เมนู

ความทุรพลแห่งกรชกาย (กายเกิดแต่ธุลี)1 เมื่อภวังค์นั้นไม่ระคนด้วยอารมณ์
อื่นเป็นไปอยู่ พระขีณาสพเหล่านั้นย่อมหลับ นั้นชื่อว่า ความหลับย่อมมีแก่
พระขีณาสพเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนอัคคิ-
เวสสนะ ก็เราแลย่อมรู้เฉพาะ ในท้ายเดือนฤดูร้อน เรากลับจากบิณฑบาต
ภายในกาลภายหลังภัตปูผ้าสังฆาฏิ 4 ชั้น แล้วเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะก้าวลงสู่
ความหลับโดยปรัศว์เบื้องขวา ดังนี้.2

ว่าด้วยมิทธะมิใช่อกุศล


ก็ความที่กรชกายอ่อนเพลีย (ทุรพล) นี้ เห็นปานนี้ ไม่ใช่ภาวะที่
มรรคพึงฆ่า ความที่กายทุรพลนี้ย่อมได้ทั้งในรูปที่มีใจครอง และในรูปที่ไม่มี
ใจครอง เมื่อจะได้ในรูปที่มีใจครอง ย่อมได้ในเวลาที่พระขีณาสพเดินทางไกล
หรือทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่งเหน็ดเหนื่อย เมื่อได้ในรูปที่ไม่มีใจครอง ย่อม
ได้ในใบไม้ดอกไม้ทั้งหลาย จริงอยู่ ใบไม้ของต้นไม้บางชนิดย่อมคลี่ออกไป
ด้วยแสงแดด ในเวลาราตรีย่อมงอกลับ ดอกปทุมเป็นต้น ย่อมบานด้วยแสงพระ
อาทิตย์ แต่ในเวลาราตรีย่อมหุบ ก็มิทธะนี้ย่อมมีแก่พระขีณาสพทั้งหลาย
เพราะความที่มิทธะนั้นไม่เป็นอกุศล ฉะนี้แล.
ในอธิการแห่งมิทธะนั้น ถ้าพึงมีผู้สงสัยว่า มิทธะมิใช่อกุศล เพราะ
เหตุไร เพราะมิทธะเป็นรูป ก็รูปเป็นอัพยากตะและมิทธะนี้ก็เป็นรูป ด้วยเหตุ
นั้นในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกระทำกายศัพท์ว่า ความไม่สม-
ประกอบแห่งนามกาย ความไม่ควรแก่การงานแห่งนามกาย
ดังนี้.
ข้อนี้ พึงเฉลยว่า ถ้าว่ามิทธะนี้เป็นรูปด้วยเพียงคำที่ตรัสว่า กายสฺส
(แห่งกาย) เท่านั้นไซร้ ธรรมทั้งหลายแม้มีกายปัสสัทธิเป็นต้นก็พึงเป็นรูปไป.
1. รูปอันเกิดสืบต่อมาด้วยสมุฏฐาน 4 2. ม. มู. เล่มที่ 12 430/461

ทั้งหมด แม้การเสวยสุขและการกระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะที่ตรัสไว้ว่า เสวย
สุขด้วยกาย กระทำให้แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยกาย ดังนี้ ก็พึงเป็นรูปเท่านั้น
เพราะฉะนั้น ไม่ควรพูดว่ามิทธะนี้เป็นรูป ดังนี้.
ถามว่า ก็ในอธิการนี้ นามกาย ชื่อว่า กาย เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะ
เหตุไร จึงตรัสว่า โสปฺปํ ปจลายิกา (ความหาวนอน ความโงกง่วง)
ดังนี้เล่า ด้วยว่านามกายย่อมไม่หาวนอน ย่อมไม่โงกง่วง.
ตอบว่า เพราะความหาวนอนและความโงกง่วงนั้นเป็นผลของมิทธะ
นั้น เหมือนเพศเป็นต้นเป็นผลของอินทรีย์ฉะนั้น เหมือนอย่างว่า ทรวดทรง
มีเพศเป็นต้นเหล่านี้ คือ เพศหญิง นิมิตหญิง มารยาหญิง กิริยาของหญิง
ตรัสไว้เพราะความเป็นผลของอิตถินทรีย์ ฉันใด ความหาวนอนเป็นต้นก็
ตรัสไว้ เพราะความเป็นผลแห่งมิทธะ กล่าวคือความป่วยไข้แห่งนามกาย
แม้นี้ฉันนั้น. ด้วยว่า เมื่อมิทธะมีอยู่ ความหาวนอนเป็นต้นนั้นก็มี
เพราะฉะนั้น จึงตรัสมิทธะแม้เป็นอรูป (นาม) โดยผลูปจารนัย (มุ่งถึงผล)
ว่า ความหาวนอน ความโงกง่วง กิริยาที่หาวนอน ความหาวหอน. อนึ่ง
แม้ด้วยวจนัตถะ (ความหมายของคำ) ว่า ที่ชื่อว่า ปจลายิกา (ความโงก
ง่วง) เพราะอรรถว่า ย่อมทำให้เปลือกตาเป็นต้นปิดลงดังนี้ ก็ให้สำเร็จความ
หมายนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น มิทธะจึงไม่ใช่รูป. อนึ่ง ความที่มิทธะนั้น
เป็นอรูป พระองค์ก็ทรงแสดงแม้ด้วยความปกคลุมเป็นต้นนั่นแหละ เพราะว่า
ถ้ามีผู้ท้วงอีกว่า ก็มิทธะนี้เป็นรูปด้วยเหตุ (มีการปกคลุมเป็นต้น)
นี้แหละมิใช่หรือ เพราะอรูป (นาม) ย่อมปกคลุม หุ้มห่อ ปิดบังไว้ในภายใน
ซึ่งอะไร ๆ ไม่ได้แล.

ข้อนี้ตอบว่า ถ้าอย่างนั้น แม้ความกางกั้นกุศลธรรมก็ไม่พึงมี เพราะ
ฉะนั้น พึงทราบความที่มิทธะแม้นี้เป็นความปกคลุมเป็นต้น ด้วยอรรถมีความ
ปกคลุมเป็นต้น เหมือนอรูปธรรมมีกามฉันทะเป็นต้น ที่ชื่อว่า นิวรณ์ ด้วย
อรรถว่ากางกั้นฉะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านท้วงว่า มิทธะแม้นี้ชื่อว่า เป็นอรูป เพราะพระบาลี
ว่า ละนิวรณ์ 5 เพราะทำจิตให้เศร้าหมองบั่นทอนปัญญา ดังนี้ เพราะรูปทำ
จิตให้เศร้าหมองไม่ได้ ทอนปัญญาก็ไม่ได้ ดังนี้ เพราะเหตุไร จึงเป็นไม่ได้
คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์บางพวก
ดื่มสุราเมรัยไม่ละเว้นการดื่มสุราและเมรัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอุปกิเลส
(เครื่องเศร้าหมอง) ของสมณพราหมณ์ข้อที่หนึ่งดังนี้มีอยู่มิใช่หรือ.
อีกข้อหนึ่งก็ได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนคหบดีบุตร โทษในการประกอบ
เนือง ๆ ในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทคือการดื่มสุราและเมรัยที่พึงเห็นใน
ปัจจุบันมี 6 อย่างคือ เสียทรัพย์ 1 ก่อการทะเลาะวิวาท 1 เป็นบ่อเกิดของ
โรค 1 ทำให้เสียชื่อเสียง 1 ทำให้ไม่รู้จักอาย 1 บั่นทอนปัญญา 1 รวมเป็น
ข้อที่ 6 ดังนี้ แม้พระบาลีย่อมเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ทีเดียว เพราะประจักษ์อยู่
ก็เพราะเหตุที่น้ำเมาเข้าถึงท้อง จิตย่อมเศร้าหมอง ปัญญาย่อมทุรพล ฉะนั้น
แม้มิทธะก็เปรียบเหมือนน้ำเมาพึงทำจิตให้เศร้าหมองบั่นทอนปัญญามิใช่หรือ.
ตอบว่า ไม่ควรเห็นอย่างนั้น เพราะทรงแสดงถึงความเป็นปัจจัย
จริงอยู่ ถ้าน้ำเมาพึงเป็นสังกิเลส (ทำจิตให้เศร้าหมอง) ไซร้ สังกิเลสนั้นก็พึง
มาสู่นิทเทสในนิทเทสแห่งอุปกิเลสทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุนั้นละนิวรณ์
5 เหล่านี้อันทำจิตให้เศร้าหมองดังนี้ หรือว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลส
ของจิต 5 อย่างเหล่านี้แล ฉันนั้นนั่นแหละ เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง

เป็นเครื่องทำจิตมิให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน มิให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง มิให้ตั้งมั่น
โดยชอบ มิใช่เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ธรรมเครื่องเศร้าหมอง 5
เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะเป็นอุปกิเลสของจิตดังนี้ หรือว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุปกิเลสของจิตเป็นไฉน ? อภิชฌาวิสมโลภะเป็นอุปกิเลส
ของจิตดังนี้ ก็เพราะเมื่อน้ำเมาแม้นั้นอันบุคคลดื่มแล้ว กิเลสทั้งหลายอันทำ
จิตให้เศร้าหมองและบั่นทอนปัญญาย่อมเกิดขึ้น ฉะนั้น น้ำเมานั้นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้โดยแสดงชี้ถึงปัจจัย เพราะความที่น้ำเมาเหล่านั้น
เป็นปัจจัยแก่อุปกิเลส. ส่วนมิทธะเป็นสังกิเลสแห่งจิตด้วยตนเอง และบั่นทอน
ปัญญา เพราะฉะนั้น มิทธะ คือ อรูปเท่านั้น.
ยังมีเนื้อความบางอย่างที่จะพึงกล่าวให้ยิ่งกว่านี้ โดยการกล่าวถึง
สัมปโยคะ จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์และ
สัมปยุตด้วยนิวรณ์ ด้วยอวิชชานิวรณ์ เพราะฉะนั้น มิทธะนี้จึงไม่ใช่รูป
เพราะตรัสถึงการสัมปโยคะ เพราะรูปจะนับเข้าด้วยธรรมที่สัมปยุตด้วยกันหา
ได้ไม่ดังนี้.
แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ อาจารย์ผู้กล่าวถึงมิทธะก็จะพึงท้วงว่า คำนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งธรรมดาตามที่หาได้ เหมือนอย่าง
พระดำรัสที่ตรัสด้วยอำนาจประกอบความตามที่ได้อย่างนี้ว่า ทั้งหอยกาบและ
หอยโข่ง ทั้งก้อนกรวดและกระเบื้อง ทั้งฝูงปลาเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ดังนี้
ความจริง ก้อนกรวดและกระเบื้องตั้งอยู่อย่างเดียวไม่เที่ยวไป อีกสองอย่าง
นอกนี้ย่อมเที่ยวไปบ้าง ย่อมตั้งอยู่บ้าง ข้อนี้ฉันใด แม้ในอธิการแห่งมิทธะนี้
ก็ฉันนั้น มิทธะเป็นนิวรณ์อย่างเดียวไม่สัมปยุตด้วยอกุศล ถีนะเป็นนิวรณ์ด้วย
เป็นธรรมสัมปยุตด้วย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถีนมิทธะ

ทั้งหมดรวมกันด้วยสามารถแห่งธรรมตามที่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วย
นิวรณ์ดังนี้ แต่มิทธะเป็นนิวรณ์อย่างเดียวไม่สัมปยุตกับอกุศล เหมือนก้อน
กรวดและกระเบื้องตั้งอยู่อย่างเดียวไม่เที่ยวไปฉันนั้น เพราะเหตุนั้น มิทธะ
จึงเป็นรูปเท่านั้น ดังนี้.
ตอบว่า ท่านไม่ควรเห็นเช่นนั้น เพราะมิทธะไม่สำเร็จความเป็นรูปได้
จริง คำว่า ก้อนกรวดและกระเบื้องย่อมไม่เที่ยวไป ดังนี้ แม้เว้นจาก
พระสูตรก็เข้าใจได้ เพราะฉะนั้น เนื้อความด้วยสามารถที่หาได้ในพระสูตรนี้
จงยกไว้ แต่คำที่กล่าวว่า มิทธะเป็นรูป นี้ไม่ควร ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะ
ให้มิทธะนั้นเป็นรูปได้ด้วยสูตรนี้ เพราะฉะนั้น มิทธะนี้มิได้ตรัสด้วยอำนาจ
ความตามที่ได้ เพราะมิทธะไม่สำเร็จความเป็นรูป เหตุนั้น มิทธะจึงเป็นอรูป
เท่านั้น.
ถ้อยคำที่ควรจะกล่าวให้ยิ่งขึ้นไปกว่าคำที่กล่าวแล้ว ก็เพราะมีพระบาลี
ว่า จตฺตตฺตา (เพราะสละแล้ว) เป็นต้น จริงอยู่ในวิภังคปกรณ์ พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสคำมีอาทิว่า เพราะสละแล้ว อย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อว่า มี
ถีนมิทธะไปปราศแล้ว เพราะสละแล้ว เพราะคายแล้ว เพราะปล่อยแล้ว
เพราะละแล้ว เพราะสละคืนแล้ว ซึ่งถีนมิทธะนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ผู้มีถีนมิทธะไปปราศแล้ว ดังนี้ และว่า ภิกษุทำจิตนี้ให้หมดจด ให้หมด
จดวิเศษ ให้บริสุทธิ์ ให้หลุดพ้น ให้พ้นวิเศษ ให้ปลดเปลื้องจากถีนมิทธะ
นี้ ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า ทำจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ดังนี้
ส่วนรูปพระองค์มิได้ตรัสอย่างนี้ เพราะเหตุนั้นแหละ มิทธะจึงเป็นอรูป
เท่านั้น.

อาจารย์ผู้กล่าวมิทธะแย้งว่า ท่านไม่ควรกล่าว โดยความที่ถีนมิทธะ
ไม่เกิดแต่จิต แท้จริง 3 อย่าง คือเกิดแต่จิต 1 เกิดแต่อุตุ 1
เกิดแต่อาหาร ในบรรดามิทธะทั้ง 3 เหล่านี้ มิทธะใด เกิดแต่จิตในวิภังค์
แห่งมิทธะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ความไม่มีแต่ฌานจิตทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น มิทธะจึงไม่สำเร็จเป็นอรูป เหตุนั้น มิทธะจึงเป็นรูปเท่านั้น ดัง
นี้.
ตอบว่า ข้อนนี้ไม่ควรเห็นมิทธะเป็นรูปได้เลย จริงอยู่ ครั้นความที่
มิทธะสำเร็จเป็นรูป ใคร ๆ ก็อาจไค้คำพูดนั่นว่า ความไม่เกิดแห่งมิทธะอันเกิด
แต่จิต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในวิภังค์นั้น และความที่มิทธะเป็นรูป
นั่นเทียว ย่อมไม่ควร เพราะฉะนั้น มิทธะจึงเป็นอรูปเท่านั้น.
ถ้อยคำที่จะพึงกล่าวให้ยิ่งไปกว่าโดยการกล่าวถึงการละ (ประหาณ) มีอยู่
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละแม้มิทธะไว้ ในพระบาลีทั้งหลายมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม 6 ประการได้แล้วก็อาจเข้าปฐมฌานอยู่
ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ? คือกามฉันทะ 1 พยาบาท 1 ถีนมิทธะ 1 อุทธัจจะ
1 กุกกุจจะ 1 วิจิกิจฉา 1 ก็โทษในกามทั้งหลายแล ชื่อว่าอันบุคคลนั้นเห็น
ดีแล้วด้วยสัมปชัญญะ ดังนี้ และว่า ภิกษุละนิวรณ์ 5 เหล่านี้แล้วจักรู้
ประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ด้วยปัญญาที่มีกำลัง ดังนี้ ส่วนรูปอัน
บุคคลไม่พึงละ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า รูปขันธ์อันบุคคลพึงรู้ยิ่ง พึงกำหนด
รู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ดังนี้ มิทธะจึงเป็นอรูปเท่านั้น เพราะกล่าวถึง
การละมิทธะแม้นี้.
อาจารย์ผู้กล่าวมิทธะค้านว่า ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนั้น เพราะพระ
ดำรัสการละแม้ซึ่งรูปก็มีอยู่ เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละ แม้ซึ่ง

รูปนั่นแหละในพระบาลีนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของพวกเธอ พวก
เธอจงละรูปนั้นเสีย ดังนี้ เพราะฉะนั้น คำว่า มิทธะเป็นอรูปนี้ จึงไม่ถูก
ต้อง.
อาจารย์ผู้ชี้แจ้งกล่าวว่า ท่านไม่ควรเห็นอย่างนั้น เพราะพระดำรัสนั้น
ตรัสโดยประการอื่น จริงอยู่ ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละ
รูปด้วยสามารถแห่งการละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ อย่างนี้ว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย การกำจัดฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยสามารถความพอ
ใจ) ในรูปอันใด การกำจัดนั้นเป็นการละในรูปนั้น ดังนี้ มิทธะจึงไม่ใช่รูป
เพราะตรัสไว้โดยประการอื่นว่า คำว่ารูปตรัสว่าเป็นธรรมควรละเหมือนการละ
ธรรม 6 อย่าง ละนิวรณ์ 5 อย่าง หามิได้ เพราะฉะนั้น พระสูตรเหล่าใด
ที่ตรัสไว้มีอาทิว่า ภิกษุละนิวรณ์ 5 เหล่านี้อันทำใจให้เศร้าหมอง ดังนี้
บัณฑิตพึงทราบว่า มิทธะเป็นอรูปเท่านั้นโดยพระสูตรเหล่านั้นด้วย โดยพระ-
สูตรเหล่าอื่นด้วย.
จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตร มิใช่น้อยอันส่องถึง
ความที่มิทธะนั้นเป็นอรูปเท่านั้นมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นิวรณ์เป็นเครื่องกางกั้น ท่วมทับจิต บั่นทอนปัญญา 5 ประการ
เหล่านี้ 5 ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะ ฯลฯ
ถีนมิทธะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ท่วมทับจิต บั่นทอนปัญญา
ดัง
นี้ และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถีนมิทธะเป็นนิวรณ์ทำให้มืด ไม่
ทำจักษุ ไม่ทำญาณ ดับปัญญา เป็นพวกพิฆาต ไม่เป็นไปเพื่อ
พระนิพพาน
ดังนี้ และว่า ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือน
กันแล สมัยใด บุคคลถูกถีนมิทธะกลุ่มรุมจิต ถูกถีนมิทธะครอบงำ

จิตอยู่ ดังนี้ และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการอยู่โดย
อุบายไม่แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ ถีน-
มิทธะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
ดังนี้ และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กองแห่งอกุศลล้วน ๆ นี้ คือ นิวรณ์ 5 นี้
ดังนี้ ก็เพราะมิทธะนี้
เป็นอรูป ฉะนั้น จึงเกิดขึ้นแม้ในอรูปธรรม จริงอยู่ คำนี้ตรัสไว้ในปัฏฐาน
มหาปกรณ์ว่า ธรรมคือนิวรณ์อาศัยธรรมคือนิวรณ์เกิดขึ้น มิใช่อาศัยปุเรชาต-
ปัจจัยเกิดขึ้น พุทธวจนะทั้งหมดในวิภังค์พระดำรัสนี้ว่า อาศัยกามฉันทนิวรณ์
ในความเป็นอรูปย่อมเกิดถีนมิทธะ อุทธัจจะและอวิชชานิวรณ์ ดังนี้ ให้
พิสดาร เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้พึงถึงความตกลงว่า มิทธะเป็นอรูปเท่านั้น
ดังนี้.

ว่าด้วยกุกกุจจนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในกุกกุจจนิทเทส ต่อไป
บทว่า อกปฺปิเย กปฺปิยสญฺญิตา (ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่
ควร) เป็นต้นตรัสไว้เพื่อแสดงกุกกุจจะโดยมูล จริงอยู่ ในการก้าวล่วงที่ทำ
แล้ว โดยมีความสำคัญอย่างนี้ เมื่อภิกษุมีสติระลึกถึงวัตถุและอัชฌาจารที่
สำเร็จแล้วอีก ก็เดือดร้อนอยู่เนือง ๆ อย่างนี้ว่า เราทำกรรมชั่วแล้วดังนี้
กุกกุจจะนี้ จึงเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งการตามเดือดร้อนในภายหลัง ด้วยเหตุ
นั้น เพื่อทรงแสดงกุกกุจจะนั้นโดยมูล จึงตรัสคำมีอาทิว่า อกปฺปิเย กปฺปิย-
สญฺญิตา
ดังนี้.
ในพระพุทธพจน์นั้น อธิบายว่า ภิกษุมีความสำคัญว่าควรย่อมฉัน
อาหารที่ไม่ควร มีความสำคัญว่าเนื้อที่ควรย่อมฉันเนื้ออันไม่ควร คือย่อมขบ
ฉัน (เคี้ยวกิน) เนื้อหมีด้วยสำคัญว่าเป็นเนื้อสุกร หรือย่อมขบฉันเนื้อเสือ-