เมนู

ได้แก่ โดยมิใช่อุบาย. บทว่า อาหารํ (อาหาร) ได้แก่ สิ่งที่พึงกลืนกินมี
อาหารและน้ำดื่มเป็นต้น. บทว่า อาหาเรติ (บริโภค) ได้แก่ย่อมบริโภค
คือย่อมกลืนกิน. บทว่า ทวาย (เพื่อจะเล่น) เป็นต้นนี้ตรัสไว้เพื่อแสดงถึง
สิ่งที่ไม่ใช่อุบาย จริงอยู่ บุคคลเมื่อบริโภคอาหารโดยไม่ใช้อุบาย ย่อมบริโภค
เพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อตกแต่ง1 หรือเพื่อการประดับ2 ไม่ชื่อว่า บริโภค
เพราะอาศัยอุบายอันเป็นประโยชน์นี้.
ว่า ยา ตตฺถ อสนฺตุฏฐตา (ความเป็นผู้ไม่สันโดษ) ได้แก่
กิริยาที่ไม่พอใจ คือความที่ไม่พอใจในการบริโภคอาหาร โดยมิใช่อุบายนั้น
อันใด. บทว่า อมตฺตญฺญุตา (ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณ) ได้แก่ ความที่
ตนเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ คือ การไม่รู้จักประมาณ กล่าวคือความพอดี.
บทว่า อยํ วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า ความประพฤติเป็นไป
ด้วยอำนาจการบริโภคอาหารอันไม่พิจารณานี้ เรียกชื่อว่า โภชเน อมตฺตญฺ-
ญุตา
(ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค).

ว่าด้วยนิทเทสอินทริเยสุคุตตทวารตาทุกะ


จะวินิจฉัยนิทเทสความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ ต่อไป
บทว่า จกฺขุนา (ด้วยจักษุ) เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว
นั่นแหละ. บทว่า น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ (เป็นผู้ไม่ถือนิมิต) ได้แก่ ย่อมไม่
ถือนิมิตมีประการตามที่กล่าวแล้ว ด้วยอำนาจฉันทราคะ. แม้บทที่เหลือพึง
ทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้วนั้น ด้วยประการฉะนี้.
ก็คำที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังว่า เมื่อความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้นเกิดขึ้น
ในชวนจิต เมื่ออสังวรนั้นมีอยู่ แม้ทวารก็ย่อมเป็นอันมิได้คุ้มครอง แม้ภวังค์
1. บาลีว่า มณฺฑนาย เพื่อประเทืองผิว 2. วิภูสนาย เพื่อความอ้วนพี.

แม้วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนะเป็นต้นก็เป็นอันมิได้คุ้มครอง ฉันใด ในอธิการ
นี้ก็ฉันนั้น เมื่อศีลเป็นต้นเกิดขึ้นในชวนจิตนั้น แม้ทวารก็ย่อมเป็นอันคุ้มครอง
แล้ว แม้ภวังค์ แม้วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็ย่อมเป็นอันคุ้มครอง
แล้ว เหมือนอะไร ? เหมือนประตูพระนครที่ปิดดีแล้ว ภายในบ้านเป็นต้นไม่
ได้ปิดไว้แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สิ่งของทั้งหมดภายในพระนคร ก็ย่อมเป็นอัน
รักษาดีแล้ว คุ้มครองดีแล้วเหมือนกัน เพราะเมื่อประตูพระนครปิดแล้ว พวก
โจร ก็ย่อมเข้าไปไม่ได้ ฉันใด เมื่อศีลเป็นต้นเกิดในชวนจิตแล้ว แม้ทวาร
ก็เป็นอันคุ้มครองแล้ว แม้ภวังค์ แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็เป็นอันคุ้ม
ครองแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น สังวรแม้เกิดอยู่ในในขณะแห่งชวน-
จิต พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สังวรในจักขุนทรีย์ ดังนี้.
แม้ในบทมีอาทิว่า ได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ก็นัยนี้แหละ.
จะวินิจฉัยในนิทเทสความเป็นผู้รู้ประมาณ ต่อไป.
บทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส อาหารํ อาหาเรติ (พิจารณาโดย
แยบคายบริโภคอาหาร) ได้แก่ รู้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาแล้วบริโภค
อาหารโดยอุบาย.
บัดนี้ เพื่อทรงแสดงอุบายนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า เนว ทวาย (ไม่
ใช่เพื่อเล่น) ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า เนว ทวาย ได้แก่ ไม่บริโภค
เพื่อเล่น. ในพระบาลีนั้น นักเต้นรำและคนกระโดดสูงเป็นต้น ชื่อว่า ย่อม
บริโภคเพื่อเล่น. เพราะเมื่อเขาบริโภคโภชนะใดแล้ว การเล่นกล่าวคือฟ้อนรำ
กาพย์กลอนและการเล่นโศลก ย่อมแจ่มใสยิ่งนัก ชนเหล่านั้นแสวงหาอาหาร
โดยอธรรมมิได้สม่ำเสมอแล้วย่อมบริโภคอาหารเหล่านั้น แต่ภิกษุนี้ไม่บริโภค
อย่างนั้น.

บทว่า น มทาย (ไม่ใช่เพื่อจะมัวเมา) ได้แก่ ย่อมไม่บริโภคเพื่อ
ความเพิ่มพูนความเมาด้วยมานะและเมาด้วยสำคัญว่าเป็นบุรุษ. ในข้อนั้น พระ-
ราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา ชื่อว่า ย่อมบริโภคเพื่อความมัวเมา เพราะ
ชนเหล่านั้นย่อมบริโภคโภชนะมีรสกลมกล่อมและประณีต เพื่อความเพิ่มพูน
ความเมาด้วยมานะและเมาด้วยสำคัญว่าเป็นบุรุษของตน แต่ภิกษุนี้ย่อมไม่
บริโภคอย่างนั้น.
บทว่า น มณฺฑนาย (ไม่บริโภคเพื่อประเทืองผิว) ความว่า ไม่
บริโภคเพื่อตกแต่งสรีระ ในข้อนั้น หญิงแพศยา หญิงชาวบ้าน หญิงในเมือง
เป็นต้น ย่อมดื่มเนยใสและน้ำอ้อย ย่อมบริโภคอาหารแต่น้อยทั้งเป็นอาหาร
ที่ละเอียดอ่อน ด้วยคิดว่า การบริโภคอย่างนี้ การดำรงอยู่แห่งอวัยวะของพวก
เราจักดำรงอยู่ดี ฉวีวรรณในสรีระจักผ่องใส ดังนี้ แก่ภิกษุนี้ย่อมไม่บริโภค
อย่างนั้น.
บทว่า น วิภูสนาย (ไม่บริโภคเพื่อความอ้วนพี) ได้แก่ ไม่
บริโภคเพื่อต้องการประดับด้วยเนื้อในสรีระ ในบุคคลเหล่านั้น นักมวยปล้ำ
นักมวยกำหมัด และนักมวยสมัครเล่นเป็นต้น ย่อมยังสรีระให้ล่ำสันด้วยโภชนา-
หารมีปลาและเนื้อเป็นต้นที่สนิทดี โดยคิดว่า ด้วยการบริโภคอย่างนี้ เนื้อของ
พวกเราจักล่ำสันเพื่อประโยชน์แก่การที่จะทนต่อการต่อยตี ดังนี้ แต่ภิกษุนี้
ย่อมไม่บริโภคเพื่อประโยชน์ทำเนื้อให้ล่ำสันในสรีระอย่างนั้น.
บทว่า ยาวเทว (เพียง) นี้เป็นคำแสดงการกำหนดประโยชน์ในการ
กลืนกินอาหาร. บทว่า อิมสฺส กายสฺส ฐิติยา (เพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ได้)
ได้แก่ ย่อมบริโภคเพื่อต้องการให้กรชกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูปทั้ง 4 นี้
ดำรงอยู่ ข้อนี้เป็นประโยชน์ในการกลืนกินอาหารของภิกษุนี้. บทว่า ยาปนาย

(เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป) ได้แก่ ย่อมบริโภคเพื่อประโยชน์แก่การให้
ชีวิตินทรีย์เป็นไป. บทว่า วิหึสูปรติยา (เพื่อบำบัดความหิว) ได้แก่ ความ
หิวเกิดขึ้นเพราะการไม่ได้บริโภคเป็นปัจจัย ชื่อว่า วิหิงสา ย่อมบริโภคเพื่อ
ต้องการกำจัดวิหิงสานั้น คือเพื่อให้วิหิงสานั้นสงบลง. บทว่า พฺรหฺมจริยา-
นุคฺคหาย
(เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์) ความว่า ไตรสิกขาคือศาสนาทั้ง
สิ้น ชื่อว่า พรหมจรรย์ ย่อมบริโภคเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์นั้น. บทว่า
อิติ นี้เป็นบทแสดงถึงอุบาย อธิบายว่า ด้วยอุบายนี้.
บทว่า ปุราณญฺจ เวทนํ ปฏิหํขามิ (เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย
ด้วย) ความว่า เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะการไม่ได้บริโภคอาหารเป็นปัจจัย ชื่อ
ว่า เวทนาเก่า ภิกษุย่อมบริโภคอาหารด้วยคิดว่า เราจักกำจัดเวทนาเก่านั้น.
บทว่า นวญฺจ เวทนํ น อุปฺปาเทสฺสามิ (จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิด
ขึ้นด้วย) ความว่า เวทนาอันเกิดขึ้นเพราะการบริโภคเกินไปเป็นปัจจัย* ชื่อว่า
เวทนาใหม่ ภิกษุย่อมบริโภคด้วยคิดว่า เราจักไม่ให้เวทนาใหม่นั้นเกิดขึ้น
ดังนี้ อีกอย่างหนึ่ง เวทนาอันเกิดขึ้นเพราะการบริโภคแล้วเป็นปัจจัย ชื่อว่า
เวทนาใหม่ ภิกษุย่อมบริโภคเพื่อมิให้เกิดเวทนานั้นซึ่งยังไม่เกิดขึ้นนั่นแหละ.
บทว่า ยาตฺรา จ เม ภวิสฺสติ แปลว่าความดำรงอยู่แห่งชีวิตจักมี
แก่เรา. บทว่า อนวชฺชตา จ (ความไม่มีโทษ) นี้ ได้แก่ ในการบริโภคนี้
สิ่งที่มีโทษก็มี สิ่งที่ไม่มีโทษก็มี ในสองอย่างนั้น การแสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
การรับเอาโดยไม่ชอบธรรม การบริโภคโดยไม่ชอบธรรม นี้ชื่อว่า สาวัช-
ชะ
(มีโทษ). การแสวงหาโดยธรรม การรับเอา การพิจารณาแล้วบริโภค
โดยธรรม นี้ชื่อว่า อนวัชชะ. (ไม่มีโทษ).
* ฉบับพม่าเป็น อติภุตฺตปจฺจเยน.

บุคคลบางคนย่อมทำอาหารที่ไม่มีโทษนั่นแหละให้มีโทษ คือทำอาหาร
ที่ตนได้มาโดยธรรมแล้วบริโภคเกินประมาณ เธอย่อมไม่อาจเพื่อให้อาหาร
นั้น ๆ ให้ย่อย ย่อมลำบากด้วยการอาเจียนและถ่ายท้องเป็นต้น พวกภิกษุทั้ง
วัดต้องช่วยกันขวนขวายในการปฏิบัติร่างกายและแสวงหายาเป็นต้นให้ภิกษุนั้น
เมื่อถูกถามว่า นี่อะไร ๆ กัน พวกภิกษุก็จะพูดว่า ภิกษุรูปโน้นท้องขึ้น
ดังนี้เป็นต้น ภิกษุทั้งหลายก็จะพากันตำหนิติเตียนว่า ท่านนี้มีปกติอย่างนี้เป็น
นิจกาลแหละ ย่อมไม่รู้จักประมาณท้องของตน ดังนี้ ภิกษุนี้ ชื่อว่า ย่อมทำ
อาหารที่ไม่มีโทษให้มีโทษ อย่างนี้. ภิกษุไม่กระทำเหมือนอย่างนั้น ย่อมฉัน
อาหารด้วยมนสิการว่า ความไม่มีโทษจักมี ดังนี้.
แม้ในบทว่า ผาสุวิหาโร จ (และการอยู่โดยผาสุก) นี้ความว่า การ
อยู่โดยผาสุกก็มี การอยู่โดยไม่ผาสุกก็มี.

พราหมณ์ตะกละ 5 คน


ในการบริโภคนั้น การบริโภคของพราหมณ์ 5 คนเหล่านี้ คือ พราหมณ์
ชื่อ อาหารหัตถกะ 1 พราหมณ์ชื่อ อลังสาฏกะ 1 พราหมณ์ชื่อ ตัตถ-
วัฏฏกะ 1 พราหมณ์ชื่อ กากมาสกะ 1 พราหมณ์ชื่อ ภุตตวมิตกะ 1 ชื่อว่า
อยู่ไม่ผาสุก.
จริงอยู่ บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น พราหมณ์ชื่อ อาหารหัตถกะ
บริโภคมากไม่อาจลุกขึ้นได้ตามธรรมดาของตน จึงพูดว่า ช่วยฉุดมือที ดังนี้.
พราหมณ์ชื่ออลังสาฏกะ บริโภคอาหารมากแม้จะลุกขึ้นได้แต่ได้ไม่อาจนุ่งผ้าได้.
พราหมณ์ชื่อ ตัตถวัฏฏกะ บริโภคมากไม่สามารถลุกขึ้นได้ ย่อมกลิ้งอยู่ที่นั้นนั่น
แหละ. พราหมณ์ชื่อ กากมาสกะ บริโภคมากจนล้นถึงปาก จนถึงพวกกาอาจ
จิกกินได้. พราหมณ์ชื่อ ภุตตวมิตกะ บริโภคมากไม่อาจเพื่อหุบปากได้ ย่อม
อาเจียนในที่นั้นนั่นแล.