เมนู

ความทุรพลแห่งกรชกาย (กายเกิดแต่ธุลี)1 เมื่อภวังค์นั้นไม่ระคนด้วยอารมณ์
อื่นเป็นไปอยู่ พระขีณาสพเหล่านั้นย่อมหลับ นั้นชื่อว่า ความหลับย่อมมีแก่
พระขีณาสพเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนอัคคิ-
เวสสนะ ก็เราแลย่อมรู้เฉพาะ ในท้ายเดือนฤดูร้อน เรากลับจากบิณฑบาต
ภายในกาลภายหลังภัตปูผ้าสังฆาฏิ 4 ชั้น แล้วเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะก้าวลงสู่
ความหลับโดยปรัศว์เบื้องขวา ดังนี้.2

ว่าด้วยมิทธะมิใช่อกุศล


ก็ความที่กรชกายอ่อนเพลีย (ทุรพล) นี้ เห็นปานนี้ ไม่ใช่ภาวะที่
มรรคพึงฆ่า ความที่กายทุรพลนี้ย่อมได้ทั้งในรูปที่มีใจครอง และในรูปที่ไม่มี
ใจครอง เมื่อจะได้ในรูปที่มีใจครอง ย่อมได้ในเวลาที่พระขีณาสพเดินทางไกล
หรือทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่งเหน็ดเหนื่อย เมื่อได้ในรูปที่ไม่มีใจครอง ย่อม
ได้ในใบไม้ดอกไม้ทั้งหลาย จริงอยู่ ใบไม้ของต้นไม้บางชนิดย่อมคลี่ออกไป
ด้วยแสงแดด ในเวลาราตรีย่อมงอกลับ ดอกปทุมเป็นต้น ย่อมบานด้วยแสงพระ
อาทิตย์ แต่ในเวลาราตรีย่อมหุบ ก็มิทธะนี้ย่อมมีแก่พระขีณาสพทั้งหลาย
เพราะความที่มิทธะนั้นไม่เป็นอกุศล ฉะนี้แล.
ในอธิการแห่งมิทธะนั้น ถ้าพึงมีผู้สงสัยว่า มิทธะมิใช่อกุศล เพราะ
เหตุไร เพราะมิทธะเป็นรูป ก็รูปเป็นอัพยากตะและมิทธะนี้ก็เป็นรูป ด้วยเหตุ
นั้นในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกระทำกายศัพท์ว่า ความไม่สม-
ประกอบแห่งนามกาย ความไม่ควรแก่การงานแห่งนามกาย
ดังนี้.
ข้อนี้ พึงเฉลยว่า ถ้าว่ามิทธะนี้เป็นรูปด้วยเพียงคำที่ตรัสว่า กายสฺส
(แห่งกาย) เท่านั้นไซร้ ธรรมทั้งหลายแม้มีกายปัสสัทธิเป็นต้นก็พึงเป็นรูปไป.
1. รูปอันเกิดสืบต่อมาด้วยสมุฏฐาน 4 2. ม. มู. เล่มที่ 12 430/461