เมนู

[834] ธรรมยังมีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นไฉน ?
กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะซึ่งเป็นกา-
มาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมยังมีธรรมอื่นยิ่งกว่า.
ธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นไฉน ?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.
[835] ธรรมเกิดกับกิเลส เป็นไฉน ?
อกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสอันตั้งอยู่ฐานเดียว
กัน กับอกุศลมูลนั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอกุศล
มูลนั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเกิดกับกิเลส.
ธรรมไม่เกิดกับกิเลส เป็นไฉน ?
กุศลธรรมและอัพยากตธรรมที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร
โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เกิดกับกิเลส.
ปิฏฐิทุกะ จบ

อรรกถานิกเขปกัณฑ์


ว่าด้วยนิทเทสกามาวจรในปิฏฐิทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสกามาวจร ต่อไป.
บทว่า เหฏฺฐโต (เบื้องต่ำ) (บาลีข้อ 828) ได้แก่ ส่วนข้างล่าง.
บทว่า อวีจินิรยํ (อเวจีนรก) มีความหมายว่า ที่ชื่อว่า อวีจิ
เพราะอรรถว่า ในนรกนี้ไม่มีช่องระหว่างระลอกแห่งเปลวไฟทั้งหลาย

หรือไม่มีช่องระหว่างระลอกแห่งทุกขเวทนาของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีชื่อว่า นิรยะ
(นรก) เพราะอรรถว่า ในที่นี้ไม่มีความเจริญกล่าวคือความสุข อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า นรก ด้วยอรรถว่า ไม่มีความยินดีบ้าง ด้วยอรรถว่า ไม่มีความชอบ
ใจบ้าง.
บทว่า ปริยนฺตํ กริตฺวา (เป็นที่สุด) ได้แก่ กระทำนรกกล่าวคือ
อเวจีนั้นเป็นที่สุด. บทว่า อุปริโต (เบื้องสูง) ได้แก่ ส่วนเบื้องบน. บท
ว่า ปรนิมฺมิตวสวตฺติเทเว (เทพปรนิมมิตวสวัตดี) ความว่า เทพมีโวหาร
อันได้แล้วอย่างนี้ เพราะยังอำนาจให้เป็นไปในความใคร่ (กาม) ทั้งหลายอัน
เทพอื่นนิมิตให้. บทว่า อนฺโต กริตฺวา (เป็นที่สุด) ได้แก่ กั้นไว้ในที่
สุด. บทว่า ยํ เอตสฺมึ อนฺตเร (ระหว่างนี้อันใด) ได้แก่ ในภูมินี้
อันใด.
ก็เพราะเหตุที่ธรรมแม้เหล่าอื่น ย่อมท่องเที่ยวไปในระหว่างภูมินี้โดย
ความเกิดในภูมิไหน ๆ ในกาลบางครั้งบางคราว ฉะนั้น เพื่อไม่ทรงรวมธรรม
เหล่านั้นด้วยบทนี้ว่า เอตฺถาวจรา (การท่องเที่ยวไปนี้) จึงตรัสคำว่า อวจรา
(ท่องเที่ยว). ด้วยคำนั้น ธรรมเหล่าใด ย่อมท่องเที่ยวไปหยั่งลงภายในระหว่าง
ภูมินี้ โดยที่เกิดอยู่ทุกที่ทุกเมื่อ คือย่อมท่องเที่ยวไปในส่วนเบื้องต่ำโดยภูตรูป
และอุปาทารูปก็เป็นไปในภายใต้ของอเวจีนรก จึงทรงกระทำการรวบรวมธรรม
เหล่านั้นไว้ เพราะว่า ธรรมเหล่านั้น หยั่งลงแล้วเที่ยวไป คือหยั่งลงในส่วน
เบื้องต่ำนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า อวจร. จริงอยู่ เพราะธรรม
เหล่านี้ ท่องเที่ยวไปในภูมินี้ ย่อมท่องเที่ยวไปแม้ในภูมิอื่น แต่ไม่นับเนื่องใน
ภูมิอันนั้น ฉะนั้น จึงทรงกระทำการกำหนดธรรมเหล่านั้น ซึ่งท่องเที่ยวไปแม้ใน
ภูมิอื่น ด้วยบทนี้ว่า เอตฺถ ปริยาปนฺนา (นับเนื่องในภูมินี้). บัดนี้ เมื่อจะแสดง

ธรรมเหล่านั้นอันเป็นธรรมนับเนื่องในภูมินี้โดยความเป็นราสี (กอง) โดย
ความว่างเปล่า โดยความเป็นปัจจัย และเป็นสภาวะ จึงตรัสคำว่า ขันธ์
เป็นต้น.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งรูปาวจรธรรม


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสรูปาวจรธรรม ต่อไป.
บทว่า พฺรหฺมโลกํ (พรหมโลก) ได้แก่ สถานที่ดำรงอยู่แห่ง
พรหมกล่าวคือ ปฐมฌานภูมิ. คำที่เหลือในนิทเทสนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าว
ไว้ในนิทเทสกามวจรนั่นแหละ. ในบทมีอาทิว่า สมาปนฺนสฺส จ (ของผู้
เข้าสมาบัติ) พึงทราบว่า ตรัสกุศลฌานด้วยบทที่ 1 ตรัสวิบากฌานด้วย
บทที่ 2 ตรัสกิริยาฌานด้วยบทที่ 3 ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอรูปาจรธรรม ต่อไป
บทว่า อากาสานญฺจายตนูปเค (ผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภูมิ)
ได้แก่ ผู้เข้าถึงภพกล่าวคือ อากาสานัญจายตนะ. แม้ในบทที่ 2 ก็นัยนี้แหละ.
คำที่เหลือในนิทเทสนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

ว่าด้วยนิทเทสสรณทุกะ (ที่ 18)


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสสรณทุกกะ ต่อไป
บรรดาอกุศลมูล 3 อกุศลมูล คือโมหะนี้ใด โมหะนั้นสัมปยุตด้วย
โลภะ พึงทราบว่า เป็นสรณะ (เกิดพร้อมกับกิเลสเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้)
โดยโลภะ โมหะที่สัมปยุตด้วยโทสะ เป็นสรณะโดยโทสะ แต่โมหะที่สัมปยุต
ด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ เป็นสรณะโดยเป็นกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับ
การประหาณโดยกิเลสเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้คือราคะอันสัมปยุตด้วยทิฏฐิ และ
กิเลสคือรูปราคะอรูปราคะ ดังนี้.