เมนู

อุปาทานโคจฉกะ


[780] ธรรมเป็นอุปาทาน เป็นไฉน ?
อุปาทาน 4 คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตต-
วาทุปาทาน.
[781] บรรดาอุปาทาน 4 นั้น กามุปาทาน เป็นไฉน ?
ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัด คือความใคร่ ความเพลิดเพลิน
คือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความใคร่
ความสยบคือความใคร่ ความหมกมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย อันใด
นี้ชื่อว่า กามุปาทาน.
[782] ทิฏฐุปาทาน เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การบวงสรวง
ไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดา
ไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ที่จุติและอุบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองแล้วประกาศให้คนอื่นรู้ได้ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ
ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปร
แห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด
ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด บ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะ
เช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน.
เว้นสีลัพพตุปาทานและอัตตวาทุปาทานเสีย มิจฉาทิฏฐิแม้ทุกอย่าง
จัดเป็นทิฏฐุปาทาน.

[783] สีลัพพตุปาทาน เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรต
ของสมณพราหมณ์ในภายนอกแต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ
ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปร
แห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด
ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส
มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตุปาทาน.
[784] อัตตวาทุปาทาน เป็นไฉน ?
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายไม่ฉลาด
ในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็น
สัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของ
สัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน หรือเห็นตนมีเวทนา เห็นเวทนาในตน เห็นตนใน
เวทนา ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน หรือเห็นคนมีสัญญา เห็นสัญญาในตน เห็นตน
ในสัญญา ย่อมเห็นสังขารเป็นตน หรือเห็นตนมีสังขาร เห็นสังขารในตน
เห็นตนในสังขาร ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณ
ในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ
กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ
สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด
ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดย
วิปลาสมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอุปทาน.
[785] ธรรมไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน ?
เว้นอุปาทานธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม
ที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือเวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
ไม่เป็นอุปาทาน.
[786] ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้น เป็นไฉน ?
กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะซึ่งเป็น
กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน.
ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน ?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.
[787] ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยอุปาทานธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน.
ธรรมวิปยุตจากอุปาทาน เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด วิปยุตจากอุปาทานธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมวิปยุตจากอุปาทาน.
[788] ธรรมเป็นอุปาทาน และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เป็นไฉน ?

อุปาทานเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน.
ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของอุปาทาน โดยอุปาทานธรรมเหล่านั้น
เว้นอุปาทานเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภท
ที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็น
อุปาทาน.
[789] ธรรมเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน ?
ทิฏฐุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทานโดยกามุปาทาน
กามุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทานโดยทิฏฐุปาทาน
สีลัพพตุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทานโดยกามุปาทาน
กามุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทานโดยสีลัพพตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทาน โดยกามุ-
ปาทาน กามุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทานโดยอัตตวาทุปาทาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน.
ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยอุปาทานธรรมเหล่านั้น เว้นอุปาทานธรรม
เหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน.
[790] ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากอุปาทานธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.
ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เป็นไฉน ?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.
อุปาทานโคจฉกะ จบ

อรรถกถานิกเขปกัณฑ์


ว่าด้วยอุปาทานโคจฉกะ


ในอุปาทานนิทเทส พึงทราบวินิจฉัยดังนี้
ที่ชื่อว่า กามุปาทาน เพราะอรรถว่า ย่อมยึดมั่นซึ่งกามกล่าวคือ
วัตถุ. กามนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย แม้เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามุปาทาน.
บทว่า อุปาทานํ (อุปาทาน) แปลว่า ความยึดมั่น. เพราะอุปศัพท์
ในคำนี้มีอรรถว่ามั่น เหมือนในคำทั้งหลายมีอุปายาสะ (ความคับแค้น)
อุปกัฏฐะ (ใกล้ถึงแล้ว) เป็นต้น.*
อนึ่ง ทิฏฐินั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐุ-
ปาทาน
หรือว่า ที่ชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน เพราะอรรถว่า ย่อมยึดมั่นซึ่ง
ทิฏฐิ. เพราะทิฏฐิหลังย่อมยึดมั่นทิฏฐิต้น เหมือนในประโยคมีอาทิว่า สสฺสโต
* อุปายาสะ อุป อายาส อุป มั่น อายาส ความลำบาก กฏฺฐ ใกล้แล้ว อุป กฏฺฐ
ใกล้ถึงแล้ว