เมนู

ได้แก่ โดยมิใช่อุบาย. บทว่า อาหารํ (อาหาร) ได้แก่ สิ่งที่พึงกลืนกินมี
อาหารและน้ำดื่มเป็นต้น. บทว่า อาหาเรติ (บริโภค) ได้แก่ย่อมบริโภค
คือย่อมกลืนกิน. บทว่า ทวาย (เพื่อจะเล่น) เป็นต้นนี้ตรัสไว้เพื่อแสดงถึง
สิ่งที่ไม่ใช่อุบาย จริงอยู่ บุคคลเมื่อบริโภคอาหารโดยไม่ใช้อุบาย ย่อมบริโภค
เพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อตกแต่ง1 หรือเพื่อการประดับ2 ไม่ชื่อว่า บริโภค
เพราะอาศัยอุบายอันเป็นประโยชน์นี้.
ว่า ยา ตตฺถ อสนฺตุฏฐตา (ความเป็นผู้ไม่สันโดษ) ได้แก่
กิริยาที่ไม่พอใจ คือความที่ไม่พอใจในการบริโภคอาหาร โดยมิใช่อุบายนั้น
อันใด. บทว่า อมตฺตญฺญุตา (ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณ) ได้แก่ ความที่
ตนเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ คือ การไม่รู้จักประมาณ กล่าวคือความพอดี.
บทว่า อยํ วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า ความประพฤติเป็นไป
ด้วยอำนาจการบริโภคอาหารอันไม่พิจารณานี้ เรียกชื่อว่า โภชเน อมตฺตญฺ-
ญุตา
(ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค).

ว่าด้วยนิทเทสอินทริเยสุคุตตทวารตาทุกะ


จะวินิจฉัยนิทเทสความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ ต่อไป
บทว่า จกฺขุนา (ด้วยจักษุ) เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว
นั่นแหละ. บทว่า น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ (เป็นผู้ไม่ถือนิมิต) ได้แก่ ย่อมไม่
ถือนิมิตมีประการตามที่กล่าวแล้ว ด้วยอำนาจฉันทราคะ. แม้บทที่เหลือพึง
ทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้วนั้น ด้วยประการฉะนี้.
ก็คำที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังว่า เมื่อความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้นเกิดขึ้น
ในชวนจิต เมื่ออสังวรนั้นมีอยู่ แม้ทวารก็ย่อมเป็นอันมิได้คุ้มครอง แม้ภวังค์
1. บาลีว่า มณฺฑนาย เพื่อประเทืองผิว 2. วิภูสนาย เพื่อความอ้วนพี.