เมนู

อนึ่ง โลกิยะและโลกุตรธรรมแม้เป็นไปในภูมิ 4 พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ตรัสไว้ด้วยทุกะทั้ง 6 เหล่านี้ คือ
1. สติและสัมปชัญญะ (ทุกะที่ 30)
2. ปฏิสังขานพละและภาวนาพละ (ทุกะที่ 31)
3 สมถะและวิปัสสนา (ทุกะที่ 32)
4. สมถนิมิตและปัคคาหนิมิต (ทุกะที่ 33)
5. ปัคคาหะและอวิกเขปะ (ทุกะที่ 34)
6. สีลสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา (ทุกะที่ 36).

ว่าด้วยนิทเทสทิฏฐิวิสุทธิทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสทิฏฐิวิสุทธิ ต่อไป
บทว่า กมฺมสฺสกตญาณํ (ญาณเป็นเครื่องรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของ
ตน) ได้แก่ ปัญญาเป็นเครื่องรู้ว่า นี้เป็นกรรมของตน นี้ไม่ใช่กรรมของตน
บรรดากรรมทั้ง 2 เหล่านั้น กรรมที่ตนทำแล้วหรือผู้อื่นทำแล้วจงยกไว้ อกุศล
กรรมแม้ทั้งหมดไม่ใช่ของตน เพราะเหตุไร ? เพราะทำลายอรรถ และเพราะ
ให้เกิดอนรรถ ส่วนกุศลกรรมชื่อว่าเป็นกรรมของตน เพราะทำลายอนรรถ
และเพราะให้เกิดอรรถ ในข้อนั้น เหมือนบุรุษมีทรัพย์มีโภคะ เดินทางไกล
ในระหว่างทาง เมื่อเขาประกาศเล่นงานนักษัตรในบ้านและนิคมเป็นต้น ก็มี
ได้คิดว่า เราเป็นอาคันตุกะ (แขก) พึงอาศัยใครหนอเล่นงานนักษัตร เมื่อ
เล่นนักษัตรโดยทำนองที่ต้องการ ย่อมผ่านทางกันดารโดยสบาย ฉันใด สัตว์
เหล่านี้ตั้งอยู่ในกัมมัสสกตญาณนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กระทำกรรมอันเป็น
วัฏฏคามีมาก เสวยความสุขด้วยความสุข บรรลุพระอรหัตแล้วเหลือจะคณนา.

บทว่า สจฺจานุโลมิกญาณํ (สัจจานุโลมิกญาณ) ได้แก่ วิปัสส-
นาญาณที่คล้อยตามสัจจะ 4.
บทว่า มคฺคสมงฺคิสฺส ญาณํ ผลสมงฺคิสฺส ญาณํ (ญาณของ
ท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยผล) ได้แก่
มรรคญาณและผลญาณนั่นแหละ.
ในนิทเทสแห่งบทว่า ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ โข ปน (ความหมดจดแห่ง
ทิฏฐิ) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกญาณ 4 มี กัมมัสสกตญาณเป็นต้นนั่น-
แหละที่ตรัสไว้ในหนหลัง ด้วยบทมีอาทิว่า ยา ปญฺญา ปชานนา (ปัญญา
กิริยาที่รู้ชัด อันใด) ดังนี้.
ในนิทเทสแห่งบทว่า ยถา ทิฏฺฐิสฺส จ ปธานํ (ความเพียรแห่ง
บุคคลผู้มีทิฏฐิอันหมดจด) ได้แก่ ความเพียรที่ทรงแสดงด้วยบทมีอาทิว่า โย
เจตสิโก วิริยารมฺโภ
(การปรารภความเพียรทางใจอันใด) ดังนี้ มีคติอย่าง
ปัญญานั่นแหละ ในฐานะแห่งปัญญาที่เป็นโลกีย์ ก็พึงทราบว่าวิริยะนั้นเป็น
โลกีย์ ในฐานะแห่งโลกุตรปัญญา ก็พึงทราบว่า วิริยะนั้นเป็นโลกุตระ ดังนี้.

ว่าด้วยนิทเทสสังเวคทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสสังเวคทุกะ ต่อไป
บทว่า ชาติภยํ (กลัวชาติ) ได้แก่ ญาณที่เห็นชาติ (ความเกิด)
โดยความเป็นภัยตั้งอยู่. แม้ในญาณที่เห็นชราและมรณะโดยความเป็นภัยเป็นต้น
ก็นัยนี้แหละ.
ด้วยบทว่า อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ (เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่ง
อกุศลบาปธรรม) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเพียรอันเป็นเหตุของ