เมนู

ก็สังโยชน์เหล่านี้ ควรนำมาแสดง โดยลำดับกิเลสบ้าง โดยลำดับ
มรรคบ้าง
ว่าโดยลำดับกิเลส กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์อันอนาคา-
มิมรรคย่อมประหาณ มานสังโยชน์อันอรหัตมรรคย่อมประหาณ ทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสอันโสดาปัตติมรรคย่อมประหาณ ภวราคสังโยชน์
อันอรหัตมรรคย่อมประหาณ อิสสา มัจฉริยะอันโสดาปัตติมรรคย่อมประหาณ
อวิชชาอันอรหัตมรรคย่อมประหาณ. ว่าโดยลำดับแห่งมรรค โสดาปัตติมรรค
ย่อมประหาณทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีสัพพตปรามาส อิสสา และมัจฉริยะ อนาคา-
มรรคย่อมประหาณกามราคะและปฏิฆะ อรหัตมรรคย่อมประหาณมานะ
ภวราคะ และอวิชชา ดังนี้แล.

คันถโคจฉกะ


[736] ธรรมเป็นคันถะ เป็นไฉน ?
คันถะ 4 คือ อภิชฌากายคันถะ พยาปาทกายคันถะ สีสัพพตปรามาส-
กายคันถะ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ.
[737] บรรดาคันถะ 4 นั้น อภิชฌากายคันถะ เป็นไฉน ?
ความกำหนัด ความกำหนัดหนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี
ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนัก
แห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่
ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติ
ผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด ธรรมชาติ
อันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือน