เมนู

จักเสื่อมจากสมบัตินี้เป็นคนกำพร้าเที่ยวไป เมื่อบุคคลคนนั้นเสื่อมจากสมบัติ
นั้นด้วยเหตุอย่างหนึ่ง ก็ชอบใจ.
แม้บรรพชิตรูปหนึ่งผู้มีใจริษยา เห็นบรรพชิตรูปอื่นผู้ถึงพร้อมด้วย
การได้ปัจจัยเป็นต้นอันเกิดขึ้นเพราะอาศัยสุตตปริยัติเป็นต้นของตนก็คิดแต่ว่า
เมื่อไรหนอ ท่านรูปนี้จักเสื่อมจากลาภเหล่านี้เป็นต้น เมื่อใดเห็นภิกษุรูปนั้น
เสื่อมด้วยเหตุอย่างหนึ่ง เมื่อนั้นก็มีจิตเบิกบาน บัณฑิตพึงทราบว่า การริษยา
มีการขึงเคียดสมบัติของบุคคลอื่นเป็นลักษณะ ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยมัจฉริยนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยมัจฉริยนิทเทส ต่อไป
เพื่อทรงแสดงมัจฉริยะ (ความตระหนี่) โดยวัตถุ จึงตรัสคำมี อาทิว่า
ปญฺจ มจฺฉริยานิ อาวาสมจฺฉริยํ (ความตระหนี่ 5 คือตระหนี่อาวาส)
ดังนี้. ในมัจฉริยะเหล่านั้น ความตระหนี่ในอาวาส ชื่อว่า อาวาสมจฺฉริยํ.
แม้บทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. อารามทั้งสิ้นก็ดี บริเวณอารามก็ดี ห้องน้อย
ก็ดี ที่พักในเวลาราตรีเป็นต้นก็ดี ชื่อว่า อาวาส. พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสนั้น
ย่อมอยู่สบาย ย่อมได้ปัจจัยทั้งหลาย ภิกษุรูปหนึ่งผู้ตระหนี่ย่อมไม่ปรารถนา
ให้ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร ผู้มีศีลเป็นที่รักมาในที่อยู่นั้น แม้มาแล้วก็คิดว่า
ภิกษุนี้จงไปโดยเร็วเถิด นี้เชื่อว่า อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่อาวาส) แต่
ภิกษุผู้ไม่ปรารถนาการอยู่ในที่นั้นของพวกผู้ก่อการทะเลาะเป็นต้น ไม่ชื่อว่า
อาวาสมัจฉริยะ (นี้เป็นความตระหนี่ข้อที่ 1).
บทว่า กุลํ (ตระกูล) ได้แก่ ตระกูลอุปัฏฐากบ้าง ตระกูลญาติ
บ้าง เมื่อภิกษุไม่ปรารถนาให้ภิกษุอื่นเข้าไปสู่ตระกูลนั้น ย่อมเป็นกุลมัจฉริยะ
(ตระหนี่ตระกูล) แต่ภิกษุไม่ปรารถนาให้บุคคลลามกเข้าไปในตระกูลนั้น ไม่