เมนู

ทิฏฐิและวิจิกิจฉาอันโสดาปัตติมรรคย่อมประหาณ ถีนะเป็นต้นอันอรหัตมรรค
ย่อมประหาณ. ว่าโดยลำดับแห่งมรรค ทิฏฐิและวิจิกิจฉาอันโสดาปัตติมรรค
ย่อมประหาณ โทสะอันอนาคามิมรรคย่อมประหาณ กิเลส 7 ที่เหลือ
อันอรหัตมรรคย่อมประหาณฉะนี้แล.

ปิฏฐิทุกะ


[810] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน ?
สัญโญชน์ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส.
[811] บรรดาสัญโญชน์ 3 นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน ?
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้
เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของ
สัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นตน หรือ
เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นคนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็น
ไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า
สักกายทิฏฐิ.
[812] วิจิกิจฉา เป็นไฉน ?
ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัย ในพระศาสดา ฯลฯ ความกระด้างแห่งจิต
ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.

[813] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรต
ของสมณพราหมณ์ในภายนอกแต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ
การถือโดยวิปลาสมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส.
[814] สัญโญชน์ 3 ดังกล่าวมานี้ และกิเลสซึ่งตั้งอยู่ฐานเดียวกัน
กับสัญโญชน์ 3 นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์อันสัมปยุตด้วย
สัญโญชน์ 3 นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีสัญโญชน์ 3 นั้นเป็น
สมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ.
ธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ประหาณ เป็นไฉน ?
เว้นสัญโญชนธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม
ที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ประหาณ.
[815] ธรรมอันมรรคเบื้องสูง 3 ประหาณ เป็นไฉน ?
โลภะ โทสะ โมหะที่เหลือ และกิเลสซึ่งตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ โลภะ
โทสะ โมหะ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์อันสัมปยุตด้วย โลภะ
โทสะ โมหะ นั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ
โมหะ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันมรรคเบื้องสูง 3
ประหาณ.
ธรรมอันมรรคเบื้องสูง 3 ไม่ประหาณ เป็นไฉน ?
เว้นธรรมอันมรรคเบื้องสูง 3 ประหาณเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร

โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันมรรคเบื้องสูง 3 ไม่ประหาณ.
[816] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ
เป็นไฉน ?
สัญโญชน์ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส.
[817] บรรดาสัญโญชน์ 3 นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน ?
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้
เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของ
สัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นคนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นตนหรือ
เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็น
ไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การยึดถือโดยวิปลาสมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า
สักกายทิฏฐิ.
[818] วิจิกิจฉา เป็นไฉน ?
ปุถุชนเคลือบแคลง สงสัย ในพระศาสดา ฯลฯ ความกระด้างแห่งจิต
ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.
[819] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยศีล ด้วยพร ด้วยศีลพรต
ของสมณพราหมณ์ในภายนอกแต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ
ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส.

[820] สัญโญชน์ 3 ดังกล่าวมานี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ
สัญโญชน์ 3 นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ 3
นั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีสัญโญชน์ 3 นั้นเป็นสมุฏฐาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ
สัญโญชน์ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ, โลภะ โทสะ โมหะ อัน
ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ 3 นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัมปยุตตเหตุ
อันโสดาปัตติมรรคประหาณ
ส่วนกิเลสอันตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น, เวทนา-
ขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะ นั้น,
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะ นั้น เป็นสมุฏฐาน
สภาวธรรมแหละนี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ.
ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคจะประหาณ เป็น
ไฉน ?
เว้นธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศล-
ธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ
คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ.
[821] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง 3 ประหาณ
เป็นไฉน ?
โสภะ โทสะ โมหะที่เหลือ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า สัมปยุตตเหตุ
อันมรรคเบื้องสูง 3 ประหาณ

ส่วนกิเลสอันตั้งอยู่ฐานเดียวกับ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น, เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะ นั้น, กายกรรม
วจีกรรม มโนกรรม อันมี โลภะ โทสะ โมหะ นั้น เป็นสมุฏฐาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง 3 ประหาณ.
ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง 3 จะประหาณ
เป็นไฉน ?
เว้นธรรมอันมรรคเบื้องสูง 3 ประหาณเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร
โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธรรม
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง 3 จะประหาณ.
[822] ธรรมมีวิตก เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์อันสัมปยุตด้วยวิตก ในภูมิแห่งจิตมี
วิตกที่เป็นกามาวจร รูปาวจร โลกุตระ เว้นวิตกเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมมีวิตก.
ธรรมไม่มีวิตก เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตไม่มีวิตก ที่เป็น
กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และโลกุตระ, วิตก รูปทั้งหมด และ
อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตก.
[823] ธรรมมีวิจาร เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยวิจาร ในภูมิแห่งจิต
มีวิจารเป็นกามาวจร รูปาวจร โลกุตระ เว้นวิจารเสีย สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่า ธรรมมีวิจาร.

ธรรมไม่มีวิจาร เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตไม่มีวิจาร ที่เป็น
กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ, วิจาร รูปทั้งหมด และอสังขต-
ธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิจาร.
[824] ธรรมมีปีติ เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยปีติ ในภูมิแห่งจิตมี
ปีติที่เป็นกามาวจร รูปาวจร โลกุตระ เว้นปีติเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมมีปีติ.
ธรรมไม่มีปีติ เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตไม่มีปีติ ที่เป็น
กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ ปีติ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ
สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีปีติ.
[825] ธรรมสหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยปีติ ในภูมิแห่งปีติ
ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร โลกุตระ เว้นปีติเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมสหรคตด้วยปีติ.
ธรรมไม่สหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในจิตอันไม่เป็นภูมิแห่งปีติเป็นกา-
มาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ, ปีติ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยปีติ.

[826] ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสุขเวทนาใน
ภูมิแห่งสุขเวทนาที่เป็นกามาวจร รูปาวจร โลกุตระ เว้นสุขเวทนาเสีย สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา.
ธรรมไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในจิตอันไม่เป็นภูมิแห่งสุขเวทนาที่
เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ, สุขเวทนา รูปทั้งหมด และ
อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา.
[827] ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน ?
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์อันสัมปยุตด้วยอุเบกขาเวทนา
ในภูมิแห่งอุเบกขาเวทนาที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และโลกุตระ
เว้นอุเบกขาเวทนาเสีย สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา-
เวทนา.
ธรรมไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในจิตอันไม่เป็นภูมิแห่งอุเบกขา-
เวทนาที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ อุเบกขาเวทนา รูป
ทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วย
อุเบกขาเวทนา.
[828] ธรรมเป็นกามาวจร เป็นไฉน ?
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่ง
ท่องเที่ยวอยู่นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างนี้ คือ เบื้องต่ำกำหนดอเวจีนรกเป็นที่
สุด เบื้องสูงกำหนดเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด อันใด สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกามาวจร.

ธรรมไม่เป็นกามาวจร เป็นไฉน ?
รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นกามาวจร.
[829] ธรรมเป็นรูปาวจร เป็นไฉน ?
จิตและเจตสิกธรรม ของท่านผู้เข้าสมาบัติ (กุศลฌาน) หรือของ
ท่านผู้อุปบัติ (วิปากฌาน) หรือของท่านผู้อยู่ด้วยทิฏฐธรรมสุขวิหาร (กิริ-
ยาฌาน) ซึ่งท่องเที่ยวอยู่นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างนี้ คือ เบื้องต่ำกำหนด
พรหมโลกเป็นที่สุด เบื้องสูงกำหนดเทพชนอกนิษฐ์เป็นที่สุด อันใด สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นรูปาวจร.
ธรรมไม่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน ?
กามาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นรูปาวจร.
[830] ธรรมเป็นอรูปาวจร เป็นไฉน ?
จิตและเจตสิกธรรม ของท่านผู้เข้าสมาบัติ (กุศลฌาน) หรือของ
ท่านผู้อุปบัติ (วิปากฌาน) หรือของท่านผู้อยู่ด้วยทิฏฐิธรรมสุขวิหาร (กิริยา-
ฌาน) ซึ่งท่องเที่ยวอยู่นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างนี้ คือเบื้องต่ำกำหนดเทพผู้
เข้าถึงอากาสานัญจายตนภูมิเป็นที่สุด เบื้องสูงกำหนดเทพผู้เข้าถึงเนวสัญญาย-
ตนภูมิเป็นที่สุด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอรูปาวจร.
ธรรมไม่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน ?
กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอรูปาวจร.

[831] ธรรมเป็นปริยาปันนะ เป็นไฉน ?
กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะซึ่งเป็นกา-
มาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่า ธรรมเป็นปริยาปันนะ.
ธรรมเป็นอปริยาปันนะ เป็นไฉน ?
มรรค ผลของมรรค และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
เป็นอปริยาปันนะ.
[832] ธรรมเป็นนิยยานิกะ เป็นไฉน ?
มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิยยา-
นิกะ.
อนิยยานิกธรรม เป็นไฉน ?
เว้นนิยยานิกธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม
ที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
อนิยยานิกธรรม.
[833] ธรรมเป็นนิยตะ เป็นไฉน ?
อนันตริยกรรม 5 นิยตมิจฉาทิฏฐิ และมรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิยตะ.
ธรรมให้ผลไม่แน่นอน เป็นไฉน ?
เว้นนิยตธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศธรรม อัพยากตธรรมที่
เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
ให้ผลไม่แน่นอน.

[834] ธรรมยังมีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นไฉน ?
กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะซึ่งเป็นกา-
มาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมยังมีธรรมอื่นยิ่งกว่า.
ธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นไฉน ?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.
[835] ธรรมเกิดกับกิเลส เป็นไฉน ?
อกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสอันตั้งอยู่ฐานเดียว
กัน กับอกุศลมูลนั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอกุศล
มูลนั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเกิดกับกิเลส.
ธรรมไม่เกิดกับกิเลส เป็นไฉน ?
กุศลธรรมและอัพยากตธรรมที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร
โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เกิดกับกิเลส.
ปิฏฐิทุกะ จบ

อรรกถานิกเขปกัณฑ์


ว่าด้วยนิทเทสกามาวจรในปิฏฐิทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสกามาวจร ต่อไป.
บทว่า เหฏฺฐโต (เบื้องต่ำ) (บาลีข้อ 828) ได้แก่ ส่วนข้างล่าง.
บทว่า อวีจินิรยํ (อเวจีนรก) มีความหมายว่า ที่ชื่อว่า อวีจิ
เพราะอรรถว่า ในนรกนี้ไม่มีช่องระหว่างระลอกแห่งเปลวไฟทั้งหลาย