เมนู

สีลสํวโร (ศีลสังวรแม้ทั้งหมด) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อทรงแสดง
การถือศีลทางใจ เพราะบุคคลมิใช่ประพฤติอนาจารทางกายและทางวาจาเท่านั้น
แม้ทางใจก็ต้องประพฤติเหมือนกัน.

ว่าด้วยนิทเทสสาขัลยทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสสาขัลยทุกะ ต่อไป
บทว่า อณฺฑกา (เป็นปม) ได้แก่ เกิดเป็นปมด้วยวาจาปริภาษ
และเย้ยหยันประกอบด้วยโทสะ เหมือนกับปมที่เกิดขึ้นที่ต้นไม้ที่มีโทษ ฉะนั้น.
บทว่า กกฺกสา (เป็นกาก) ได้แก่ วาจาเสีย คือ วาจานั้นเป็นกาก
เช่นเดียวกับต้นไม้ที่เสียย่อมเป็นกาก เป็นจุณไหลออกมา ฉะนั้น. วาจาที่เป็น
กากนั้น เป็นราวกะเสียดสีโสตเข้าไป ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นกาก.
บทว่า ปรกฏุกา (เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น) ได้แก่ เผ็ดร้อนไม่เป็นที่
ชอบใจ ให้เกิดโทสะแก่ผู้อื่น. บทว่า ปราภิสชฺชนี (เกี่ยวผู้อื่นไว้) ได้แก่
เป็นดุจกิ่งไม้มีหนามงอแทงผิวหนังเกี่ยวผู้อื่นไว้ไม่ให้ไปแม้เขาจะไปก็ทำให้ติดอยู่
ย่อมไม่ให้ไป ฉะนั้น.
บทว่า โกธสามนฺตา (ยั่วให้โกรธ) ได้แก่ เป็นวาจาใกล้ต่อ
ความโกรธ. บทว่า อสมาธิสํวตฺตนิกา (ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ) ได้แก่
ไม่เป็นไปเพื่ออัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ คำเหล่านั้นทั้งหมดเป็นไวพจน์
ของวาจาที่เป็นไปกับโทสะ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ตถารูปึ วาจึ ปหาย (ละวาจาเช่นนั้นเสีย) นี้ ตรัสไว้
เพื่อแสดงว่า วาจาอ่อนหวานแม้เป็นไปในระหว่างของผู้มีได้ละผรุสวาจาตั้งอยู่
ก็ชื่อว่า วาจาไม่อ่อนหวานนั่นแหละ.

บทว่า เนฬา อธิบายว่า โทษตรัสเรียกว่า เอฬํ โทษของวาจา
นั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า เนฬา (ไร้โทษ) อธิบายว่า
ไม่มีโทษ ดุจศีล (ที่ไร้โทษ) ซึ่งตรัสไว้ในคำนี้ว่า เนฬงฺโค เสตปจฺฉาโท
เป็นต้น* แปลว่า รถคืออัตภาพมีศีลอันหาโทษมิได้ มีการประดับด้วย
บริขารขาวเป็นต้น.
บทว่า กณฺณสุขา (สบายหู) ได้แก่ สบายแก่หูทั้งสอง เพราะเป็น
วาจาที่ไพเราะโดยพยัญชนะ คือไม่ทำการเสียดแทงหูให้เกิดขึ้นดุจการแทงด้วย
เข็ม.
วาจาใด ไม่ยังความโกรธให้เกิด ย่อมยังความรักให้เกิดขึ้นสรีระ
เพราะเป็นวาจาไพเราะโดยอรรถ เพราะเหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า เปมนียา
(วาจาไพเราะ).
วาจาใด ไปสู่หทัย ไม่มีอะไรกระทบกระเทือนเข้าไปสู่จิตโดยง่าย
เพราะเหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า หทยงฺคมา (วาจาจับใจ).
วาจาใด เป็นของมีอยู่ในเมือง เพราะเป็นวาจาบริบูรณ์ด้วยคุณ
เพราะเหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า โปรี (วาจาของชาวเมือง). วาจาที่กล่าว
เรียกว่า ดูก่อนกุมารีผู้ดี ดุจนารีผู้มีวัฒนธรรมอันดีในบุรี เพราะเหตุนั้น แม้
วาจานั้นก็ชื่อว่า โปรี. วาจานี้ใด เป็นของมีอยู่แก่ชาวเมือง เพราะเหตุนั้น
แม้วาจานั้น ก็ชื่อว่า โปรี อธิบายว่า เป็นถ้อยคำของชาวพระนคร จริงอยู่
ชาวพระนคร มีถ้อยคำสมควร ย่อมเรียกบุคคลคราวพ่อว่าพ่อ ย่อมเรียกบุคคล
ควรเป็นพี่ชายน้องชายว่าพี่ชายน้องชายเป็นต้น.
วาจาใดเห็นปานนี้ ย่อมเป็นที่รักชอบใจแก่ชนเป็นอันมาก เพราะ
เหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า พหุชนกนฺตา (วาจาที่ชอบใจของชนหมู่มาก).
* ขุ. อุ. เล่ม 25 151/201

วาจาใดเป็นที่ตั้งใจให้ชุ่มชื่น คือ ทำความเจริญแห่งจิตแก่ชนจำนวน
มาก โดยความเป็นวาจาที่เจริญใจของชนหมู่มากนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น
วาจานั้น จึงชื่อว่า พหุชนมนาปา (วาจาที่เจริญใจ).
บทว่า ยา ตตฺถ ได้แก่ วาจาใดในบุคคลนั้น.
บทว่า สณฺหวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาละเอียดอ่อน) ได้แก่
ความเป็นผู้มีวาจาสละสลวย.
บทว่า สขิลวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน) ได้แก่ วาจา
อ่อนน้อม.
บทว่า อผรุสวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาไม่หยาบคาย) ได้แก่
วาจาไม่กักขฬะ.

ว่าด้วยนิทเทสปฏิสันถารทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสปฏิสันถารทุกะ ต่อไป
บทว่า อามิสปฏิสนฺถาโร (อามิสปฏิสันถาร) ได้แก่ ช่องว่าง
(รอยแตกร้าวสามัคคี) ของชนเหล่าอื่นกับตน เพราะการไม่ได้อามิส ย่อมปิด
สนิทแล้วโดยประการใด การต้อนรับแขกด้วยอามิสโดยประการนั้น.
บทว่า ธมฺมปฏิสนฺถาโร (ธรรมปฏิสันถาร) ได้แก่ ช่องว่างของชน
เหล่าอื่นกับตน เพราะการไม่ได้ธรรม ย่อมปิดสนิทแล้วโดยประการใด การ
ต้อนรับแขกด้วยธรรมโดยประการนั้น.
บทว่า ปฏิสนฺถารโก โหติ (บุคคลผู้ปฏิสันถาร) ความว่า ช่อง
ของโลกสันนิวาสมี 2 เท่านั้น บุคคลผู้ปฏิสันถาร (ผู้อุดช่อง) ทั้ง 2 นั้นคือ
บุคคลผู้ปฏิสันถารนั้นย่อมอุดช่องคือกระทำเป็นนิตย์ ด้วยการปฏิสันถารทั้ง 2 นี้