เมนู

อธิบายนีวรณโคจฉกะ


ว่าด้วยถีนมิทธนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในถีนมิทธนิทเทสแห่งนีวรณโคจฉกะ ต่อไป.
บทว่า จิตฺตสฺส อกลฺยตา (ความไม่สมประกอบแห่งจิต) คือภาวะ
แห่งคนป่วยไข้. จริงอยู่ คนป่วยไข้ ตรัสเรียกว่า อกลฺยโก (ผู้มีสุขภาพไม่ดี)
แม้ในวินัยก็กล่าวไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถ ดังนี้.
บทว่า อกมฺมญฺญตา (ความไม่ควรแก่การงาน) ได้แก่ อาการ
แห่งความไม่ควรแก่การงานคือความเป็นไข้แห่งจิต. บทว่า โอลียนา (ความ
ท้อแท้) ได้แก่ อาการที่ท้อถอย. จริงอยู่ จิตที่ยังอิริยาบถให้เกิดขึ้น เมื่อ
ไม่อาจเพื่อให้อิริยาบถทรงอยู่ ย่อมท้อแท้ ดุจค้างคาวเล็กห้อยอยู่บนต้นไม้
ย่อมท้อถอยดุจหม้อน้ำดื่มห้อยไว้ที่เสาเขื่อนฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ความท้อแท้ ดังนี้ ทรงหมายถึงอาการนั้นของจิตนั้น. บทที่ 2 (สลฺลียนา
ความถดถ้อย) ทรงเพิ่มด้วยอำนาจบทอุปสรรค.
บทว่า ลีนํ (ความหดหู่) ได้แก่ ขดงอแล้ว เพราะความไม่แผ่ออกไป.
บททั้ง 2 นอกนี้ (คือ ลียนา ลียิตตฺตํ อาการที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่)
เป็นบทแสดงถึงอาการและภาวะของจิตนั้น.
บทว่า ถีนํ (ความซบเซา) ความว่า ที่ชื่อว่า ถีนะ โดยความ
เป็นแท่ง เพราะไม่แผ่ไปเหมือนก้อนเนยใส. บทว่า ถียนา (อาการที่ซบเซา)
เป็นการแสดงอาการของจิต ภาวะแห่งอาการที่จิตซบเซาแล้ว ชื่อว่า ถียิตตฺตํ
(ความซบเซา) อธิบายว่า ความที่จิตเป็นธรรมชาติกระด้างด้วยสามารถแห่ง
การไม่แผ่ออกไปนั้นเทียว.

บทว่า กายสฺส (แห่งกาย) ได้แก่ นามกายคือขันธ์ 3. บทว่า
อกลฺยตา อกมฺมญฺญตา (ความไม่สมประกอบแห่งนามกาย ความไม่ควรแก่
การงานแห่งนามกาย) มีนัยดังกล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ. ที่ชื่อว่า โอนาโห
(ความปกคลุม) เพราะอรรถว่า ย่อมปกคลุมกาย เหมือนก้อนเมฆปกคลุม
อากาศฉะนั้น การปกคลุมโดยส่วนทั้งหมด ชื่อว่า ปรินาโห (ความหุ้มห่อ).
ที่ชื่อว่า อนฺโตสโมโรโธ (ความปิดบังไว้ภายใน) เพราะอรรถว่า
ย่อมปิดกั้นไว้ภายใน. เหมือนอย่างว่า นครที่เขาปิดแล้ว พวกมนุษย์ย่อมไม่ได้
เพื่ออันออกไปภายนอก ฉันใด ธรรมทั้งหลาย อันมิทธะ (ความง่วงเหงา)
ปิดไว้แล้วย่อมไม่ได้เพื่ออันแผ่ออกไป ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า
อนฺโตสโมโรโธ (ความปิดบังไว้ภายใน).
ที่ชื่อว่า มิทฺธํ (ความง่วงเหงา) เพราะอรรถว่า ย่อมกำจัด อธิบายว่า
ย่อมเบียดเบียนโดยความไม่ควรแก่การงาน. ที่ชื่อว่า โสปฺปํ (ความหาวนอน)
เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้หลับ. ที่ชื่อว่า ปจลายิกา (อาการที่หาวนอน) เพราะ
อรรถว่า ย่อมทำให้เปลือกตาเป็นต้นงับลง.
บทว่า สุปนา สุปิตตฺตํ กิริยาที่หาวนอน ภาวะที่หาวนอน เป็นบท
แสดงอาการและภาวะของจิตนั้น แต่ว่า บทว่า ความหาวนอน ข้างหน้าของ
บทเหล่านั้นอันใด เหตุในการกล่าวซ้ำของบทนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.
บทว่า อิทํ วุจฺจติ ถีนมิทฺธนิวรณํ ถีนะและมิทธะนี้เรียกว่า
ถีนมิทธนีวรณ์ คือ รวมถีนะและมิทธะนี้เข้าด้วยกัน เรียกว่า ถีนมิทธนิวรณ์
ด้วยอรรถว่ากางกั้น. ถีนมิทธนิวรณ์ใด ย่อมเกิดขึ้นในเวลาก่อนหรือหลังความ
หลับแก่พระเสกขะและปุถุชนทั้งหลายโดยมาก ถีนมิทธนิวรณ์นั้น อรหัต
มรรคตัดขาดแล้ว แต่การก้าวลงสู่ภวังค์ของพระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมมีด้วย

ความทุรพลแห่งกรชกาย (กายเกิดแต่ธุลี)1 เมื่อภวังค์นั้นไม่ระคนด้วยอารมณ์
อื่นเป็นไปอยู่ พระขีณาสพเหล่านั้นย่อมหลับ นั้นชื่อว่า ความหลับย่อมมีแก่
พระขีณาสพเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนอัคคิ-
เวสสนะ ก็เราแลย่อมรู้เฉพาะ ในท้ายเดือนฤดูร้อน เรากลับจากบิณฑบาต
ภายในกาลภายหลังภัตปูผ้าสังฆาฏิ 4 ชั้น แล้วเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะก้าวลงสู่
ความหลับโดยปรัศว์เบื้องขวา ดังนี้.2

ว่าด้วยมิทธะมิใช่อกุศล


ก็ความที่กรชกายอ่อนเพลีย (ทุรพล) นี้ เห็นปานนี้ ไม่ใช่ภาวะที่
มรรคพึงฆ่า ความที่กายทุรพลนี้ย่อมได้ทั้งในรูปที่มีใจครอง และในรูปที่ไม่มี
ใจครอง เมื่อจะได้ในรูปที่มีใจครอง ย่อมได้ในเวลาที่พระขีณาสพเดินทางไกล
หรือทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่งเหน็ดเหนื่อย เมื่อได้ในรูปที่ไม่มีใจครอง ย่อม
ได้ในใบไม้ดอกไม้ทั้งหลาย จริงอยู่ ใบไม้ของต้นไม้บางชนิดย่อมคลี่ออกไป
ด้วยแสงแดด ในเวลาราตรีย่อมงอกลับ ดอกปทุมเป็นต้น ย่อมบานด้วยแสงพระ
อาทิตย์ แต่ในเวลาราตรีย่อมหุบ ก็มิทธะนี้ย่อมมีแก่พระขีณาสพทั้งหลาย
เพราะความที่มิทธะนั้นไม่เป็นอกุศล ฉะนี้แล.
ในอธิการแห่งมิทธะนั้น ถ้าพึงมีผู้สงสัยว่า มิทธะมิใช่อกุศล เพราะ
เหตุไร เพราะมิทธะเป็นรูป ก็รูปเป็นอัพยากตะและมิทธะนี้ก็เป็นรูป ด้วยเหตุ
นั้นในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกระทำกายศัพท์ว่า ความไม่สม-
ประกอบแห่งนามกาย ความไม่ควรแก่การงานแห่งนามกาย
ดังนี้.
ข้อนี้ พึงเฉลยว่า ถ้าว่ามิทธะนี้เป็นรูปด้วยเพียงคำที่ตรัสว่า กายสฺส
(แห่งกาย) เท่านั้นไซร้ ธรรมทั้งหลายแม้มีกายปัสสัทธิเป็นต้นก็พึงเป็นรูปไป.
1. รูปอันเกิดสืบต่อมาด้วยสมุฏฐาน 4 2. ม. มู. เล่มที่ 12 430/461