เมนู

ว่าด้วยนิทเทสฐานาฐานทุกะ


พึงทราบ วินิจฉัยในนิทเทสฐานาฐานทุกะ ต่อไป
คำแม้ทั้ง 2 นี้ว่า เหตุปจฺจยา (เป็นเหตุเป็นปัจจัย) เป็นคำไวพจน์
ของกันและกัน. จริงอยู่ จักขุประสาทเป็นเหตุ และเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ
ที่ทำรูปให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. อนึ่ง โสตประสาทเป็นต้นก็เป็นเหตุและเป็น
ปัจจัยแก่โสตวิญญาณเป็นต้น พืชทั้งหลายมีพืชมะม่วงเป็นต้นก็เป็นเหตุและ
เป็นปัจจัยแก่ผลมะม่วงเป็นต้น .
ในนัยที่ 2 พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า บทว่า เย ธมฺนา (ธรรมเหล่า
ใด) เป็นคำแสดงปัจจัยธรรมที่เป็นวิสภาคะกัน. บทว่า เยสํ เยสํ (เหล่าใด ๆ)
เป็นคำแสดงถึงปัจจยสมุปปันนธรรมที่เป็นวิสภาคะกัน. บทว่า น เหตู น
ปจฺจยา
(ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัย) ได้แก่ จักประสาท ไม่เป็นเหตุ
ไม่เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณที่เกิดขึ้นกระทำเสียงให้เป็นอารมณ์. อนึ่ง โสต-
ประสาทเป็นต้น ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัยแก่วิญญาณที่เหลือ และพืชมะม่วง
เป็นต้นก็ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัยแก่ความเกิดขึ้นแห่งต้นตาลเป็นต้น ฉะนั้น.

ว่าด้วยนิทเทสอาชวะและมัททวะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอาชวะ และมัททวะทุกะ ต่อไป
บทว่า นีจจิตฺตตา (ความเจียมใจ) นี้เป็นความต่างกันเพียงบท
เท่านั้น เนื้อความแห่งคำนั้นว่า บุคคลชื่อว่า นีจจิตฺโต (เจียมใจ) เพราะ
อรรถว่า มีใจเจียมโดยไม่มีมานะ. ภาวะแห่งบุคคลผู้เจียมใจ ชื่อว่า นิจจิตฺตตา
(ความเจียมใจ). คำที่เหลือมาในบทภาชนีย์แห่งจิตตุชุกตา และจิตตมุทุตา
นั่นแหละ.

ว่าด้วยนิทเทสขันติทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสขันติทุกะ ต่อไป
ที่ชื่อว่า ขันติ ด้วยอำนาจการอดทน อาการแห่งความอดทน ชื่อว่า
ขมนตา (กิริยาที่อดทน). ที่ชื่อว่า อธิวาสนตา (ความอดกลั้น) เพราะ
อรรถว่า เป็นเหตุอดกลั้น คือเป็นเหตุยกขึ้นเหนือตนทนอยู่ ไม่ต่อต้าน
ไม่เป็นข้าศึกดำรงอยู่.
ภาวะแห่งความไม่ดุร้าย ชื่อว่า อจณฺฑิกฺกํ (ความไม่ดุร้าย) คำพูด
ที่เปล่งออกมาชั่ว เพราะยกขึ้นพูดหาความชอบมิได้ ในบทว่า อนสุโรโป
(ความไม่ปากร้ายนี้) ท่านเรียกว่า ความปากร้าย. ชื่อว่า อนสุโรโป (ความ
ไม่ปากร้าย) เพราะมีสภาพตรงกันข้ามกับปากร้ายนั้น ได้แก่ วาจาที่เปล่ง
ออกมาดี. ในอธิการนี้ ทรงแสดงถึงเหตุ โดยผลูปจารนัยอย่างนี้.
บทว่า อตฺตมนตา จิตฺตสฺส (ความแช่มชื่นแห่งจิต) ได้แก่
ความที่จิตเป็นใจของตนด้วยอำนาจโสมนัส อธิบายว่า ภาวะแห่งจิตเป็นของตน
นั่นแหละ คือ การที่จิตไม่พยาบาทแล้ว.

ว่าด้วยนิทเทสโสรัจจทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสโสรัจจทุกะ ต่อไป
บทว่า กายิโก อวีติกฺกโม (ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย) ได้แก่
กายสุจริต 3 อย่าง. บทว่า วาจสิโก อวีติกฺกโม (ความไม่ล่วงละเมิดทาง
วาจา) ได้แก่ วจีสุจริต 4 อย่าง. ด้วยบทว่า กายิกวาจสิโก (ทางกาย
และทางวาจา) นี้ ทรงกำหนดถืออาชีวัฏฐมกศีล (ศีลมีอาชีวะเป็นที่ 8) ซึ่ง
ตั้งขึ้นทางกายและทางวาจา. บทว่า อิทํ วุจฺจติ โสรจฺจํ (นี้เรียกว่าโสรัจจะ)
นี้ ตรัสชื่อโสรัจจะไว้ เพราะความงดเว้นด้วยดีจากบาป. บทว่า สพฺโพปิ