เมนู

จิตอยู่ ดังนี้ และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการอยู่โดย
อุบายไม่แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ ถีน-
มิทธะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
ดังนี้ และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กองแห่งอกุศลล้วน ๆ นี้ คือ นิวรณ์ 5 นี้
ดังนี้ ก็เพราะมิทธะนี้
เป็นอรูป ฉะนั้น จึงเกิดขึ้นแม้ในอรูปธรรม จริงอยู่ คำนี้ตรัสไว้ในปัฏฐาน
มหาปกรณ์ว่า ธรรมคือนิวรณ์อาศัยธรรมคือนิวรณ์เกิดขึ้น มิใช่อาศัยปุเรชาต-
ปัจจัยเกิดขึ้น พุทธวจนะทั้งหมดในวิภังค์พระดำรัสนี้ว่า อาศัยกามฉันทนิวรณ์
ในความเป็นอรูปย่อมเกิดถีนมิทธะ อุทธัจจะและอวิชชานิวรณ์ ดังนี้ ให้
พิสดาร เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้พึงถึงความตกลงว่า มิทธะเป็นอรูปเท่านั้น
ดังนี้.

ว่าด้วยกุกกุจจนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในกุกกุจจนิทเทส ต่อไป
บทว่า อกปฺปิเย กปฺปิยสญฺญิตา (ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่
ควร) เป็นต้นตรัสไว้เพื่อแสดงกุกกุจจะโดยมูล จริงอยู่ ในการก้าวล่วงที่ทำ
แล้ว โดยมีความสำคัญอย่างนี้ เมื่อภิกษุมีสติระลึกถึงวัตถุและอัชฌาจารที่
สำเร็จแล้วอีก ก็เดือดร้อนอยู่เนือง ๆ อย่างนี้ว่า เราทำกรรมชั่วแล้วดังนี้
กุกกุจจะนี้ จึงเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งการตามเดือดร้อนในภายหลัง ด้วยเหตุ
นั้น เพื่อทรงแสดงกุกกุจจะนั้นโดยมูล จึงตรัสคำมีอาทิว่า อกปฺปิเย กปฺปิย-
สญฺญิตา
ดังนี้.
ในพระพุทธพจน์นั้น อธิบายว่า ภิกษุมีความสำคัญว่าควรย่อมฉัน
อาหารที่ไม่ควร มีความสำคัญว่าเนื้อที่ควรย่อมฉันเนื้ออันไม่ควร คือย่อมขบ
ฉัน (เคี้ยวกิน) เนื้อหมีด้วยสำคัญว่าเป็นเนื้อสุกร หรือย่อมขบฉันเนื้อเสือ-