เมนู

ว่าด้วยนิทเทสฐานาฐานทุกะ


พึงทราบ วินิจฉัยในนิทเทสฐานาฐานทุกะ ต่อไป
คำแม้ทั้ง 2 นี้ว่า เหตุปจฺจยา (เป็นเหตุเป็นปัจจัย) เป็นคำไวพจน์
ของกันและกัน. จริงอยู่ จักขุประสาทเป็นเหตุ และเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ
ที่ทำรูปให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. อนึ่ง โสตประสาทเป็นต้นก็เป็นเหตุและเป็น
ปัจจัยแก่โสตวิญญาณเป็นต้น พืชทั้งหลายมีพืชมะม่วงเป็นต้นก็เป็นเหตุและ
เป็นปัจจัยแก่ผลมะม่วงเป็นต้น .
ในนัยที่ 2 พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า บทว่า เย ธมฺนา (ธรรมเหล่า
ใด) เป็นคำแสดงปัจจัยธรรมที่เป็นวิสภาคะกัน. บทว่า เยสํ เยสํ (เหล่าใด ๆ)
เป็นคำแสดงถึงปัจจยสมุปปันนธรรมที่เป็นวิสภาคะกัน. บทว่า น เหตู น
ปจฺจยา
(ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัย) ได้แก่ จักประสาท ไม่เป็นเหตุ
ไม่เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณที่เกิดขึ้นกระทำเสียงให้เป็นอารมณ์. อนึ่ง โสต-
ประสาทเป็นต้น ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัยแก่วิญญาณที่เหลือ และพืชมะม่วง
เป็นต้นก็ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัยแก่ความเกิดขึ้นแห่งต้นตาลเป็นต้น ฉะนั้น.

ว่าด้วยนิทเทสอาชวะและมัททวะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอาชวะ และมัททวะทุกะ ต่อไป
บทว่า นีจจิตฺตตา (ความเจียมใจ) นี้เป็นความต่างกันเพียงบท
เท่านั้น เนื้อความแห่งคำนั้นว่า บุคคลชื่อว่า นีจจิตฺโต (เจียมใจ) เพราะ
อรรถว่า มีใจเจียมโดยไม่มีมานะ. ภาวะแห่งบุคคลผู้เจียมใจ ชื่อว่า นิจจิตฺตตา
(ความเจียมใจ). คำที่เหลือมาในบทภาชนีย์แห่งจิตตุชุกตา และจิตตมุทุตา
นั่นแหละ.