เมนู

อหิริกะ เป็นกิเลส และสัมปุยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ
เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ.
สภาวธรรมเหล่านี้ ธรรมเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส.
ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยกิเลสธรรมเหล่านั้น เว้นกิเลสธรรมเหล่านั้น
เสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรม
สัมปุยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส.
[809] ธรรมวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส
เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากกิเลสธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม อัพยา-
กตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้
แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจาก
กิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส.
ธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นไฉน ?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส.
กิเลสโคจฉกะ จบ

อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี


ว่าด้วยกิเลสโคจฉกะ


พึงทราบวินิจฉัยในกิเลสโคจฉกะ ต่อไป
กิเลสเท่านั้น ชื่อว่า กิเลสวัตถุ อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วัตถุ
เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่ของสัตว์ผู้มีอาสวะยังไม่สิ้น เพราะความที่สัตว์เหล่านั้น
ตั้งอยู่ในกิเลสมีโลภะเป็นต้น ที่ชื่อว่า กิเลสวัตถุ เพราะอรรถว่า กิเลส

เหล่านั้นด้วย เป็นวัตถุของสัตว์ผู้ตั้งอยู่ในกิเลสเหล่านั้นด้วย. ก็เพราะแม้กิเลส
ทั้งหลายเมื่อเกิดขึ้น โดยความเป็นอนันตรปัจจัยเป็นต้น ชื่อว่าย่อมอยู่ในกิเลส
ที่เป็นปัจจัยนี้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสวัตถุ แม้ด้วยอรรถว่า เป็นวัตถุ
(ที่อยู่) ของกิเลสทั้งหลาย.
ก็โลภะนี้ว่า ตตฺถ กตโม โลโภ โย ราโค สาราโค (บรรดากิเลส
10 เหล่านั้น โลภะเป็นไฉน ? ความกำหนัด ความกำหนัดหนัก) ดังนี้
ทรงขยายออกตั้งร้อยกว่าบท ในฐานะทั้ง 3 คือ เหตุโคจฉกะ คัณฐโคจฉกะ
และในกิเลสโคจฉกะนี้. ทรงอธิบายไว้ในอาสวโคจฉกะ สัญโญชนโคจฉกะ
โอฆโคจฉกะ โยคโคจฉกะ นีวรณโคจฉกะ และอุปาทานโคจฉกะ โคจฉ-
กะละ 8 บท. โลภะนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ทรงถือเอาโดยนิปปเทส
(แสดงโดยไม่เหลือ) ในฐานะที่ทรงชี้แจงไว้ร้อยกว่าบทบ้าง ในฐานะที่ทรง
ชี้แจงไว้โคจฉกะละ 8 บทบ้าง ในโคจฉกะเหล่านั้น ตัณหาที่ตั้งอยู่โดยส่วน
เดียวกันนั่นแหละ ในเหตุโคจฉกะ คัณฐโคจฉกะ นีวรณโคจฉกะ อุปา-
ทานโคจฉกะ กิเลสโคจฉกะ พึงฆ่าด้วยมรรคทั้ง 4. ตัณหาที่เป็นส่วนทั้ง 2
ตั้งอยู่ในอาสวโคจฉกะ สัญโญชนโคจฉกะ โอฆโคจฉกะ โยคโคจฉกะ ก็พึง
ฆ่าด้วยมรรคทั้ง 4. ตัณหาที่เป็นส่วนทั้ง 2 นั้น อย่างไร ? คือในอาสวโคจฉกะ
เป็นกามาสวะ และภวาสวะ ในสัญโญชนโคจฉกะ ได้แก่ กามราคสัญโญชน์
และภวราคสัญโญชน์ ในโอฆะ ได้แก่ กาโมฆะและภโวฆะ ในโยคะได้แก่
กามโยคะ และภวโยคะ ก็กิเลสวัตถุเหล่านี้ควรนำมาโดยลำดับกิเลสบ้าง โดย
ลำดับมรรคบ้าง.
ว่าโดยลำดับกิเลส โลภะอันมรรคทั้ง 4 ย่อมประหาณ โทสะ
อันอนาคามิมรรคย่อมประหาณ โมหะและมานะอันอรหัตมรรคย่อมประหาณ

ทิฏฐิและวิจิกิจฉาอันโสดาปัตติมรรคย่อมประหาณ ถีนะเป็นต้นอันอรหัตมรรค
ย่อมประหาณ. ว่าโดยลำดับแห่งมรรค ทิฏฐิและวิจิกิจฉาอันโสดาปัตติมรรค
ย่อมประหาณ โทสะอันอนาคามิมรรคย่อมประหาณ กิเลส 7 ที่เหลือ
อันอรหัตมรรคย่อมประหาณฉะนี้แล.

ปิฏฐิทุกะ


[810] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน ?
สัญโญชน์ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส.
[811] บรรดาสัญโญชน์ 3 นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน ?
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้
เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของ
สัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นตน หรือ
เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นคนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็น
ไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า
สักกายทิฏฐิ.
[812] วิจิกิจฉา เป็นไฉน ?
ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัย ในพระศาสดา ฯลฯ ความกระด้างแห่งจิต
ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.