เมนู

โอฆ-โยคโคจฉกะ


[747] ธรรมเป็นโอฆะ เป็นไฉน ? ฯลฯ
ธรรมเป็นโยคะ เป็นไฉน ? ฯลฯ
โอฆ-โยคโคจฉกะ จบ

ว่าด้วยนิทเทสคัณฐโคจฉกะ


พึงทราบวินิจฉัยคัณฐโคจฉกะ ต่อไป.
สภาวธรรมที่ชื่อว่า กายคัณฐะ เพราะอรรถว่า ย่อมผูกนามกาย
คือย่อมยังนามกายให้สืบต่อในวัฏฏะด้วยอำนาจแห่งการปฏิสนธิ. กายคัณฐะใด
ที่ปฏิเสธแม้คำภาษิตของพระสัพพัญญู ย่อมยึดมั่นโดยอาการนี้ว่า โลกเที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไร้ประโยชน์ (เป็นโมฆะ) เพราะฉะนั้น กายคัณฐะนั้น
จึงชื่อว่า อิทังสัจจาภินิเวสะ ก็เพราะความแตกต่างกันแห่งอภิชฌาและ
กามราคะมีอยู่ ฉะนั้น ในการจำแนกบทอภิชฌากายคัณฐะ จึงไม่ตรัสว่า กาม-
ฉันทะ (ความพอใจในกาม) กามราคะ (ความกำหนัดในกาม) ในกามทั้งหลาย
อันใด ดังนี้ ตรัสว่า ราคะ (ความกำหนัด ) สาราคะ (ความกำหนัดหนัก)
เป็นต้น ด้วยพุทธพจน์นี้ คำใดที่กล่าวไว้ในภายหลังว่า ฉันทราคะ (ความ
กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) ในวิมานเป็นต้นของพวกพรหม ไม่เป็นกามาสวะ
เพ่งถึงคัณฐะแล้วอภิชฌาก็ชื่อว่า กายคัณฐ (อภิชฌากายคัณฐะ) ดังนี้ คำนั้น
บัณฑิตพึงทราบว่า ข้าพเจ้ากล่าวไว้ดีแล้ว. แม้ในกิเลสโคจฉกะข้างหน้าก็นัย
นี้แหละ.

คำว่า ฐเปตฺวา สีลพฺพตปรามาสํ (เว้นสีลัพพตปรามาส) นี้
ความว่า เพราะสีลัพพตปรามาสไม่ยึดถือโดยอาการมีอาทิว่า นี้เท่านั้นจริง ดังนี้
แต่ย่อมยึดถืออย่างนี้ว่า มีความบริสุทธิ์ได้ด้วยศีล ดังนี้ ฉะนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเมื่อทรงคัดค้านสีลัพพตปรามาสอันเป็นมิจฉาทิฏฐินั้นจึงตรัสว่าเว้น.

นีวรณโคจฉกะ


[748] ธรรมเป็นนิวรณ์ เป็นไฉน ?
นิวรณ์ 6 คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์.
[749] บรรดานิวรณ์ 6 นั้น กามฉันทนิวรณ์ เป็นไฉน ?
ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลิน
คือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความ
ใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย
อันใด นี้เรียกว่า กามฉันทนิวรณ์.
[750] พยาปาทนิวรณ์ เป็นไฉน ?
อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา
อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิด
ได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า
ผู้นี้ไค้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสีย
แก่คนที่รักที่ชอบพอของเรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความ
เจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก