เมนู

ธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากอุปาทานธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.
ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เป็นไฉน ?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.
อุปาทานโคจฉกะ จบ

อรรถกถานิกเขปกัณฑ์


ว่าด้วยอุปาทานโคจฉกะ


ในอุปาทานนิทเทส พึงทราบวินิจฉัยดังนี้
ที่ชื่อว่า กามุปาทาน เพราะอรรถว่า ย่อมยึดมั่นซึ่งกามกล่าวคือ
วัตถุ. กามนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย แม้เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามุปาทาน.
บทว่า อุปาทานํ (อุปาทาน) แปลว่า ความยึดมั่น. เพราะอุปศัพท์
ในคำนี้มีอรรถว่ามั่น เหมือนในคำทั้งหลายมีอุปายาสะ (ความคับแค้น)
อุปกัฏฐะ (ใกล้ถึงแล้ว) เป็นต้น.*
อนึ่ง ทิฏฐินั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐุ-
ปาทาน
หรือว่า ที่ชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน เพราะอรรถว่า ย่อมยึดมั่นซึ่ง
ทิฏฐิ. เพราะทิฏฐิหลังย่อมยึดมั่นทิฏฐิต้น เหมือนในประโยคมีอาทิว่า สสฺสโต
* อุปายาสะ อุป อายาส อุป มั่น อายาส ความลำบาก กฏฺฐ ใกล้แล้ว อุป กฏฺฐ
ใกล้ถึงแล้ว