เมนู

อนึ่ง แผ่นหิน หรือแก้วมณี ชื่อว่า ไม่แตกไปด้วยวชิระ (ฟ้าผ่า)
ย่อมไม่มี วชิระตกไปในที่ใด ที่นั้นย่อมเป็นอันถูกขจัดแล้วทีเดียว วชิระ
เมื่อฟาดไปย่อมฟาดไปมิให้อะไรเหลือ ขึ้นชื่อว่า ทางที่วชิระผ่านไปแล้วจะไม่
เป็นสิ่งปรากฏอีก ชื่อว่า กิเลสที่อรหัตมรรคไม่ประหาณแล้วก็ย่อมไม่มีอย่างนั้น
เหมือนกัน แม้อรหัตมรรคย่อมกำจัดกิเลสทั้งสิ้น คือเมื่อยังกิเลสให้สิ้นไปย่อม
ให้สิ้นไปโดยไม่เหลือ เหมือนวชิระกำจัดอยู่ฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า การกลับมาเกิด
อีกของกิเลสที่อรหัตมรรคประหาณแล้วย่อมไม่มี เหมือนทางที่วชิระผ่านไปแล้ว
ไม่กลับเป็นสิ่งปรากฏอีก ฉะนั้น.

ว่าด้วยนิทเทสพาลทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสพาลทุกะ ต่อไป
อหิริกะและอโนตตัปะปรากฏแล้วในพาลชนทั้งหลาย. อนึ่ง อหิริกะ
และอโนตตัปปะเหล่านั้นยังเป็นมูลแห่งพาลธรรมที่เหลือ ด้วยว่าคนที่ไม่มีหิริ
ไม่มีโอตตัปปะชื่อว่าไม่ทำอกุศลอะไร ๆ ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ธรรมทั้ง 2
เหล่านั้นจึงตรัสแยกไว้ก่อนทีเดียว. แม้ในธรรมที่เป็นฝ่ายขาว (สุกกธรรม)
ก็นัยนี้แหละ. ในกัณหทุกะก็เหมือนกัน.

ว่าด้วยนิทเทสตปนียทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสตปนียทุกะ ต่อไป
บัณฑิตพึงทราบ ตปนธรรม (ธรรมที่เร่าร้อน) เพราะเหตุที่ทำ
และเพราะเหตุที่ไม่ทำ จริงอยู่ กายทุจริตเป็นต้น ย่อมให้เร่าร้อนเพราะเหตุที่
ทำ กายสุจริตเป็นต้น ย่อมให้เร่าร้อนเพราะเหตุที่ไม่ทำ จริงอย่างนั้น บุคคล
* วชิระ เป็นชื่อของฟ้าผ่าก็มี เป็นชื่ออาวุธของพระอินทร์ก็มี

ย่อมเดือดร้อนว่า กายทุจริตเราการทำไว้ และย่อมเดือดร้อนว่า กายสุจริต
เรามิได้การทำไว้ ย่อมเดือดร้อนว่า วจีทุจริตเรากระทำไว้ ฯลฯ ย่อมเดือด
ร้อนว่า มโนสุจริตเรามิได้ทำไว้. แม้ในอตปนียธรรม (ธรรมที่ไม่เร่าร้อน)
ก็นัยนี้แหละ.
จริงอยู่ บุคคลผู้ทำความดี ย่อมไม่เร่าร้อนว่า กายสุจริตเราทำไว้แล้ว
ย่อมไม่เร่าร้อนว่า กายทุจริตเราไม่ทำไว้แล้ว ย่อมไม่เร่าร้อนว่า วจีสุจริตเรา
กระทำไว้ ฯลฯ ไม่เร่าร้อนว่า มโนทุจริตเราไม่ทำไว้ ดังนี้.

ว่าด้วยนิทเทสอธิวจนทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอธิวจนทุกะ ต่อไป
บทว่า ยา เตสํ เตสํ ธมฺมานํ (ธรรมนั้น ๆ อันใด) ได้แก่ ทรง
รวบรวมเอาธรรมทั้งหมด. ที่ชื่อว่า สังขา (การกล่าวขาน) เพราะอันเขา
บอก คือย่อมสนทนากัน ย่อมสนทนากันอย่างไร ย่อมสนทนากันด้วยอาการ
หลายประการอย่างนี้ว่า เรา ของเรา คนอื่น ของคนอื่น ว่าเป็นสัตว์ เป็น
ภาวะ เป็นบุรุษ เป็นบุคคล เป็นนระ เป็นมานพ ชื่อว่า ติสสะ ชื่อว่า
ทัตตา ว่าเตียง ว่าตั่ง ว่าฟูก ว่าหมอน วิหาร บริเวณ ประตู หน้าต่าง
ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สังขา (การกล่าวขาน).
ที่ชื่อว่า สมัญญา (การกำหนดรู้) เพราะอรรถว่า ย่อมรู้โดยชอบ.
ย่อมรู้โดยชอบอย่างไร ย่อมรู้ว่า เรา ของเรา ฯลฯ ประตู หน้าต่าง เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า สมัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมรู้โดยชอบ. ที่ชื่อว่า บัญญัติ
เพราะอรรถว่า อันเขาย่อมแต่งตั้ง. ที่ชื่อว่า โวหาร เพราะอรรถว่า อัน
เขาย่อมร้องเรียก ย่อมร้องเรียกอย่างไร ย่อมร้องเรียกว่า เรา ของเรา ฯลฯ
ประตู หน้าต่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โวหาร.