เมนู

ที่ยังไม่ทำแล้วให้เป็นอันตนทำแล้ว ฉะนั้น การหวนระลึกไปผิดรูปหรือเป็น
สิ่งที่น่ารังเกียจ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิปฏิสาร. อนึ่ง เพื่อให้ทราบ
ว่า วิปฏิสารนั้นเป็นของจิต มิใช่ของสัตว์ ดังนี้ จึงตรัสว่า เจตโส วิปฺ-
ปฏิสาโร
(ความเดือดร้อนของจิต) ดังนี้. เนื้อความนี้เป็นการอธิบายสภาวะ
ของกุกกุจจะนั้น.
ก็กุกกุจจะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมสลักใจอยู่เหมือนปลายเหล็กแหลมขีดภาชนะ
สำริดอยู่นั่นแหละเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า มโนวิเลโข (ความยุ่งใจ)
เนื้อความนี้อธิบายกิจ (หน้าที่) ของกุกกุจจะนั้น. ส่วนกุกกุจจะ (ความรังเกียจ)
ใดที่ตรัสไว้ในพระวินัยว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตร รังเกียจว่า
การอยู่ฉันอาหารในโรงฉันเป็นประจำ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม
ไว้ เพราะฉะนั้น จึงไม่ยอมรับ
ดังนี้ กุกกุจจะ (การรังเกียจ) นั้น
ไม่เป็นนิวรณ์. เพราะพระอรหันต์ไม่มีความเดือดร้อนในภายหลังว่า สิ่งนี้เรา
ทำผิดแล้ว ดังนี้ ก็ชื่อว่า กุกกุจจะ (ความรังเกียจ) ในพระวินัยกล่าวคือ
การพิจารณานี้ว่า สิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร เป็นนีวรณปฏิรูปกะ (คล้ายกับ
นิวรณ์).

ว่าด้วยธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตตธรรม


ในนิทเทสบทว่า กตเม ธมฺมา นีวรณา เจว นีวรณสมฺปยุตฺตา
(ธรรมเป็นนิวรณ์แต่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน ?) ดังนี้ พระผู้มีพระภาค
เจ้ามิได้ตรัสแยกว่า ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิช-
ชานิวรณ์ เพราะถีนะและมิทธะมิได้เว้นซึ่งกันและกัน ดังนี้. แต่เพราะเมื่อ

อุทธัจจะมีอยู่ กุกกุจจะก็ไม่มี อุทธัจจะแม้เว้นจากกุกกุจจะก็เกิดได้ ฉะนั้น
จึงตรัสแยกอุทธัจจะนั้น.
อนึ่ง นิวรณ์ใด ไม่ถึงการประกอบเข้ากับนิวรณ์ใด พึงทราบว่า
นิวรณ์นั้นพระองค์มิได้ทรงประกอบไว้ ก็นิวรณ์เหล่านี้ควรเพื่อนำมากล่าวตาม
ลำดับแห่งกิเลสบ้าง ตามลำดับแห่งมรรคบ้าง ว่าด้วยลำดับแห่งกิเลส กาม
ฉันทนิวรณ์และพยาปาทนิวรณ์ อันอนาคามิมรรคย่อมละ ถีนมิทธนิวรณ์และ
อุทธัจจนิวรณ์ อันอรหัตมรรคย่อมละ กุกกุจจนิวรณ์และวิจิกิจฉานิวรณ์ อัน
โสดาปัตติมรรคย่อมละ อวิชชานิวรณ์ อันอรหัตมรรคย่อมละ ว่าโดยลำดับ
แห่งมรรค
กุกกุจจะและวิจิกิจฉา ย่อมละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค กามฉันทะ
และพยาบาทย่อมละได้ด้วยอนาคามิมรรค ถีนมิทธะ อุทธัจจะและอวิชชาย่อม
ละได้ด้วยอรหัตมรรค ดังนี้.
ในปรามาสโคจฉกะ บทว่า เต ธมฺเม ฐเปตฺวา (เว้นปรามาส-
ธรรมเหล่านั้นเสีย) คือพระองค์ทรงกระทำให้เป็นพหูพจน์โดยเสมอกับคำถาม.

อุปาทานโคจฉกะ


[780] ธรรมเป็นอุปาทาน เป็นไฉน ?
อุปาทาน 4 คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตต-
วาทุปาทาน.
[781] บรรดาอุปาทาน 4 นั้น กามุปาทาน เป็นไฉน ?
ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัด คือความใคร่ ความเพลิดเพลิน
คือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความใคร่
ความสยบคือความใคร่ ความหมกมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย อันใด
นี้ชื่อว่า กามุปาทาน.
[782] ทิฏฐุปาทาน เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การบวงสรวง
ไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดา
ไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ที่จุติและอุบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองแล้วประกาศให้คนอื่นรู้ได้ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ
ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปร
แห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด
ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด บ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะ
เช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน.
เว้นสีลัพพตุปาทานและอัตตวาทุปาทานเสีย มิจฉาทิฏฐิแม้ทุกอย่าง
จัดเป็นทิฏฐุปาทาน.