เมนู

โอฆ-โยคโคจฉกะ


[747] ธรรมเป็นโอฆะ เป็นไฉน ? ฯลฯ
ธรรมเป็นโยคะ เป็นไฉน ? ฯลฯ
โอฆ-โยคโคจฉกะ จบ

ว่าด้วยนิทเทสคัณฐโคจฉกะ


พึงทราบวินิจฉัยคัณฐโคจฉกะ ต่อไป.
สภาวธรรมที่ชื่อว่า กายคัณฐะ เพราะอรรถว่า ย่อมผูกนามกาย
คือย่อมยังนามกายให้สืบต่อในวัฏฏะด้วยอำนาจแห่งการปฏิสนธิ. กายคัณฐะใด
ที่ปฏิเสธแม้คำภาษิตของพระสัพพัญญู ย่อมยึดมั่นโดยอาการนี้ว่า โลกเที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไร้ประโยชน์ (เป็นโมฆะ) เพราะฉะนั้น กายคัณฐะนั้น
จึงชื่อว่า อิทังสัจจาภินิเวสะ ก็เพราะความแตกต่างกันแห่งอภิชฌาและ
กามราคะมีอยู่ ฉะนั้น ในการจำแนกบทอภิชฌากายคัณฐะ จึงไม่ตรัสว่า กาม-
ฉันทะ (ความพอใจในกาม) กามราคะ (ความกำหนัดในกาม) ในกามทั้งหลาย
อันใด ดังนี้ ตรัสว่า ราคะ (ความกำหนัด ) สาราคะ (ความกำหนัดหนัก)
เป็นต้น ด้วยพุทธพจน์นี้ คำใดที่กล่าวไว้ในภายหลังว่า ฉันทราคะ (ความ
กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) ในวิมานเป็นต้นของพวกพรหม ไม่เป็นกามาสวะ
เพ่งถึงคัณฐะแล้วอภิชฌาก็ชื่อว่า กายคัณฐ (อภิชฌากายคัณฐะ) ดังนี้ คำนั้น
บัณฑิตพึงทราบว่า ข้าพเจ้ากล่าวไว้ดีแล้ว. แม้ในกิเลสโคจฉกะข้างหน้าก็นัย
นี้แหละ.