เมนู

วาจาใดเป็นที่ตั้งใจให้ชุ่มชื่น คือ ทำความเจริญแห่งจิตแก่ชนจำนวน
มาก โดยความเป็นวาจาที่เจริญใจของชนหมู่มากนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น
วาจานั้น จึงชื่อว่า พหุชนมนาปา (วาจาที่เจริญใจ).
บทว่า ยา ตตฺถ ได้แก่ วาจาใดในบุคคลนั้น.
บทว่า สณฺหวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาละเอียดอ่อน) ได้แก่
ความเป็นผู้มีวาจาสละสลวย.
บทว่า สขิลวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน) ได้แก่ วาจา
อ่อนน้อม.
บทว่า อผรุสวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาไม่หยาบคาย) ได้แก่
วาจาไม่กักขฬะ.

ว่าด้วยนิทเทสปฏิสันถารทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสปฏิสันถารทุกะ ต่อไป
บทว่า อามิสปฏิสนฺถาโร (อามิสปฏิสันถาร) ได้แก่ ช่องว่าง
(รอยแตกร้าวสามัคคี) ของชนเหล่าอื่นกับตน เพราะการไม่ได้อามิส ย่อมปิด
สนิทแล้วโดยประการใด การต้อนรับแขกด้วยอามิสโดยประการนั้น.
บทว่า ธมฺมปฏิสนฺถาโร (ธรรมปฏิสันถาร) ได้แก่ ช่องว่างของชน
เหล่าอื่นกับตน เพราะการไม่ได้ธรรม ย่อมปิดสนิทแล้วโดยประการใด การ
ต้อนรับแขกด้วยธรรมโดยประการนั้น.
บทว่า ปฏิสนฺถารโก โหติ (บุคคลผู้ปฏิสันถาร) ความว่า ช่อง
ของโลกสันนิวาสมี 2 เท่านั้น บุคคลผู้ปฏิสันถาร (ผู้อุดช่อง) ทั้ง 2 นั้นคือ
บุคคลผู้ปฏิสันถารนั้นย่อมอุดช่องคือกระทำเป็นนิตย์ ด้วยการปฏิสันถารทั้ง 2 นี้