เมนู

ใช้มือที่จับบาตรนั่นแหละถือภัตอันเลิศ เกลี่ยถวายภัตในบาตรทั้งหมดต่อ
พระเจ้าโจรนาคราช ฉะนั้น. *
ส่วนในการยังลาภที่ยังไม่ได้ให้เกิดขึ้น บัณฑิตพึงแสดงถึงเรื่องการ
ถวายมหาเภสัช ที่พระเจ้ามหานาคผู้เสด็จหนีจากฝั่งนี้ไปฝั่งโน้นแล้วได้รับความ
อนุเคราะห์ในสำนักของพระเถระรูปหนึ่ง ได้กลับมาดำรงอยู่ในราชสมบัติอีก
ทรงประพฤติให้เป็นไป ณ ลานวัดเสตัมพวิหาร ตลอดพระชนมชีพ. ในการทำ
ลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้ถาวร พึงแสดงเรื่องที่พวกโจรได้รับปฏิสันถารจากมือของ
พระทีฆภาณกอภัยเถระแล้วไม่ปล้นห่อภัณฑะที่เจติยบรรพต.

ว่าด้วยนิทเทสอินทริเยสุอคุตตทวารตาทุกะ


จะวินิจฉัยนิทเทสความเป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ต่อไป
บทว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา (เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว) ได้แก่เห็น
รูปด้วยจักขุวิญญาณอันสามารถในการเห็นรูป ซึ่งมีโวหารอันได้แล้วว่า จักษุ
ดังนี้ ด้วยสามารถเป็นเหตุ. ก็พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า จักษุย่อมไม่
เห็นรูป เพราะจักษุไม่ใช่จิต จิตก็เห็นรูป ไม่ได้ เพราะจิตไม่มีจักษุ แต่บุคคล
ย่อมเห็นได้ด้วยจิตที่มีปสาทวัตถุโดยการกระทบกันแห่งทวารและอารมณ์ ก็กถา
นี้เช่นนี้ ชื่อว่า สสัมภารกถา เหมือนในประโยคมีอาทิว่า เขายิงด้วยธนะ ดังนี้
เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้จึงมีคำอธิบายว่า เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ ดังนี้.
บทว่า นิมิตฺตคฺคาหี (ผู้ถือนิมิต) ได้แก่ ย่อมถือนิมิตว่าเป็นหญิง
เป็นชาย หรือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสมีความงามเป็นต้น ด้วยอำนาจฉันท-
ราคะ ไม่ดำรงอยู่ในรูปเพียงการเห็นเท่านั้น.
* ได้ยินว่า พระเจ้าโจรนาคราชดุร้าย

บทว่า อนุพฺยญฺชนคฺคาหี (เป็นผู้ถือโดยอนุพยัญชนะ) ได้แก่
ถือเอากิริยาอาการอันต่างด้วยมือ เท้า การยิ้ม การหัวเราะ การพูด การมองดู
การเหลียวซ้ายแลขวาเป็นต้นอันได้โวหารว่า อนุพยัญชนะ เพราะเครื่อง
ปรากฏของกิเลสทั้งหลาย คือ เพราะกระทำกิเลสให้ปรากฏ.
บทว่า ยตฺวาธิกรณเมนํ (เพราะเหตุที่ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใด)
ความว่า ธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้พึงครอบงำ คือ พึงติดตาม
พึงท่วมทับบุคคลนี้ ผู้มีจักขุนทรีย์ไม่สำรวมแล้วด้วยบานประตูคือสติ คือเป็น
ผู้ไม่มีจักขุทวารอันปิดกั้นแล้วอยู่นี้ เพราะเหตุไร เพราะเหตุที่ไม่สำรวม
จักขุนทรีย์ใด.
บทว่า ตสฺส สํวราย น ปฏิปชฺชติ (ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวม
จักขุนทรีย์นั้น) ความว่า ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่การปิดจักขุนทรีย์นั้น
ด้วยประตูคือสติ ก็บุคคลผู้เป็นอย่างนี้แหละ ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่รักษาจักขุนทรีย์
ไม่สำเร็จการสำรวมขุนจักขุนทรีย์ ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ผู้ไม่สำเร็จการสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น ว่า
สังวรก็ดี อสังวรก็ดี ย่อมไม่มีในจักขุนทรีย์แม้โดยแท้ เพราะว่าสติ หรือ
ความหลงลืมสติย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุประสาทหามิได้. แต่ว่า ในกาลใด
รูปารมณ์มาถึงคลองจักขุ ในกาลนั้น เมื่อภวังคจิตเกิดดับ 2 วาระ
แล้ว กิริยามโนธาตุก็ยังอาวัชชนกิจให้สำเร็จเกิดดับ ในลำดับนั้น
จักขุวิญญาณก็ยังทัศนกิจให้สำเร็จเกิดดับ จากนั้นวิปากมโนธาตุก็ยัง
สัมปฏิจฉันนกิจให้สำเร็จเกิดดับ จากนั้น วิปากาเหตุกมโนวิญญาณ
ธาตุก็ยังสันติรณกิจให้สำเร็จเกิดดับ จากนั้นมโนวิญญาณธาตุ อันเป็น
อเหตุกกิริยาก็ยังโวฏฐานกิจให้สำเร็จเกิดดับ ในลำดับนั้น ชวนจิต

ย่อมแล่นไป สังวรก็ดี อสังวรก็ดี จะมีอยู่ในสมัยแห่งภวังคจิตแม้นั้น
ก็หาไม่ หรือจะมีอยู่ในสมัยแห่งอาวัชชนจิตเป็นต้นสมัยใดสมัยหนึ่ง ก็หาไม่
แต่ในขณะแห่งชวนจิต ความเป็นผู้ทุศีลบ้าง ความหลงลืมสติบ้าง ความไม่
รู้บ้าง ความไม่อดทนบ้าง ความเกียจคร้านบ้างย่อมเกิดขึ้น อสังวรย่อมมี.
ก็อสังวรนั้นเป็นอย่างนี้ จึงตรัสเรียกว่า อสังวรในจักขุนทรีย์ ดังนี้. เพราะ
เหตุไร ? เพราะเมื่ออสังวรนั้นมีอยู่ แม้ทวารก็มิได้คุ้มครอง แม้ภวังค์ แม้
วิถีจิตมีอาวัชชนจิตเป็นต้นย่อมเป็นอันมิได้คุ้มครอง เหมือนอะไร ? เหมือน
ประตู 4 ด้านในพระนครเขามิได้ปิดไว้ ถึงในภายในเรือน ซุ้มประตูและ
ห้องเป็นต้นจะปิดไว้อย่างดีก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ชื่อว่ามิได้รักษา มิได้คุ้มครอง
สิ่งของทั้งหมดไว้ในภายในพระนครได้เลย เพราะพวกโจรเข้าไปทางประตู
นคร พึงกระทำตามปรารถนาได้ ฉันใด เมื่อความทุศีลเป็นต้นเกิดขึ้นแล้ว
ในชวนะ เมื่ออสังวรนั้นมีอยู่ ย่อมเป็นอันมิได้คุ้มครองแม้ทวาร แม้ภวังค์
แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
แม้คำมีอาทิว่า ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ก็นัยนี้นั่นแหละ.
บทว่า ย อิเมสํ (อินทรีย์ 6 เหล่านี้อันใด) ความว่า การไม่คุ้ม
ครองอันใด กิริยาที่ไม่คุ้มครองอันใด การไม่รักษาอันใด การไม่สำรวมอัน
ใดแห่งอินทรีย์ทั้ง 6 เหล่านี้ อธิบายว่า การไม่กั้น การไม่ปิดอินทรีย์ทั้ง 6
เหล่านี้ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งโภชเน อมัตตัญญุตา ต่อไป
บทว่า อิเธกจฺโจ (บุคคลบางคนในโลกนี้) ได้แก่ บุคคลบางคน
ในสัตวโลกนี้. บทว่า อปฺปฏิสงฺขา (ไม่พิจารณา) ได้แก่ ไม่รู้ คือไม่
ใคร่ครวญด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา. บทว่า อโยนิโส (โดยไม่แยบคาย)

ได้แก่ โดยมิใช่อุบาย. บทว่า อาหารํ (อาหาร) ได้แก่ สิ่งที่พึงกลืนกินมี
อาหารและน้ำดื่มเป็นต้น. บทว่า อาหาเรติ (บริโภค) ได้แก่ย่อมบริโภค
คือย่อมกลืนกิน. บทว่า ทวาย (เพื่อจะเล่น) เป็นต้นนี้ตรัสไว้เพื่อแสดงถึง
สิ่งที่ไม่ใช่อุบาย จริงอยู่ บุคคลเมื่อบริโภคอาหารโดยไม่ใช้อุบาย ย่อมบริโภค
เพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อตกแต่ง1 หรือเพื่อการประดับ2 ไม่ชื่อว่า บริโภค
เพราะอาศัยอุบายอันเป็นประโยชน์นี้.
ว่า ยา ตตฺถ อสนฺตุฏฐตา (ความเป็นผู้ไม่สันโดษ) ได้แก่
กิริยาที่ไม่พอใจ คือความที่ไม่พอใจในการบริโภคอาหาร โดยมิใช่อุบายนั้น
อันใด. บทว่า อมตฺตญฺญุตา (ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณ) ได้แก่ ความที่
ตนเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ คือ การไม่รู้จักประมาณ กล่าวคือความพอดี.
บทว่า อยํ วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า ความประพฤติเป็นไป
ด้วยอำนาจการบริโภคอาหารอันไม่พิจารณานี้ เรียกชื่อว่า โภชเน อมตฺตญฺ-
ญุตา
(ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค).

ว่าด้วยนิทเทสอินทริเยสุคุตตทวารตาทุกะ


จะวินิจฉัยนิทเทสความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ ต่อไป
บทว่า จกฺขุนา (ด้วยจักษุ) เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว
นั่นแหละ. บทว่า น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ (เป็นผู้ไม่ถือนิมิต) ได้แก่ ย่อมไม่
ถือนิมิตมีประการตามที่กล่าวแล้ว ด้วยอำนาจฉันทราคะ. แม้บทที่เหลือพึง
ทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้วนั้น ด้วยประการฉะนี้.
ก็คำที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังว่า เมื่อความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้นเกิดขึ้น
ในชวนจิต เมื่ออสังวรนั้นมีอยู่ แม้ทวารก็ย่อมเป็นอันมิได้คุ้มครอง แม้ภวังค์
1. บาลีว่า มณฺฑนาย เพื่อประเทืองผิว 2. วิภูสนาย เพื่อความอ้วนพี.