เมนู

จักเสื่อมจากสมบัตินี้เป็นคนกำพร้าเที่ยวไป เมื่อบุคคลคนนั้นเสื่อมจากสมบัติ
นั้นด้วยเหตุอย่างหนึ่ง ก็ชอบใจ.
แม้บรรพชิตรูปหนึ่งผู้มีใจริษยา เห็นบรรพชิตรูปอื่นผู้ถึงพร้อมด้วย
การได้ปัจจัยเป็นต้นอันเกิดขึ้นเพราะอาศัยสุตตปริยัติเป็นต้นของตนก็คิดแต่ว่า
เมื่อไรหนอ ท่านรูปนี้จักเสื่อมจากลาภเหล่านี้เป็นต้น เมื่อใดเห็นภิกษุรูปนั้น
เสื่อมด้วยเหตุอย่างหนึ่ง เมื่อนั้นก็มีจิตเบิกบาน บัณฑิตพึงทราบว่า การริษยา
มีการขึงเคียดสมบัติของบุคคลอื่นเป็นลักษณะ ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยมัจฉริยนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยมัจฉริยนิทเทส ต่อไป
เพื่อทรงแสดงมัจฉริยะ (ความตระหนี่) โดยวัตถุ จึงตรัสคำมี อาทิว่า
ปญฺจ มจฺฉริยานิ อาวาสมจฺฉริยํ (ความตระหนี่ 5 คือตระหนี่อาวาส)
ดังนี้. ในมัจฉริยะเหล่านั้น ความตระหนี่ในอาวาส ชื่อว่า อาวาสมจฺฉริยํ.
แม้บทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. อารามทั้งสิ้นก็ดี บริเวณอารามก็ดี ห้องน้อย
ก็ดี ที่พักในเวลาราตรีเป็นต้นก็ดี ชื่อว่า อาวาส. พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสนั้น
ย่อมอยู่สบาย ย่อมได้ปัจจัยทั้งหลาย ภิกษุรูปหนึ่งผู้ตระหนี่ย่อมไม่ปรารถนา
ให้ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร ผู้มีศีลเป็นที่รักมาในที่อยู่นั้น แม้มาแล้วก็คิดว่า
ภิกษุนี้จงไปโดยเร็วเถิด นี้เชื่อว่า อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่อาวาส) แต่
ภิกษุผู้ไม่ปรารถนาการอยู่ในที่นั้นของพวกผู้ก่อการทะเลาะเป็นต้น ไม่ชื่อว่า
อาวาสมัจฉริยะ (นี้เป็นความตระหนี่ข้อที่ 1).
บทว่า กุลํ (ตระกูล) ได้แก่ ตระกูลอุปัฏฐากบ้าง ตระกูลญาติ
บ้าง เมื่อภิกษุไม่ปรารถนาให้ภิกษุอื่นเข้าไปสู่ตระกูลนั้น ย่อมเป็นกุลมัจฉริยะ
(ตระหนี่ตระกูล) แต่ภิกษุไม่ปรารถนาให้บุคคลลามกเข้าไปในตระกูลนั้น ไม่

ชื่อว่ามัจฉริยะ เพราะคนผู้ลามกนั้นย่อมปฏิบัติ เพื่อทำลายความเลื่อมใสของ
ตระกูลเหล่านั้น แต่ภิกษุผู้สามารถรักษาความเลื่อมใสไว้ได้ ไม่ปรารถนาให้
ภิกษุนั้นเข้าไปในตระกูลนั้น จึงชื่อว่า มัจฉริยะ (นี้เป็นความตระหนี่ข้อที่ 2).
บทว่า ลาโภ (ลาภ) ได้แก่ การได้ปัจจัย 4 เมื่อภิกษุผู้มีศีลรูป
อื่นได้อยู่ซึ่งปัจจัย 4 นั้นนั่นแหละ ภิกษุผู้ตระหนี่คิดอยู่ว่า ขอจงอย่าได้ ดัง
นี้ ย่อมเป็น ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ) แต่ภิกษุใดยังศรัทธาไทย (ของ
ที่ถวายด้วยศรัทธา) ให้ตกไปก็ดี ย่อมทำปัจจัยที่ได้มาให้เสียหายด้วยสามารถ
แห่งการไม่บริโภคหรือบริโภคไม่ดีเป็นต้นก็ดี ไม่ให้วัตถุแม้จะถึงความบูดเน่า
แก่ภิกษุอื่นก็ดี ภิกษุผู้ตระหนี่เห็นภิกษุนั้นแล้ว คิดอยู่ว่า ถ้าภิกษุรูปนี้ไม่ได้
ปัจจัยนี้ ภิกษุอื่นผู้มีศีลพึงได้ พึงบริโภค ดังนี้ ไม่ชื่อว่า มัจฉริยะ (นี้เป็น
ความตระหนี่ข้อที่ 3).
สรีวรรณะ (ผิวพรรณแห่งสรีระ) ก็ดี คุณวรรณะ (การสรรเสริญ
คุณความดี) ก็ดี ชื่อว่า วรรณะ ในวรรณะทั้ง 2 นั้น บุคคลผู้ตระหนี่
สรีรวรรณะ เมื่อมีคนพูดว่า บุคคลอื่นน่าเลื่อมใส มีรูปงาม ดังนี้ ไม่ปรารถนา
จะกล่าวถึงบุคคลนั้น. บุคคลผู้ตระหนี่คุณวรรณะ (คือการสรรเสริญคุณความ
ดี) ย่อมไม่ปรารถนาจะกล่าวชมคุณความดีของผู้อื่นด้วยศีล ด้วยธุดงค์ ด้วย
ปฏิปทา ด้วยอาจาระ (นี้เป็นวรรณมัจฉริยะข้อที่ 4).
บทว่า ธมฺโม (ธรรม) ได้แก่ ปริยัติธรรมและปฏิเวธธรรม. ใน
ธรรมทั้ง 2 นั้น พระอริยสาวกทั้งหลายย่อมไม่ตระหนี่ปฏิเวธธรรม ย่อม
ปรารถนาการแทงตลอดแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลกในธรรมอันตนแทงตลอดแล้ว
คือย่อมปรารถนาว่า ขอสัตว์เหล่าอื่นจงรู้การแทงตลอดธรรมนั้น ก็ขึ้นชื่อว่า
ธรรมมัจฉริยะ (ความตระหนี่ธรรม) ย่อมมีในตันติธรรม * (ธรรมที่เป็น
* ตันติธรรม คือ ธรรมและวินัย

คัมภีร์) เท่านั้น บุคคลผู้ประกอบตันติธรรมนั้น ย่อมรู้คัมภีร์อันลี้ลับ หรือ
กถามรรคอันใด ไม่ประสงค์จะให้คนอื่นรู้คัมภีร์ หรือกถามรรคนั้น แต่ว่า
บุคคลใดใคร่ครวญถึงบุคคล หรือใคร่ครวญธรรมด้วยการประคองธรรม ไม่
ให้ด้วยการประคองบุคคล ภิกษุนี้ไม่ชื่อว่า ธรรมมัจฉริยะ.
ในข้อนี้ บุคคลบางคนเป็นคนเหลาะแหละ (โลโล) บางคราวเป็นสมณะ
บางคราวเป็นพราหมณ์ บางคราวเป็นคฤหัสถ์ ก็ภิกษุใดไม่ให้ด้วยคิดว่า บุคคล
นี้จักทำลายตันติธรรมอันละเอียดสุขเป็นธรรมอันยิ่งเป็นประเพณีสืบต่อกันมา
ให้สับสน ภิกษุนี้ใคร่ครวญถึงบุคคลแล้ว ชื่อว่า ย่อมไม่ให้เพราะประคอง
ธรรมไว้
ส่วนภิกษุใด ย่อมไม่ให้ด้วยคิดว่า ธรรมนี้ละเอียดสุขุม ถ้าบุคคล
นี้จักเรียนเอา จักพยากรณ์อรหัตผล จักแสดงตนให้ถึงความพินาศ ภิกษุนี้
ใคร่ครวญธรรมแล้ว ชื่อว่า ย่อมไม่ให้ด้วยการประคองบุคคล แต่บุคคลใด
ย่อมไม่ให้ด้วยคิดว่า ถ้าบุคคลนี้ เรียนธรรมนี้ จักสามารถทำลายลัทธิ (สมยํ)
ของพวกเรา ดังนี้ บุคคลนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ตระหนี่ธรรม (นี้เป็นธรรม
มัจฉริยข้อที่ 5).
บรรดามัจฉริยะ 5 เหล่านี้ ว่าด้วยอาวาสมัจฉริยะก่อน บุคคลเกิด
เป็นยักษ์ หรือเป็นเปรต แล้วจะเอาศีรษะเทินหยากเยื่อของที่อยู่นั้นแลเที่ยวไป.
ว่าด้วยกุลมัจฉริยะ เมื่อตระกูลนั้นทำทาน และนับถือบุคคลเหล่าอื่น เมื่อ
เขาเห็นก็คิดอยู่ว่า ตระกูลนี้ของเราแตกแล้วหนอ โลหิตจะพุ่งออกจากปาก
มีการถ่ายท้องบ้าง ไส้ใหญ่ทั้งหลายก็จะเป็นท่อนเล็กท่อนน้อยออกมาบ้าง. ว่า
ด้วยลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ในลาภอันเป็นของสงฆ์ หรือคณะ หรือบุคคล
บริโภค เป็นดุจเครื่องใช้ของบุคคล ย่อมเกิดเป็นยักษ์ หรือเปรต หรืองูเหลือม
ใหญ่. ว่าด้วยสรีรวรรณคุณมัจฉริยะ และปริยัติธรรมมัจฉริยะ บุคคล

ย่อมสรรเสริญวรรณะของตน ไม่สรรเสริญวรรณะของผู้อื่น เมื่อจะกล่าวโทษ
ด้วยคำว่า นี้วรรณะอะไร ? ดังนี้ เมื่อไม่ให้ปริยัติธรรมอะไร ๆ แก่ใคร ๆ
ย่อมเป็นผู้มีพรรณทราม และจะเป็นบ้าน้ำลาย.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมถูกไฟไหม้ ในเรือนโลหะด้วยความตระหนี่
อาวาส ย่อมเป็นผู้มีลาภน้อยด้วยความตระหนี่ตระกูล ย่อมเกิดในคูถนรก
ด้วยความตระหนี่ลาภ บุคคลเมื่อเกิดทุก ๆ ภพย่อมไม่มีผิวพรรณดี ด้วยการ
ตระหนี่วรรณะ ย่อมเกิดในกุกกุลนรก ด้วยการตระหนี่ธรรม.
ที่ชื่อว่า มจฺเฉรํ (ความตระหนี่) ด้วยสามารถการเห็นแก่ตัว อาการ
แห่งความตระหนี่ ชื่อว่า มจฺฉรายนา (กิริยาที่ตระหนี่) ภาวะแห่งจิตที่ถูก
ความตระหนี่ให้เป็นไปแล้ว พรั่งพร้อมด้วยความตระหนี่ ชื่อว่า มจฺฉรายิ-
ตตฺตํ
(ความตระหนี่). บุคคลที่ชื่อว่า วิวิจฺโฉ (ผู้หวงแหน) เพราะอรรถว่า
ปรารภนาสมบัติทั้งหมดของตนไม่ให้เสื่อมสูญไป ด้วยคิดว่า ขอสมบัติทั้งปวง
จงมีแก่เราเท่านั้น จงอย่ามีแก่คนอื่น ดังนี้. ภาวะแห่งบุคคลผู้หวงแหน ชื่อว่า
เววิจฺฉํ (ความหวงแหน) คำว่า ความหวงแหน นี้ เป็นชื่อของความ
ตระหนี่อย่างอ่อน.
บุคคลผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ตรัสว่า กทริโย (ผู้เห็นแก่ตัว) ภาวะแห่งบุคคล
ผู้เห็นแก่ตัวนั้น เรียกว่า กทริยํ (ความเหนียวแน่น) คำว่า ความเหนียวแน่น
นี้เป็นชื่อของความตระหนี่กล้าแข็ง เพราะบุคคลผู้ประกอบด้วยความตระหนี่นั้น
ย่อมห้ามแม้บุคคลอื่นผู้ให้แก่บุคคลเหล่าอื่น ข้อนี้สมด้วยพระบาลีที่ตรัสไว้
ในสังยุตตนิกายสคาถวรรคว่า*
กทริโย ปาปสํกปฺโป มิจฺฉาทิฏฐิ อนาทโร
ททมานํ นิวาเรติ ยาจมานาน โภชนํ

* สํ. สคาถวคฺค. เล่ม 15 398/139

บุคคลผู้เหนี่ยวแน่น มีความดำริชั่ว
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ ย่อมห้าม
คนที่กำลังจะให้โภชนาหารแก่คนทั้งหลายที่
ขออยู่
ดังนี้.
บุคคลใดเห็นยาจกทั้งหลายแล้วให้จิตยับยั้งอยู่ คือให้ทนหดหู่อยู่ด้วย
ความขี้เหนียว เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า กฏกจฺฉโก (ผู้ไม่เอื้อเฟื้อ).
ภาวะแห่งความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อนั้น ชื่อว่า กฏฺกจฺฉกตา (ความไม่เอื้อเฟื้อ).
อีกนัยหนึ่ง บุคคลผู้มีช้อนในมือ ตรัสเรียกว่า กฏจฺฉุกตา ก็บุคคล
เมื่อจะถือเอาข้าวจากหม้อซึ่งเต็มเสมอปากหม้อ ย่อมถือเอาด้วยปลายช้อนอัน
แคบทุกส่วน ก็ไม่อาจเพื่อถือเอาให้เต็ม ฉันใด จิตของบุคคลผู้ตระหนี่ก็ฉันนั้น
ย่อมคับแคบ เมื่อจิตคับแคบ แม้กายก็คับแคบถอยกลับ ย่อมไม่ยื่นให้เพื่อชน
เหล่าอื่น เพราะฉะนั้น ความตระหนี่จึงตรัสเรียกว่า กตกญฺจุกตา (ความ
เป็นคนมีใจแคบเหมือนช้อนเครื่องคดข้าว).
บทว่า อคฺคหิตตฺตํ จิตฺตสฺส (ความไม่เผื่อแผ่แห่งจิต) ได้แก่
การที่จิตกันเอาไว้ โดยประการที่ไม่เหยียดไปโดยอาการมีการให้ทานเป็นต้น
ในการทำอุปการะแก่ชนเหล่าอื่น. ก็เพราะคนตระหนี่ย่อมไม่ปรารถนาจะให้สิ่ง
อันมีอยู่ของตนแก่ชนเหล่าอื่น อยากจะรับแต่ของคนอื่น ฉะนั้น บัณฑิตพึง
ทราบความตระหนี่นั้นมีการซ่อนสมบัติของตนเป็นลักษณะ หรือความตระหนี่
นั้นมีการถือเอาสมบัติของคนอื่นเป็นลักษณะ ด้วยอำนาจแห่งความเป็นไปว่า
ความอัศจรรย์นี้ จงมีแก่เราคนเดียว อย่ามีแก่คนอื่น ดังนี้. คำที่เหลือใน
โคจฉกะนี้ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

ก็สังโยชน์เหล่านี้ ควรนำมาแสดง โดยลำดับกิเลสบ้าง โดยลำดับ
มรรคบ้าง
ว่าโดยลำดับกิเลส กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์อันอนาคา-
มิมรรคย่อมประหาณ มานสังโยชน์อันอรหัตมรรคย่อมประหาณ ทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสอันโสดาปัตติมรรคย่อมประหาณ ภวราคสังโยชน์
อันอรหัตมรรคย่อมประหาณ อิสสา มัจฉริยะอันโสดาปัตติมรรคย่อมประหาณ
อวิชชาอันอรหัตมรรคย่อมประหาณ. ว่าโดยลำดับแห่งมรรค โสดาปัตติมรรค
ย่อมประหาณทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีสัพพตปรามาส อิสสา และมัจฉริยะ อนาคา-
มรรคย่อมประหาณกามราคะและปฏิฆะ อรหัตมรรคย่อมประหาณมานะ
ภวราคะ และอวิชชา ดังนี้แล.

คันถโคจฉกะ


[736] ธรรมเป็นคันถะ เป็นไฉน ?
คันถะ 4 คือ อภิชฌากายคันถะ พยาปาทกายคันถะ สีสัพพตปรามาส-
กายคันถะ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ.
[737] บรรดาคันถะ 4 นั้น อภิชฌากายคันถะ เป็นไฉน ?
ความกำหนัด ความกำหนัดหนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี
ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนัก
แห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่
ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติ
ผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด ธรรมชาติ
อันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือน