เมนู

ที่ยังไม่ทำแล้วให้เป็นอันตนทำแล้ว ฉะนั้น การหวนระลึกไปผิดรูปหรือเป็น
สิ่งที่น่ารังเกียจ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิปฏิสาร. อนึ่ง เพื่อให้ทราบ
ว่า วิปฏิสารนั้นเป็นของจิต มิใช่ของสัตว์ ดังนี้ จึงตรัสว่า เจตโส วิปฺ-
ปฏิสาโร
(ความเดือดร้อนของจิต) ดังนี้. เนื้อความนี้เป็นการอธิบายสภาวะ
ของกุกกุจจะนั้น.
ก็กุกกุจจะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมสลักใจอยู่เหมือนปลายเหล็กแหลมขีดภาชนะ
สำริดอยู่นั่นแหละเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า มโนวิเลโข (ความยุ่งใจ)
เนื้อความนี้อธิบายกิจ (หน้าที่) ของกุกกุจจะนั้น. ส่วนกุกกุจจะ (ความรังเกียจ)
ใดที่ตรัสไว้ในพระวินัยว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตร รังเกียจว่า
การอยู่ฉันอาหารในโรงฉันเป็นประจำ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม
ไว้ เพราะฉะนั้น จึงไม่ยอมรับ
ดังนี้ กุกกุจจะ (การรังเกียจ) นั้น
ไม่เป็นนิวรณ์. เพราะพระอรหันต์ไม่มีความเดือดร้อนในภายหลังว่า สิ่งนี้เรา
ทำผิดแล้ว ดังนี้ ก็ชื่อว่า กุกกุจจะ (ความรังเกียจ) ในพระวินัยกล่าวคือ
การพิจารณานี้ว่า สิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร เป็นนีวรณปฏิรูปกะ (คล้ายกับ
นิวรณ์).

ว่าด้วยธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตตธรรม


ในนิทเทสบทว่า กตเม ธมฺมา นีวรณา เจว นีวรณสมฺปยุตฺตา
(ธรรมเป็นนิวรณ์แต่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน ?) ดังนี้ พระผู้มีพระภาค
เจ้ามิได้ตรัสแยกว่า ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิช-
ชานิวรณ์ เพราะถีนะและมิทธะมิได้เว้นซึ่งกันและกัน ดังนี้. แต่เพราะเมื่อ