วยบทว่า อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ (เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่ง
อกุศลบาปธรรม) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเพียรอันเป็นเหตุของ

ภิกษุผู้เห็นชาติเป็นต้น โดยความเป็นภัยแล้วใคร่เพื่อจะพ้นไปจากชาติ ชราพยา-
ธิและมรณะ. ส่วนเนื้อความแห่งบทภาชนีย์จักมีแจ้งในอรรถกถาวิภังคัฏฐกถา.

ว่าด้วยนิทเทสอสันตุฏฐตากุศลธรรมทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในบทนิทเทสว่า อสนฺตุฏฺฐตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ
(ความไม่รู้จักอิ่มในกุศลธรรมทั้งหลาย) ต่อไป
บทว่า ภิยฺโย กมฺยตา (ความพอใจยิ่ง ๆ ขึ้นไป) ได้แก่ ความพอใจ
อย่างเยี่ยม จริงอยู่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายปักขิยภัต (อาหารที่
ถวายประจำปักษ์) บ้าง สลากภัต (อาหารที่ถวายโดยวิธีจับสลาก) บ้าง
อุโปสถิกภัต (อาหารที่ถวายในวันอุโบสถ) บ้าง ปาฏิปทิกภัต (อาหารที่
ถวายในวันหนึ่งค่ำ) บ้าง ตั้งแต่เริ่มต้นทีเดียว บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยการ
ถวายทานนั้น ๆ จึงถวายธุวภัต* (ถวายอาหารประจำ) สังฆภัต (ถวายอาหาร
แก่สงฆ์) วัสสาวาสิกภัต (ถวายอาหารแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา) อีก ย่อม
สร้างอาวาส ย่อมถวายปัจจัยแม้ทั้ง 4. เขาก็ยังเป็นผู้ไม่อิ่มใจแม้ในการถวาย
นั้น ๆ จึงรับสรณะทั้งหลาย สมาทานเบญจศีล เขาก็ยังเป็นผู้ไม่อิ่มแม้ในการ
ทำกุศลนั้น ๆ จึงบวช ครั้นบวชแล้วก็เรียนกะพุทธวจนะ คือพระไตรปิฎก
คือนิกายหนึ่ง สองนิกาย ย่อมยังสมาบัติ 8 ให้เกิด เจริญวิปัสสนาถือเอา
พระอรหัต จำเดิมแต่การบรรลุพระอรหัตแล้ว ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า มหาสันตุฏฐะ
(อิ่มใจอย่างใหญ่) ความพอใจอย่างเยี่ยม (พิเศษ) จนถึงพระอรหัตอย่างนี้
ชื่อว่า ภิยฺโยกมฺยตา (ความพอใจยิ่ง ๆ ขึ้นไป).
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งบทว่า อปฺปฏิวานิตา จ ปธานสฺมึ
(ความไม่ท้อถอยในความพยายาม) ดังนี้ เพราะภิกษุหน่ายอยู่ในการเจริญ
* โยชนาว่า ธุรภัต อาหารที่ถวายผู้ทำความเพียร