เมนู

จิตอยู่ ดังนี้ และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการอยู่โดย
อุบายไม่แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ ถีน-
มิทธะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
ดังนี้ และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กองแห่งอกุศลล้วน ๆ นี้ คือ นิวรณ์ 5 นี้
ดังนี้ ก็เพราะมิทธะนี้
เป็นอรูป ฉะนั้น จึงเกิดขึ้นแม้ในอรูปธรรม จริงอยู่ คำนี้ตรัสไว้ในปัฏฐาน
มหาปกรณ์ว่า ธรรมคือนิวรณ์อาศัยธรรมคือนิวรณ์เกิดขึ้น มิใช่อาศัยปุเรชาต-
ปัจจัยเกิดขึ้น พุทธวจนะทั้งหมดในวิภังค์พระดำรัสนี้ว่า อาศัยกามฉันทนิวรณ์
ในความเป็นอรูปย่อมเกิดถีนมิทธะ อุทธัจจะและอวิชชานิวรณ์ ดังนี้ ให้
พิสดาร เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้พึงถึงความตกลงว่า มิทธะเป็นอรูปเท่านั้น
ดังนี้.

ว่าด้วยกุกกุจจนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในกุกกุจจนิทเทส ต่อไป
บทว่า อกปฺปิเย กปฺปิยสญฺญิตา (ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่
ควร) เป็นต้นตรัสไว้เพื่อแสดงกุกกุจจะโดยมูล จริงอยู่ ในการก้าวล่วงที่ทำ
แล้ว โดยมีความสำคัญอย่างนี้ เมื่อภิกษุมีสติระลึกถึงวัตถุและอัชฌาจารที่
สำเร็จแล้วอีก ก็เดือดร้อนอยู่เนือง ๆ อย่างนี้ว่า เราทำกรรมชั่วแล้วดังนี้
กุกกุจจะนี้ จึงเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งการตามเดือดร้อนในภายหลัง ด้วยเหตุ
นั้น เพื่อทรงแสดงกุกกุจจะนั้นโดยมูล จึงตรัสคำมีอาทิว่า อกปฺปิเย กปฺปิย-
สญฺญิตา
ดังนี้.
ในพระพุทธพจน์นั้น อธิบายว่า ภิกษุมีความสำคัญว่าควรย่อมฉัน
อาหารที่ไม่ควร มีความสำคัญว่าเนื้อที่ควรย่อมฉันเนื้ออันไม่ควร คือย่อมขบ
ฉัน (เคี้ยวกิน) เนื้อหมีด้วยสำคัญว่าเป็นเนื้อสุกร หรือย่อมขบฉันเนื้อเสือ-

เหลืองด้วยสำคัญว่าเป็นเนื้อกวาง เมื่อกาลผ่านไปแล้ว สำคัญว่ายังเป็นกาลอยู่
ห้ามภัตแล้วสำคัญว่าไม่ได้ห้ามภัต เมื่อของที่ยังมิได้รับประเคนตกไปในบาตร
ย่อมฉันด้วยสำคัญว่ารับประเคนแล้ว อย่างนี้ ชื่อว่า การทำการก้าวล่วงด้วย
ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร. ภิกษุเมื่อขบฉันเนื้อสุกรด้วยความสำคัญว่า
เป็นเนื้อหมี และฉันอาหารในเวลาด้วยสำคัญว่านอกเวลา ชื่อว่า กระทำการ
ก้าวล่วงด้วยความสำคัญในของที่ควรว่าไม่ควร.
อนึ่ง สิ่งบางอย่างไม่มีโทษภิกษุการทำด้วยความสำคัญว่ามีโทษและที่
มีโทษทำความสำคัญว่าไม่มีโทษ ชื่อว่า กระทำการก้าวล่วงด้วยความสำคัญใน
สิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ด้วยความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ. ก็เพราะกุกกุจ
จะนี้ย่อมเกิดขึ้นเพราะการก้าวล้วงที่ทำแล้ว ความสำคัญว่ามีโทษในของที่ไม่มี
โทษอย่างนี้ว่า กรรมอันดีเรายังมิได้กระทำหนอ กุศลเรายังมิได้กระทำ เครื่อง
ปัองกันของคนกล้า ยังมิได้กระทำหนอ บาปเรากระทำแล้วหนอ ความหยาบ
ช้า เรากระทำแล้ว ความร้ายกาจเรากระทำแล้ว ดังนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้
มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงอนุญาตวัตถุแม้อื่นแก่ภิกษุผู้มีกุกกุจจะนั้นจึงตรัสคำมี
อาทิว่า การรำคาญ ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะเห็นปานนี้ อันใด ดังนี้. ในอธิการ
นี้ บทว่า กุกกุจจะ มีอรรถง่ายทั้งนั้น. อาการแห่งความรำคาญ ชื่อว่า
กุกฺกุจฺจายนา (กิริยาที่รำคาญ) ภาวะแห่งธรรมอันกุกกุจจะให้เป็นไปแล้ว
ชื่อว่า กุกฺกุจฺจายิตตฺตํ (ความรำคาญ).
ในคำว่า เจตโส วิปฺปฏิสาโร (ความเดือดร้อนใจ) นี้ ความว่า
การเผชิญหน้าต่อกรรมที่ทำแล้วและยังไม่ทำ หรือเผชิญหน้าต่อสิ่งที่มีโทษและ
ไม่มีโทษ ชื่อว่า วิปฏิสาร (ความเดือดร้อน) ก็เพราะความวิปฏิสารนั้น
ย่อมทำบาปอันทำแล้วให้เป็นกรรมที่ยังไม่กระทำ หรือย่อมไม่กระทำความดี

ที่ยังไม่ทำแล้วให้เป็นอันตนทำแล้ว ฉะนั้น การหวนระลึกไปผิดรูปหรือเป็น
สิ่งที่น่ารังเกียจ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิปฏิสาร. อนึ่ง เพื่อให้ทราบ
ว่า วิปฏิสารนั้นเป็นของจิต มิใช่ของสัตว์ ดังนี้ จึงตรัสว่า เจตโส วิปฺ-
ปฏิสาโร
(ความเดือดร้อนของจิต) ดังนี้. เนื้อความนี้เป็นการอธิบายสภาวะ
ของกุกกุจจะนั้น.
ก็กุกกุจจะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมสลักใจอยู่เหมือนปลายเหล็กแหลมขีดภาชนะ
สำริดอยู่นั่นแหละเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า มโนวิเลโข (ความยุ่งใจ)
เนื้อความนี้อธิบายกิจ (หน้าที่) ของกุกกุจจะนั้น. ส่วนกุกกุจจะ (ความรังเกียจ)
ใดที่ตรัสไว้ในพระวินัยว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตร รังเกียจว่า
การอยู่ฉันอาหารในโรงฉันเป็นประจำ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม
ไว้ เพราะฉะนั้น จึงไม่ยอมรับ
ดังนี้ กุกกุจจะ (การรังเกียจ) นั้น
ไม่เป็นนิวรณ์. เพราะพระอรหันต์ไม่มีความเดือดร้อนในภายหลังว่า สิ่งนี้เรา
ทำผิดแล้ว ดังนี้ ก็ชื่อว่า กุกกุจจะ (ความรังเกียจ) ในพระวินัยกล่าวคือ
การพิจารณานี้ว่า สิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร เป็นนีวรณปฏิรูปกะ (คล้ายกับ
นิวรณ์).

ว่าด้วยธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตตธรรม


ในนิทเทสบทว่า กตเม ธมฺมา นีวรณา เจว นีวรณสมฺปยุตฺตา
(ธรรมเป็นนิวรณ์แต่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน ?) ดังนี้ พระผู้มีพระภาค
เจ้ามิได้ตรัสแยกว่า ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิช-
ชานิวรณ์ เพราะถีนะและมิทธะมิได้เว้นซึ่งกันและกัน ดังนี้. แต่เพราะเมื่อ