เมนู

วาจาใดเป็นที่ตั้งใจให้ชุ่มชื่น คือ ทำความเจริญแห่งจิตแก่ชนจำนวน
มาก โดยความเป็นวาจาที่เจริญใจของชนหมู่มากนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น
วาจานั้น จึงชื่อว่า พหุชนมนาปา (วาจาที่เจริญใจ).
บทว่า ยา ตตฺถ ได้แก่ วาจาใดในบุคคลนั้น.
บทว่า สณฺหวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาละเอียดอ่อน) ได้แก่
ความเป็นผู้มีวาจาสละสลวย.
บทว่า สขิลวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน) ได้แก่ วาจา
อ่อนน้อม.
บทว่า อผรุสวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาไม่หยาบคาย) ได้แก่
วาจาไม่กักขฬะ.

ว่าด้วยนิทเทสปฏิสันถารทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสปฏิสันถารทุกะ ต่อไป
บทว่า อามิสปฏิสนฺถาโร (อามิสปฏิสันถาร) ได้แก่ ช่องว่าง
(รอยแตกร้าวสามัคคี) ของชนเหล่าอื่นกับตน เพราะการไม่ได้อามิส ย่อมปิด
สนิทแล้วโดยประการใด การต้อนรับแขกด้วยอามิสโดยประการนั้น.
บทว่า ธมฺมปฏิสนฺถาโร (ธรรมปฏิสันถาร) ได้แก่ ช่องว่างของชน
เหล่าอื่นกับตน เพราะการไม่ได้ธรรม ย่อมปิดสนิทแล้วโดยประการใด การ
ต้อนรับแขกด้วยธรรมโดยประการนั้น.
บทว่า ปฏิสนฺถารโก โหติ (บุคคลผู้ปฏิสันถาร) ความว่า ช่อง
ของโลกสันนิวาสมี 2 เท่านั้น บุคคลผู้ปฏิสันถาร (ผู้อุดช่อง) ทั้ง 2 นั้นคือ
บุคคลผู้ปฏิสันถารนั้นย่อมอุดช่องคือกระทำเป็นนิตย์ ด้วยการปฏิสันถารทั้ง 2 นี้

คือ ด้วยอามิสปฏิสันถาร หรือด้วยธรรมปฏิสันถาร ในอธิการนี้พึงทราบกถานี้
จำเดิมแต่ต้น.
จริงอยู่ ภิกษุผู้ทำปฏิสันถารเห็นอาคันตุกภิกษุมาอยู่ พึงลุกขึ้นต้อนรับ
รับบาตรจีวร ถวายอาสนะ พัดวีด้วยก้านใบตาล ล้างเท้าทาน้ำมัน เมื่อมี
เนยใสและน้ำอ้อยก็พึงถวายเป็นเภสัช พึงเอื้อเฟื้อด้วยน้ำดื่ม พึงจัดที่อาศัย
ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า อามิสปฏิสันถารอันภิกษุกระทำโดยเอกเทศ.
อนึ่ง ในเวลาเย็น เมื่อภิกษุผู้อ่อนกว่ายังไม่มาสู่ที่บำรุงของตนนั่นแหละ
ควรไปสู่สำนักของภิกษุอาคันตุกะนั้น พึงนั่งถามปัญหาในวิสัย มิใช่ถามปัญหา
ที่เหลือวิสัยของเธอ คือไม่ถามว่า พวกเธอเรียนนิกายไหน พึงถามว่า อาจารย์
และพระอุปัชฌาย์ของท่านชำนาญคัมภีร์ไหน ดังนี้ แล้วถามปัญหาในฐานะ
พอเหมาะพอควร. ถ้าเธอสามารถตอบได้ ข้อนั้นเป็นการดี. ถ้าเธอไม่อาจตอบ
ก็พึงตอบเสียเอง ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า ธรรมปฏิสันถารอันภิกษุทำโดย
เอกเทศ.

ถ้าเธออยู่ในสำนักของตน พึงพาเธอไปเที่ยวบิณฑบาตเป็นนิตย์ ถ้า
เธอต้องการเพื่อจะไป วันรุ่งขึ้น ก็พึงพาเธอไปในทิศที่ควรไป เที่ยวบิณฑบาต
ในบ้านหนึ่งแล้วก็พึงส่งกลับ. ถ้าพวกภิกษุถูกนิมนต์ในทางทิศอื่น ก็พึงพาภิกษุ
นั้นผู้ปรารถนาไปด้วย เมื่อไม่ปรารถนาจะไป ด้วยคิดว่า ทิศนี้ไม่ควรแก่เรา
ดังนี้ ก็พึงส่งพวกภิกษุที่เหลือให้ไป แล้วพาเธอเที่ยวบิณฑบาต อามิสที่ตน
ได้แล้วควรถวายเธอ อย่างนี้ชื่อว่า อามิสปฏิสันถารอันภิกษุกระทำแล้ว.
ถามว่า อามสที่ตนได้แล้ว อันภิกษุผู้ทำปฏิสันถารพึงถวายใคร.
ตอบว่า ควรถวายภิกษุอาคันตุกะก่อน ถ้าภิกษุผู้อาพาธหรือยังไม่ได้
พรรษามีอยู่ไซร้ ก็พึงถวายแก่ภิกษุแม้ผู้อาพาธเป็นต้นเหล่านั้น พึงถวายแก่
อาจารย์และอุปัชฌาย์ พึงถวายแก่ภิกษุผู้แจกภัณฑะ แต่ภิกษุผู้บำเพ็ญสาราณีย-

ธรรมพึงถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้มาแล้ว ๆ แม้ร้อยครั้งพันครั้ง จำเดิมแต่เถร-
อาสน์ไป ส่วนภิกษุผู้ทำปฏิสันถารพึงให้แก่ภิกษุผู้ยังไม่ได้ ออกไปบ้านแล้ว
เห็นภิกษุหรือ ภิกษุณีผู้ชราหรืออนาถา ก็พึงถวายแก่ท่านแม้เหล่านั้น. ในข้อ
นั้น มีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์.
ได้ยินว่า เมื่อพวกโจรปล้นบ้านชื่อว่าคุตตศาลา ในขณะนั้นนั่นแหละ
พระขีณาสวเถรีรูปหนึ่งออกจากนิโรธแล้วให้ภิกษุณีถือสิ่งของไปสู่ทางพร้อมกับ
มหาชน ถึงประตูบ้านนกุลนครนั่งที่โคนไม้ในเวลาเที่ยงวัน ในสมัยนั้น
พระมหานาคเถระผู้อยู่ในวิหารกาฬวัลลิมณฑปเที่ยวไปบิณฑบาตที่บ้านนกุลนคร
ออกมาเห็นพระเถรีจึงถามเอื้อเฟื้อด้วยภัต พระเถรี ตอบว่า ดิฉันไม่มีบาตร.
พระเถระได้ให้ภัตพร้อมทั้งบาตรว่า นิมนต์ท่านฉันด้วยบาตรนี้. พระเถรีทำ
ภัตกิจเสร็จแล้วล้างบาตรถวายพระเถระแล้วกล่าวว่าท่านจักลำบากด้วยภิกขาจาร
เพียงวันนี้เท่านั้น หลวงพ่อ ตั้งแต่วันนี้ไปขึ้นชื่อว่าความลำบากด้วยภิกขาจาร
ของท่านจักไม่มี ดังนี้ ตั้งแต่วันนั้น ขึ้นชื่อว่าบิณฑบาตมีค่าหย่อนกว่ากหาปณะ
มิได้เกิดขึ้นแก่พระเถระเลย นี้ชื่อว่า อามิสปฏิสันถาร.
อันภิกษุกระทำปฏิสันถารนี้ควรตั้งอยู่ในฝ่ายสงเคราะห์บอกกรรมฐาน
แก่ภิกษุนั้น พึงบอกธรรม พึงกำจัดความสงสัย พึงทำกรณียกิจที่เกิดขึ้น พึงให้
อัพภาน วุฏฐานะ มานัต และปริวาส ผู้ควรบรรพชาก็พึงให้บรรพชา ผู้ควร
อุปสมบทก็พึงให้อุปสมบท. การทำกรรมวาจาแม้แก่ภิกษุณีผู้หวังอุปสมบทใน
สำนักของคนก็ควร นี้ชื่อว่า ธรรมปฏิสันถาร.
ภิกษุผู้ทำปฏิสันถารทั้ง 2 นี้ ย่อมยังลาภที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิด ย่อม
ทำลาภที่เกิดแล้วให้มั่นคง ย่อมรักษาชีวิตของตนในฐานะอันคับขัน (คือ
ประกอบด้วยภัยร้ายแรง) ได้ เหมือนพระเถระ (ผู้ตกอยู่ในฐานะอันดับขัน)

ใช้มือที่จับบาตรนั่นแหละถือภัตอันเลิศ เกลี่ยถวายภัตในบาตรทั้งหมดต่อ
พระเจ้าโจรนาคราช ฉะนั้น. *
ส่วนในการยังลาภที่ยังไม่ได้ให้เกิดขึ้น บัณฑิตพึงแสดงถึงเรื่องการ
ถวายมหาเภสัช ที่พระเจ้ามหานาคผู้เสด็จหนีจากฝั่งนี้ไปฝั่งโน้นแล้วได้รับความ
อนุเคราะห์ในสำนักของพระเถระรูปหนึ่ง ได้กลับมาดำรงอยู่ในราชสมบัติอีก
ทรงประพฤติให้เป็นไป ณ ลานวัดเสตัมพวิหาร ตลอดพระชนมชีพ. ในการทำ
ลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้ถาวร พึงแสดงเรื่องที่พวกโจรได้รับปฏิสันถารจากมือของ
พระทีฆภาณกอภัยเถระแล้วไม่ปล้นห่อภัณฑะที่เจติยบรรพต.

ว่าด้วยนิทเทสอินทริเยสุอคุตตทวารตาทุกะ


จะวินิจฉัยนิทเทสความเป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ต่อไป
บทว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา (เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว) ได้แก่เห็น
รูปด้วยจักขุวิญญาณอันสามารถในการเห็นรูป ซึ่งมีโวหารอันได้แล้วว่า จักษุ
ดังนี้ ด้วยสามารถเป็นเหตุ. ก็พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า จักษุย่อมไม่
เห็นรูป เพราะจักษุไม่ใช่จิต จิตก็เห็นรูป ไม่ได้ เพราะจิตไม่มีจักษุ แต่บุคคล
ย่อมเห็นได้ด้วยจิตที่มีปสาทวัตถุโดยการกระทบกันแห่งทวารและอารมณ์ ก็กถา
นี้เช่นนี้ ชื่อว่า สสัมภารกถา เหมือนในประโยคมีอาทิว่า เขายิงด้วยธนะ ดังนี้
เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้จึงมีคำอธิบายว่า เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ ดังนี้.
บทว่า นิมิตฺตคฺคาหี (ผู้ถือนิมิต) ได้แก่ ย่อมถือนิมิตว่าเป็นหญิง
เป็นชาย หรือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสมีความงามเป็นต้น ด้วยอำนาจฉันท-
ราคะ ไม่ดำรงอยู่ในรูปเพียงการเห็นเท่านั้น.
* ได้ยินว่า พระเจ้าโจรนาคราชดุร้าย