เมนู

ว่าด้วยนิทเทสขันติทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสขันติทุกะ ต่อไป
ที่ชื่อว่า ขันติ ด้วยอำนาจการอดทน อาการแห่งความอดทน ชื่อว่า
ขมนตา (กิริยาที่อดทน). ที่ชื่อว่า อธิวาสนตา (ความอดกลั้น) เพราะ
อรรถว่า เป็นเหตุอดกลั้น คือเป็นเหตุยกขึ้นเหนือตนทนอยู่ ไม่ต่อต้าน
ไม่เป็นข้าศึกดำรงอยู่.
ภาวะแห่งความไม่ดุร้าย ชื่อว่า อจณฺฑิกฺกํ (ความไม่ดุร้าย) คำพูด
ที่เปล่งออกมาชั่ว เพราะยกขึ้นพูดหาความชอบมิได้ ในบทว่า อนสุโรโป
(ความไม่ปากร้ายนี้) ท่านเรียกว่า ความปากร้าย. ชื่อว่า อนสุโรโป (ความ
ไม่ปากร้าย) เพราะมีสภาพตรงกันข้ามกับปากร้ายนั้น ได้แก่ วาจาที่เปล่ง
ออกมาดี. ในอธิการนี้ ทรงแสดงถึงเหตุ โดยผลูปจารนัยอย่างนี้.
บทว่า อตฺตมนตา จิตฺตสฺส (ความแช่มชื่นแห่งจิต) ได้แก่
ความที่จิตเป็นใจของตนด้วยอำนาจโสมนัส อธิบายว่า ภาวะแห่งจิตเป็นของตน
นั่นแหละ คือ การที่จิตไม่พยาบาทแล้ว.

ว่าด้วยนิทเทสโสรัจจทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสโสรัจจทุกะ ต่อไป
บทว่า กายิโก อวีติกฺกโม (ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย) ได้แก่
กายสุจริต 3 อย่าง. บทว่า วาจสิโก อวีติกฺกโม (ความไม่ล่วงละเมิดทาง
วาจา) ได้แก่ วจีสุจริต 4 อย่าง. ด้วยบทว่า กายิกวาจสิโก (ทางกาย
และทางวาจา) นี้ ทรงกำหนดถืออาชีวัฏฐมกศีล (ศีลมีอาชีวะเป็นที่ 8) ซึ่ง
ตั้งขึ้นทางกายและทางวาจา. บทว่า อิทํ วุจฺจติ โสรจฺจํ (นี้เรียกว่าโสรัจจะ)
นี้ ตรัสชื่อโสรัจจะไว้ เพราะความงดเว้นด้วยดีจากบาป. บทว่า สพฺโพปิ

สีลสํวโร (ศีลสังวรแม้ทั้งหมด) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อทรงแสดง
การถือศีลทางใจ เพราะบุคคลมิใช่ประพฤติอนาจารทางกายและทางวาจาเท่านั้น
แม้ทางใจก็ต้องประพฤติเหมือนกัน.

ว่าด้วยนิทเทสสาขัลยทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสสาขัลยทุกะ ต่อไป
บทว่า อณฺฑกา (เป็นปม) ได้แก่ เกิดเป็นปมด้วยวาจาปริภาษ
และเย้ยหยันประกอบด้วยโทสะ เหมือนกับปมที่เกิดขึ้นที่ต้นไม้ที่มีโทษ ฉะนั้น.
บทว่า กกฺกสา (เป็นกาก) ได้แก่ วาจาเสีย คือ วาจานั้นเป็นกาก
เช่นเดียวกับต้นไม้ที่เสียย่อมเป็นกาก เป็นจุณไหลออกมา ฉะนั้น. วาจาที่เป็น
กากนั้น เป็นราวกะเสียดสีโสตเข้าไป ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นกาก.
บทว่า ปรกฏุกา (เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น) ได้แก่ เผ็ดร้อนไม่เป็นที่
ชอบใจ ให้เกิดโทสะแก่ผู้อื่น. บทว่า ปราภิสชฺชนี (เกี่ยวผู้อื่นไว้) ได้แก่
เป็นดุจกิ่งไม้มีหนามงอแทงผิวหนังเกี่ยวผู้อื่นไว้ไม่ให้ไปแม้เขาจะไปก็ทำให้ติดอยู่
ย่อมไม่ให้ไป ฉะนั้น.
บทว่า โกธสามนฺตา (ยั่วให้โกรธ) ได้แก่ เป็นวาจาใกล้ต่อ
ความโกรธ. บทว่า อสมาธิสํวตฺตนิกา (ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ) ได้แก่
ไม่เป็นไปเพื่ออัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ คำเหล่านั้นทั้งหมดเป็นไวพจน์
ของวาจาที่เป็นไปกับโทสะ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ตถารูปึ วาจึ ปหาย (ละวาจาเช่นนั้นเสีย) นี้ ตรัสไว้
เพื่อแสดงว่า วาจาอ่อนหวานแม้เป็นไปในระหว่างของผู้มีได้ละผรุสวาจาตั้งอยู่
ก็ชื่อว่า วาจาไม่อ่อนหวานนั่นแหละ.