เมนู

ก็สังโยชน์เหล่านี้ ควรนำมาแสดง โดยลำดับกิเลสบ้าง โดยลำดับ
มรรคบ้าง
ว่าโดยลำดับกิเลส กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์อันอนาคา-
มิมรรคย่อมประหาณ มานสังโยชน์อันอรหัตมรรคย่อมประหาณ ทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสอันโสดาปัตติมรรคย่อมประหาณ ภวราคสังโยชน์
อันอรหัตมรรคย่อมประหาณ อิสสา มัจฉริยะอันโสดาปัตติมรรคย่อมประหาณ
อวิชชาอันอรหัตมรรคย่อมประหาณ. ว่าโดยลำดับแห่งมรรค โสดาปัตติมรรค
ย่อมประหาณทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีสัพพตปรามาส อิสสา และมัจฉริยะ อนาคา-
มรรคย่อมประหาณกามราคะและปฏิฆะ อรหัตมรรคย่อมประหาณมานะ
ภวราคะ และอวิชชา ดังนี้แล.

คันถโคจฉกะ


[736] ธรรมเป็นคันถะ เป็นไฉน ?
คันถะ 4 คือ อภิชฌากายคันถะ พยาปาทกายคันถะ สีสัพพตปรามาส-
กายคันถะ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ.
[737] บรรดาคันถะ 4 นั้น อภิชฌากายคันถะ เป็นไฉน ?
ความกำหนัด ความกำหนัดหนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี
ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนัก
แห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่
ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติ
ผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด ธรรมชาติ
อันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือน

เส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง
ปณิธาน ธรรมชาติผู้นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความ
เกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง
ภาวะที่หวัง ความหวังรูป ความหวังสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส
ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร ความหวัง
ชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบยิ่ง
การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ความทะกระซิบ การละโมบ กิริยาที่ละโมบ
ความละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ภาวะที่ใคร่อารมณ์ดี ๆ ความ
กำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ
ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ [คือราคะที่
สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์
เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์
ความปรารถนาวัตถุมีอย่างต่าง ๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิด
แห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ
ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า อภิชฌากายคันถะ.
[738] พยาปาทกายคันถะ เป็นไฉน ?
อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา
อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อม
เกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วย

คิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำ
ความเสื่อมเสียแก่คนที่รักชอบพอของเรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้
ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่
เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันใช่เหตุ
จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง
ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความขุ่นจิต
ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะเช่น
ว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิด
ประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ
ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า
พยาปาทกายคันถะ.
[739] สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็นไฉน ?
ความเห็นว่าความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรตของ
สมณพราหมณ์ในภายนอกแต่ศาสนานี้ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏ
คือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปร
แห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความ
ถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือ
โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาสกายคันถะ.
[740] อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า โลกเที่ยง นี้แหละจริงอย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าโลก
ไม่เที่ยง นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าโลกมีที่สุด นี้แหละจริง
อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าโลกไม่มีที่สุด นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี

ว่าชีพอันนั้นสรีระก็อันนั้น นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าชีพเป็นอื่น
สรีระก็เป็นอื่น นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้า
แต่มรณะนี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่
มรณะ นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็มี ไม่เป็นอยู่
ก็มีเบื้องหน้าแต่มรณะ นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่
ก็ไม่ใช่ ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่มรณะ นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า
ดังนี้ก็ดี ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็น
เป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ
ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิ
เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด
นี้เรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ.
มิจฉาทิฏฐิแม้ทุกอย่าง เว้นสีลัพพตปรามาสกายคันถะ จัดเป็นอิทัง-
สัจจาภินิเวสกายคันถะ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นคันถะ.
[741] ธรรมไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน ?
เว้นคันถธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม
ที่เหลือซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
ไม่เป็นคันถะ.
[742] ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน ?
กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะ ที่เป็น
กามาวจร รูปาวจร อรูปาจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน ?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ.
[743] ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยคันถธรรมเหล่านี้ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ.
ธรรมวิปปยุตจากคันถะ เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากคันถธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมวิปปยุตจากคันถะ.
[744] ธรรมเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน ?
คันถธรรมเหล่านั้นนั่นเอง ชื่อว่า ธรรมเป็นคันถะและเป็นอารมณ์
ของคันถะ.
ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของคันถะโดยคันถธรรมเหล่านั้น เว้น
คันถธรรมเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประ-
เภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่ขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะแต่
ไม่เป็นคันถะ.
[745] ธรรมเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน
สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็นคันถะ และสัมปยุตด้วยคันถะ โดย
อภิชฌากายคันถะ อภิชฌากายคันถะเป็นคันถะ และสัมประยุตด้วยคันถะโดย
สีลัพพตปรามาสกายคันถะ

อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นคันถะ และสัมปยุตด้วยคันถะโดย
อภิชฌากายคันถะ อภิชฌากายคันถะเป็นคันถะ และสัมประยุตด้วยคันถะโดย
อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ.
ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยคันถธรรมเหล่านั้น เว้นคันถธรรมเหล่านั้น
เสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรม
สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ.
[746] ธรรมวิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ
เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากคันถธรรมเหล่านั้น คือกุศลธรรม อกุศล
ธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูป-
วจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ.
ธรรมวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน ?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ.
คันถโคจฉกะ จบ

โอฆ-โยคโคจฉกะ


[747] ธรรมเป็นโอฆะ เป็นไฉน ? ฯลฯ
ธรรมเป็นโยคะ เป็นไฉน ? ฯลฯ
โอฆ-โยคโคจฉกะ จบ

ว่าด้วยนิทเทสคัณฐโคจฉกะ


พึงทราบวินิจฉัยคัณฐโคจฉกะ ต่อไป.
สภาวธรรมที่ชื่อว่า กายคัณฐะ เพราะอรรถว่า ย่อมผูกนามกาย
คือย่อมยังนามกายให้สืบต่อในวัฏฏะด้วยอำนาจแห่งการปฏิสนธิ. กายคัณฐะใด
ที่ปฏิเสธแม้คำภาษิตของพระสัพพัญญู ย่อมยึดมั่นโดยอาการนี้ว่า โลกเที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไร้ประโยชน์ (เป็นโมฆะ) เพราะฉะนั้น กายคัณฐะนั้น
จึงชื่อว่า อิทังสัจจาภินิเวสะ ก็เพราะความแตกต่างกันแห่งอภิชฌาและ
กามราคะมีอยู่ ฉะนั้น ในการจำแนกบทอภิชฌากายคัณฐะ จึงไม่ตรัสว่า กาม-
ฉันทะ (ความพอใจในกาม) กามราคะ (ความกำหนัดในกาม) ในกามทั้งหลาย
อันใด ดังนี้ ตรัสว่า ราคะ (ความกำหนัด ) สาราคะ (ความกำหนัดหนัก)
เป็นต้น ด้วยพุทธพจน์นี้ คำใดที่กล่าวไว้ในภายหลังว่า ฉันทราคะ (ความ
กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) ในวิมานเป็นต้นของพวกพรหม ไม่เป็นกามาสวะ
เพ่งถึงคัณฐะแล้วอภิชฌาก็ชื่อว่า กายคัณฐ (อภิชฌากายคัณฐะ) ดังนี้ คำนั้น
บัณฑิตพึงทราบว่า ข้าพเจ้ากล่าวไว้ดีแล้ว. แม้ในกิเลสโคจฉกะข้างหน้าก็นัย
นี้แหละ.