เมนู

ธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากอุปาทานธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.
ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เป็นไฉน ?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.
อุปาทานโคจฉกะ จบ

อรรถกถานิกเขปกัณฑ์


ว่าด้วยอุปาทานโคจฉกะ


ในอุปาทานนิทเทส พึงทราบวินิจฉัยดังนี้
ที่ชื่อว่า กามุปาทาน เพราะอรรถว่า ย่อมยึดมั่นซึ่งกามกล่าวคือ
วัตถุ. กามนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย แม้เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามุปาทาน.
บทว่า อุปาทานํ (อุปาทาน) แปลว่า ความยึดมั่น. เพราะอุปศัพท์
ในคำนี้มีอรรถว่ามั่น เหมือนในคำทั้งหลายมีอุปายาสะ (ความคับแค้น)
อุปกัฏฐะ (ใกล้ถึงแล้ว) เป็นต้น.*
อนึ่ง ทิฏฐินั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐุ-
ปาทาน
หรือว่า ที่ชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน เพราะอรรถว่า ย่อมยึดมั่นซึ่ง
ทิฏฐิ. เพราะทิฏฐิหลังย่อมยึดมั่นทิฏฐิต้น เหมือนในประโยคมีอาทิว่า สสฺสโต
* อุปายาสะ อุป อายาส อุป มั่น อายาส ความลำบาก กฏฺฐ ใกล้แล้ว อุป กฏฺฐ
ใกล้ถึงแล้ว

อตฺตา จ โลโก จ (อัตตาและโลกเที่ยง) ดังนี้. อนึ่ง ที่ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน
เพราะอรรถว่า ย่อมยึดมั่นศีลพรต. ศีลพรตนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย แม้เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน. จริงอยู่. คำว่า โคศีล และโควัตรเป็นต้น
เป็นอุปาทานเองทีเดียว เพราะยึดมั่นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยศีลพรตอย่างนี้.
อนึ่ง ชื่อว่า วาทะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุกล่าว. ที่ชื่อว่า อุปาทาน
เพราะอรรถว่า เป็นเหตุยึดมั่น ย่อมกล่าว ที่ยึดมั่นอะไร ? การกล่าวและ
การยึดมั่นอัตตาของตน ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน. อีกอย่างหนึ่ง เหตุสักแต่
วาทะว่าเป็นอัตตาอย่างเดียว ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน เพราะอรรถว่า เป็น
เหตุยึดมั่นว่าเป็นอัตตา.

ว่าด้วยนิทเทสกามุปาทาน


แม้ในคำว่า โย กาเมสุ กามฉนฺโท (ความพอใจคือความใคร่ใน
กามทั้งหลายอันใด) นี้ วัตถุกามทั้งหลาย และกิเลสกามทั้งหลายทรงประสงค์เอา
กามทั้งหลายโดยไม่เหลือ เพราะฉะนั้น ความพอใจคือความใคร่ในวัตถุกาม
ทั้งหลาย ชื่อว่า กามุปาทาน ในอธิการนี้ ฉะนั้น กามุปาทานนั้น จึงสำเร็จ
(แก่ปุถุชนเป็นต้น) แม้แก่พระอนาคามี แต่กามราคะอันเป็นวัตถุของกามคุณ 5
ย่อมไม่มีแก่พระอนาคามีนั้น.

ว่าด้วยนิทเทสทิฏฐุปาทาน


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสทิฏฐุปาทาน ต่อไป
บทว่า นตฺถิ ทินฺนํ (ทานที่ให้แล้วไม่มีผล) ความว่า เขาย่อมรู้ว่า
ชื่อว่า ทานที่บุคคลให้แล้วมีอยู่ คือใคร ๆ อาจเพื่อให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ ก็ได้
แต่ย่อมถือว่า ผลวิบากของทานไม่มี ดังนี้.
บทว่า นตฺถิ ยิฏฺฐํ (การบูชาไม่มีผล) ความว่า การบูชาใหญ่
(มหายาโค) ตรัสเรียกว่า ยิฏฺฐํ (การบูชา) คือ ย่อมรู้ว่า การบูชานั้น
ใคร ๆ อาจบูชาได้ แต่ย่อมถือว่า ผลวิบากของการบูชาไม่มี ดังนี้.