เมนู

ก็จะบอกชื่อที่ตนรู้จักว่า ต้นไม้นั้นเป็นต้นตะเคียน ดังนี้ พวกเขาไม่รู้จักชื่อ
ต้นไม้ใด ก็จะพูดว่า ต้นไม้นั้นไม่มีชื่อ ดังนี้ แม้คำว่าต้นไม้ไม่มีชื่อนั้น ก็
เป็นนามเธยยะ (การตั้งชื่อ) ของต้นไม้นั้นนั่นเอง. แม้ปลาและเต่าเป็นต้นใน
ทะเลก็นัยนี้แหละ.
สองทุกะนอกนี้ (คือนิรุตติทุกะและปัญญัติทุกะ) มีเนื้อความเหมือน
ทุกะนี้แล.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งนามรูปทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งนามรูปทุกะ ต่อไป
ที่ชื่อว่า นาม ด้วยอรรถว่าเป็นนามกรณะ (การให้ชื่อ) ด้วยอรรถ
ว่า การน้อมไปสู่อารมณ์ และด้วยอรรถว่าการยังอารมณ์ให้น้อมลงในตน. ใน
บรรดาอรรถทั้ง 3 เหล่านั้น ขันธ์ 4 ก่อน ชื่อว่า นาม ด้วยอรรถว่าการ
ให้ชื่อ เหมือนอย่างพระนามว่า มหาสมมต ดังนี้ เป็นชื่อของพระเจ้ามหา-
สมมตพระองค์นั้น เพราะมหาชนยกย่องแล้วฉันใด หรือว่ามารคและบิดาตั้ง
ชื่ออันมีเกียรติแก่บุตร อย่างนี้ว่า ลูกนี้จงชื่อว่า ติสสะ ลูกนี้จงชื่อว่า ปุสสะ
ฉันใด หรือว่า นาม ที่มาโดยคุณว่า พระธรรมกถึก พระวินัยธร ดังนี้
ฉันใด ชื่อของขันธ์ 4 มีเวทนาเป็นต้น ฉันนั้นหามิได้ เพราะขันธ์ 4 มีเวทนา
เป็นต้นเมื่อจะทำชื่อของตนเกิดขึ้น ก็เป็นดุจมหาปฐพีเป็นต้น เมื่อเวทนาเป็น
ต้นเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว ชื่อของขันธ์มีเวทนาเป็นต้น ก็ย่อมเกิดขึ้นโดยแท้
จริงอยู่ ใคร ๆ จะพูดถึงเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วว่า เจ้าจงชื่อว่า เวทนา ดังนี้
หาได้ไม่. และกิจคือหน้าที่ที่จะตั้งชื่อของเวทนานั้นก็ไม่มี. เมื่อปฐพีเกิดขึ้น
แล้ว กิจที่จะตั้งชื่อว่า เจ้าจงชื่อว่าปฐพีดังนี้มิได้มี เมื่อจักรวาล เขาสิเนรุ

ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวนักษัตร เกิดขึ้นแล้ว กิจที่จะตั้งชื่อว่า เจ้าจง
ชื่อว่า จักรวาล เจ้าจงชื่อว่า สิเนรุ เจ้าจงชื่อว่า นักษัตร ดังนี้ มิได้มี
นาม (ชื่อ) เกิดขึ้นแล้วนั่นแหละ ย่อมตกลงไปในโอปปาติกบัญญัติ (ได้ชื่อ
ว่าตามสภาพที่เกิดขึ้น) ฉันใด เมื่อเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ก็ฉันนั้น กิจที่จะตั้ง
ชื่อว่า เจ้าจงชื่อว่าเวทนา ดังนี้ มิได้มี. เมื่อเวทนานั้นเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า
เวทนา ก็ย่อมเกิดขึ้นนั่นแหละ. แม้ในขันธ์มีสัญญาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
จริงอยู่ เวทนาก็ชื่อว่า เวทนานั่นแหละ สัญญาก็ชื่อว่าสัญญา สังขาร
ก็ชื่อว่าสังขาร และวิญญาณก็ชื่อว่า วิญญาณเหมือนกัน แม้ในอดีต แม้ใน
อนาคต แม้ในปัจจุบัน. ถึงพระนิพพานก็ชื่อว่า พระนิพพานนั่นแหละแม้ใน
กาลทุกเมื่อ เพราะฉะนั้น ขันธ์ 4 จึงชื่อว่า นาม โดยสภาวะกระทำชื่อ.
ส่วนในข้อว่า การน้อมไปสู่อารมณ์ นี้ ขันธ์ 4 ชื่อว่า นาม
จริงอยู่ ขันธ์ 4 เหล่านั้น น้อมไปมุ่งเฉพาะต่ออารมณ์ นามแม้ทั้งหมด ชื่อ
ว่า นาม ด้วยอรรถว่าน้อมไป. เพราะขันธ์ 4 ย่อมยังกันและกันให้น้อมไปใน
อารมณ์ พระนิพพานย่อมยังธรรมไม่มีโทษให้น้อมไปในตน เพราะเป็นอา-
รัมมณาธิปติปัจจัย.
ในอวิชชาทุกนิทเทส พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดอวิชชาและ
ภวตัณหา เพื่อแสดงความเกิดขึ้นเป็นไปของวัฏมูล.
ในนิทเทสภวทิฏฐิ บทว่า ภวิสฺสติ อตฺตา จ โลโก จ (อัตตา-
และโลกจักเกิด) ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ ที่ถือว่าขันธบัญจกว่าเป็นอัตตาและโลก
แล้วยึดถือไว้โดยอาการที่ยึดถือว่า ขันธปัญจกนั้นจักเกิด. ทิฏฐิที่ 2 คือ
อุจเฉททิฏฐิ ซึ่งยึดถือเอาโดยอาการว่า ขันธปัญจกนั้นจักไม่เกิด.

ในนิทเทสปุพพันตานุทิฏฐิทุกะ บทว่า ปุพฺพนฺตํ อารพฺภ
(ปรารภส่วนอดีต) ได้แก่ทำส่วนอดีตให้เป็นอารมณ์ ทรงถือเอาปุพพันตานุ-
ทิฏฐิ 18 ที่มาในพรหมชาลสูตร ด้วยบทว่า ปุพฺพนฺตํ อารพฺภ นี้.
บทว่า อปรนฺตํ อารพฺภ (ปรารภส่วนอนาคต) ได้แก่ กระทำ
ส่วนอนาคตให้เป็นอารมณ์แล้วถือเอาอปรันตานุทิฏฐิ 44 อันมาแล้วในพรหม
ชาลสูตรนั้นนั่นแหละ. ด้วยบทว่า อปรนฺตํ อารพฺภ นี้.
ในโทวจัสสตานิทเทส บทว่า สหธมฺมิเก วุจฺจมาเน (เมื่อ
ถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม) ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท
อันใด ชื่อว่า สหธรรมิก เมื่อภิกษุถูกชี้ถึงวัตถุในสิกขาบทนั้น ปรับอาบัติ
กล่าวอยู่ว่า ท่านต้องอาบัติชื่อนี้ นิมนต์ท่านแสดงอาบัติ นิมนต์ท่านออก
จากอาบัติ นิมนต์ท่านกระทำคืนอาบัติ ดังนี้.
ในบทว่า โทวจสฺสายํ (กิริยาของผู้ว่ายาก) เป็นต้น กรรมของ
ผู้ว่ายากซึ่งถูกตักเตือนอยู่อย่างนี้ โดยการประท้วงตอบบ้าง โดยไม่ยอมรับ
โอวาทโดยเคารพบ้าง ชื่อว่า โทวจสฺสายํ (กิริยาของผู้ว่ายาก) กิริยาของผู้
ว่ายากนั้นนั่นแหละ ตรัสเรียกว่า โทวจัสสัง (ความเป็นผู้ว่ายาก) ดังนี้ก็มี.
ภาวะของความเป็นผู้ว่ายากนั้น ชื่อว่า โทวจสฺสิยํ (ความเป็นผู้ว่ายาก) คำ
นอกจากนี้ มีคำว่า ความยึดข้างขัดขืนเป็นต้น เป็นคำไวพจน์ของความเป็น
ผู้ว่ายากนั่นแหละ.
บทว่า วิปฺปฏิกุลคาหิตา (ความยึดข้างขัดขืน) ได้แก่ ความ
ยึดถือโดยไม่คล้อยตาม บุคคลชื่อว่า วิปจฺจนีกสาโต (พอใจทางโต้แย้ง)
เพราะอรรถว่า มีความยินดีโดยการโต้แย้งกล่าวคือถือข้างขัดขืน. คำนี้เป็นชื่อ
ของบุคคลผู้ได้ความสุขโดยพอใจว่า เราได้กระทำเขาให้หมดเสียงด้วยคำที่สำคัญ

เพียงคำเดียวเท่านั้น. ภาวะของบุคคลผู้พอใจในทางโต้แย้งนั้น ชื่อว่า วิปจฺจ-
นีกสาตตา
(ความพอใจทางโต้แย้ง) ภาวะของคนผู้ไม่เอื้อเฟื้อด้วยอำนาจ
ความไม่รับเอาโอวาท ชื่อว่า อนาทริยํ (ความไม่เอื้อเฟื้อ) คำนอกนี้มีภาวะ
แห่งผู้ไม่เอื้อเฟื้อเป็นต้น เป็นไวพจน์ของความไม่เอื้อเฟื้อนั้นนั่นแหละ อีก
อย่างหนึ่ง อาการที่ไม่เอื้อเฟื้อ ชื่อว่า อนาทริตา (ความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ).
ภาวะที่ไม่เคารพอันเกิดขึ้นด้วยการไม่อยู่ในอำนาจปกครองของครู ชื่อ
ว่า อคารวตา (ความไม่เคารพ). ภาวะที่ไม่ยอมเชื่อฟังอันเกิดขึ้นด้วยการไม่
อยู่ในอำนาจการปกครองของบุคคลผู้มีความเจริญ ชื่อว่า อปฺปฏิสฺสวตา
(ความไม่รับฟัง).
บทว่า อยํ วุจฺจติ (นี้เรียก) ความว่า กิริยานี้ คือเห็นปานนี้
เรียกว่า โทวจสฺสตา (กิริยาของผู้ว่ายาก).
ก็โทวจสฺสตา (กิริยาของผู้ว่ายาก) นี้ว่าโดยใจความได้แก่ ขันธ์ 4
อันเป็นไปโดยอาการนั้น หรือว่า ได้แก่ สังขารขันธ์อย่างเดียว. แม้ใน
ปาปมิตตตาเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ จริงอยู่ โทวจัสสตาและปาปมิตตตาเป็นต้น
ชื่อว่า เป็นเจตสิกธรรมส่วนหนึ่งย่อมไม่มี.
ที่ชื่อว่า อสทฺธา (คนไม่มีศรัทธา) เพราะอรรถว่า ศรัทธาของ
บุคคลเหล่านั้นไม่มี อธิบายว่า เขาย่อมไม่เชื่อวัตถุทั้งหลายมีพระพุทธเจ้า
เป็นต้น. บทว่า ทุสฺสีลา (ไม่มีศีล) ได้แก่ ขึ้นชื่อว่า ความผิดของศีลไม่มี
คือผู้ไม่มีศีล. บทว่า อปฺปสฺสุตา (มีสุตะน้อย) คือเว้นจากการศึกษา.
ที่ชื่อว่า มัจฉรี (มีความตระหนี่) เพราะอรรถว่า มีความตระหนี่
5 อย่าง. ที่ชื่อว่า นิปฺปญฺญา (มีปัญญาทราม) เพราะอรรถว่า ไร้ปัญญา.
ชื่อว่า เสวนา (การเสพ) ด้วยสามารถการคบหา. การเสพที่มีกำลัง ชื่อว่า

นิเสวนา (การซ่องเสพ). การเสพโดยประการทั้งปวง ชื่อว่า สํเสวนา< /B>
(การซ่องเสพด้วยดี). อีกอย่างหนึ่ง ทรงเพิ่มบท ด้วยอำนาจอุปสรรคแล้วตรัส
การเสวนะแม้ทั้ง 3 บททีเดียว.
บทว่า ภชนา (การคบ) ได้แก่ การเข้าไปใกล้.
บทว่า สมฺภชนา (การคบหา) ได้แก่ การคบโดยส่วนทั้งปวง
ชื่อว่า การคบหา. อีกอย่างหนึ่ง ตรัสเพิ่มบทด้วยอำนาจอุปสรรค. บทว่า
ภตฺติ (ความภักดี) ได้แก่ ความภักดีอย่างแน่วแน่. บทว่า สมฺภตฺติ
(ความจงรักภักดี) ได้แก่ ความภักดีโดยส่วนทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่ง ทรงเพิ่ม
บทด้วยอุปสรรคแล้วตรัสความภักดีมั่นคงแม้ทั้งสองบท.
บทว่า ตํสมฺปวงฺกตา (ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตาม
บุคคลนั้น) ได้แก่ภาวะที่โน้มน้าวไปด้วยกายและจิตในบุคคลเหล่านั้น อธิบายว่า
ความเอียงไป ความโอนไป ความเงื้อมไปในบุคคลนั้น. แม้นิทเทสโสวจัสสตา-
ทุกะก็พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้ว.
ในนิทเทสอาปัตติกุสลตาทุกะ บทว่า ปญฺจปิ อาปตฺติขนฺธา
(อาบัติทั้ง 5 หมวด) ได้แก่ อาบัติ 5 หมวดเหล่านั้นตามนิทเทสแห่งมาติกา
คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ. บทว่า สตฺตปิ
อาปตฺติกฺขนฺธา
(อาบัติทั้ง 7 หมวด) ได้แก่ อาบัติ 7 หมวดเหล่านี้ตาม
นิทเทสแห่งวินัย คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ
ทุกกฏ ทุพภาสิต.
บรรดาความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติเหล่านั้น ปัญญาที่รู้การกำหนดอาบัติ
เหล่านั้นพร้อมด้วยวัตถุ ชื่อว่า อาปัตติกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ)
ส่วนปัญญาที่รู้การกำหนดในการออกจากอาบัติพร้อมกับกรรมวาจา ชื่อว่า
อาบัติวุฏฐานกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ).

ในนิทเทสสมาบัติกุสลตา ที่ชื่อว่า สมาบัติ เพราะอันพระโยคี
พึงเข้า ส่วนปัญญาที่รู้การกำหนดอัปปนาพร้อมทั้งบริกรรม ชื่อว่า สมาปัตติ-
กุสลตา
(ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ) ชื่อว่า สมาปัตติวุฏฐาน-
กุสลตา
(ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ) เพราะเมื่อตั้งใจว่า เมื่อ
พระจันทร์ หรือพระอาทิตย์ หรือดาวนักษัตรโคจรมาสู่ที่นี้แล้ว เราจักออกจาก
สมาบัติ ดังนี้ มีอยู่ด้วยปัญญาเป็นเครื่องกำหนดการออกในสมัยนั้นไม่ผิดพลาด.
ในนิทเทสธาตุกุสลตาทุกะ ปัญญาที่รู้การกำหนดการเรียน การ
มนสิการ การฟัง การทรงจำ ซึ่งธาตุ 18 ชื่อว่า ธาตุกุสลตา (ความเป็น
ผู้ฉลาดในธาตุ) ปัญญาที่รู้การเรียน การมนสิการซึ่งธาตุเหล่านั้นนั่นแหละ
ชื่อว่า มนสิการกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ).
ในนิทเทสอายตนกุสลตาทุกะ ปัญญาที่รู้กำหนดการเรียน การ
มนสิการ การฟัง การทรงจำซึ่งอายตนะ 12 ชื่อว่า อายตนกุสลตา
(ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ).
อีกอย่างหนึ่ง บรรดากุสลตาเหล่านี้แม้ทั้ง 3 (ธาตุกุสลตา มนสิการ-
กุสลตา อายตนกุสลตา) ความรู้ทั้งปวง คือ การเรียน มนสิการ การฟัง
การเข้าใจ การแทงตลอด การพิจารณาเห็น ย่อมสมควร. ในบรรดาการรู้ทั้ง
6 เหล่านั้น การฟัง การเรียน การพิจารณาเห็นเป็นโลกีย์ การแทงตลอดเป็น
โลกุตระ การเข้าใจและมนสิการเป็นมิสสกะคือเป็นโลกีย์ก็มี เป็นโลกุตระก็มี.
บทว่า อวิชฺชาปจฺจยา สํขารา เป็นต้นจักแจ่มแจ้งในปฏิจจสมุป-
ปาทวิภังค์. ปัญญาที่รู้ว่า ธรรมนี้เป็นปัจจัยแก่ธรรมนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ปฏิจจ-
สมุปปาทกุสลตา
(ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท).

ว่าด้วยนิทเทสฐานาฐานทุกะ


พึงทราบ วินิจฉัยในนิทเทสฐานาฐานทุกะ ต่อไป
คำแม้ทั้ง 2 นี้ว่า เหตุปจฺจยา (เป็นเหตุเป็นปัจจัย) เป็นคำไวพจน์
ของกันและกัน. จริงอยู่ จักขุประสาทเป็นเหตุ และเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ
ที่ทำรูปให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. อนึ่ง โสตประสาทเป็นต้นก็เป็นเหตุและเป็น
ปัจจัยแก่โสตวิญญาณเป็นต้น พืชทั้งหลายมีพืชมะม่วงเป็นต้นก็เป็นเหตุและ
เป็นปัจจัยแก่ผลมะม่วงเป็นต้น .
ในนัยที่ 2 พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า บทว่า เย ธมฺนา (ธรรมเหล่า
ใด) เป็นคำแสดงปัจจัยธรรมที่เป็นวิสภาคะกัน. บทว่า เยสํ เยสํ (เหล่าใด ๆ)
เป็นคำแสดงถึงปัจจยสมุปปันนธรรมที่เป็นวิสภาคะกัน. บทว่า น เหตู น
ปจฺจยา
(ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัย) ได้แก่ จักประสาท ไม่เป็นเหตุ
ไม่เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณที่เกิดขึ้นกระทำเสียงให้เป็นอารมณ์. อนึ่ง โสต-
ประสาทเป็นต้น ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัยแก่วิญญาณที่เหลือ และพืชมะม่วง
เป็นต้นก็ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัยแก่ความเกิดขึ้นแห่งต้นตาลเป็นต้น ฉะนั้น.

ว่าด้วยนิทเทสอาชวะและมัททวะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอาชวะ และมัททวะทุกะ ต่อไป
บทว่า นีจจิตฺตตา (ความเจียมใจ) นี้เป็นความต่างกันเพียงบท
เท่านั้น เนื้อความแห่งคำนั้นว่า บุคคลชื่อว่า นีจจิตฺโต (เจียมใจ) เพราะ
อรรถว่า มีใจเจียมโดยไม่มีมานะ. ภาวะแห่งบุคคลผู้เจียมใจ ชื่อว่า นิจจิตฺตตา
(ความเจียมใจ). คำที่เหลือมาในบทภาชนีย์แห่งจิตตุชุกตา และจิตตมุทุตา
นั่นแหละ.