เมนู

อธิบายนีวรณโคจฉกะ


ว่าด้วยถีนมิทธนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในถีนมิทธนิทเทสแห่งนีวรณโคจฉกะ ต่อไป.
บทว่า จิตฺตสฺส อกลฺยตา (ความไม่สมประกอบแห่งจิต) คือภาวะ
แห่งคนป่วยไข้. จริงอยู่ คนป่วยไข้ ตรัสเรียกว่า อกลฺยโก (ผู้มีสุขภาพไม่ดี)
แม้ในวินัยก็กล่าวไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถ ดังนี้.
บทว่า อกมฺมญฺญตา (ความไม่ควรแก่การงาน) ได้แก่ อาการ
แห่งความไม่ควรแก่การงานคือความเป็นไข้แห่งจิต. บทว่า โอลียนา (ความ
ท้อแท้) ได้แก่ อาการที่ท้อถอย. จริงอยู่ จิตที่ยังอิริยาบถให้เกิดขึ้น เมื่อ
ไม่อาจเพื่อให้อิริยาบถทรงอยู่ ย่อมท้อแท้ ดุจค้างคาวเล็กห้อยอยู่บนต้นไม้
ย่อมท้อถอยดุจหม้อน้ำดื่มห้อยไว้ที่เสาเขื่อนฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ความท้อแท้ ดังนี้ ทรงหมายถึงอาการนั้นของจิตนั้น. บทที่ 2 (สลฺลียนา
ความถดถ้อย) ทรงเพิ่มด้วยอำนาจบทอุปสรรค.
บทว่า ลีนํ (ความหดหู่) ได้แก่ ขดงอแล้ว เพราะความไม่แผ่ออกไป.
บททั้ง 2 นอกนี้ (คือ ลียนา ลียิตตฺตํ อาการที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่)
เป็นบทแสดงถึงอาการและภาวะของจิตนั้น.
บทว่า ถีนํ (ความซบเซา) ความว่า ที่ชื่อว่า ถีนะ โดยความ
เป็นแท่ง เพราะไม่แผ่ไปเหมือนก้อนเนยใส. บทว่า ถียนา (อาการที่ซบเซา)
เป็นการแสดงอาการของจิต ภาวะแห่งอาการที่จิตซบเซาแล้ว ชื่อว่า ถียิตตฺตํ
(ความซบเซา) อธิบายว่า ความที่จิตเป็นธรรมชาติกระด้างด้วยสามารถแห่ง
การไม่แผ่ออกไปนั้นเทียว.