เมนู

อธิบายสัญโญชนโคจฉกะ


ว่าด้วยมานนิพเทส


พึงทราบวินิจฉัยมานนิทเทสในสัญโญชนโคจฉกะ ต่อไป
บทว่า เสยฺโย หมสฺมีติ มาโน* (การถือตัวว่าเราดีกว่าเขา) ได้แก่
มานะอันเกิดขึ้นอย่างนั้นว่า เราดีกว่าเขา โดยความหมายว่าสูงสุด. บทว่า
สทิโส หมสฺมีติ มาโน (การถือตัวว่าเราเสมอกับเขา) ได้แก่ มานะอัน
เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เราเสมอกับเขา โดยความหมายว่า เสมอ ๆ กัน. บทว่า
หีโน หมสฺมีติ มาโน (การถือตัวว่าเราเลวกว่าเขา) ได้แก่ มานะอัน
เกิดอย่างนี้ว่า เราเลวกว่าเขา โดยความหมายว่า ลามกกว่า. มานะทั้ง 3
เหล่านี้ คือ มานะว่าดีกว่าเขา มานะว่าเสมอเขา มานะว่าเลวกว่าเขา ย่อม
เกิดแก่ชน 3 จำพวก ด้วยประการฉะนี้.
จริงอยู่ มานะ 3 คือ มีความสำคัญตนว่า เราดีกว่าเขา เสมอเขา
เลวกว่าเขา ย่อมเกิดแก่คนที่ดีกว่าเขาบ้าง แก่คนที่เสมอเขาบ้าง แก่คนที่เลว
กว่าเขาบ้าง.
บรรดามานะ 3 อย่างนั้น แม้มานะว่าเราดีกว่าเขาของบุคคลผู้ดีกว่า
เขาเป็นมานะตามความเป็นจริง มานะ 2 นอกนี้มิใช่มานะตามความเป็นจริง.
มานะว่าเราเสมอเขาของบุคคลผู้เสมอเขา ฯ ล ฯ มานะว่าเราเลวกว่าเขาของ
บุคคลผู้เลวกว่าเขา เป็นมานะตามความเป็นจริง มานะ 2 นอกนี้มิใช่มานะตาม
ความเป็นจริง.
ด้วยคำที่กล่าวมานี้ ตรัสไว้อย่างไร ?
ตรัสไว้ว่า มานะ 3 ย่อมเกิดแก่บุคคลคนเดียวได้.
* อภิ. วิ. เล่ม 35. 883/476

แต่ในนิทเทสมานะข้อที่หนึ่งในขุททกวัตถุวิภังค์ ตรัสว่า มานะหนึ่ง
ย่อมเกิดแก่ชนทั้ง 3. ที่ชื่อว่า มานะ (ความถือตัว) ด้วยอำนาจการทำความ
ถือตัว.
บทว่า มญฺญนา มญฺญิตตฺตํ (กิริยาที่ถือตัว ความถือตัว) นี้เป็น
การชี้แจงถึงอาการและภาวะ ที่ชื่อว่า อุณฺณติ การยกตน) โดยความหมายว่า
เทิดทูน. ที่ชื่อว่า อุณฺณาโม (การเชิดชูตน) เพราะอรรถว่า นานะย่อมยัง
บุคคลผู้เกิดมานะให้พอง คือยกให้ตั้งขึ้น ที่ชื่อว่าธโช (ดุจธง) โดยความ
หมายว่าเชิดชูขึ้นแล้ว. ที่ชื่อว่า สมฺปคฺคาโห (การยกจิตขึ้น) เพราะอรรถว่า
ย่อมประคับประคองจิตโดยความหมายว่า การยกขึ้น. บรรดาธงทั้งหลายมาก
ธงที่ยกขึ้นสูง ตรัสเรียกว่า เกตุ (ธง) เพราะว่ามานะเมื่อเกิดบ่อย ๆ เพราะ
อาศัยมานะต่อ ๆ มาก็เป็นเหมือนธง เพราะอรรถว่ายกขึ้นไว้สูง เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า เหมือนธง. จิตใดย่อมต้องการมานะเหมือนธง เพราะฉะนั้น จิต
นั้นจึงชื่อว่า เกตุกมฺยํ (ปรารถนาดุจธง) ภาวะแห่งเกตุกัมยะนั้น ชื่อว่า
เกตุกมฺยตา (ความที่จิตต้องการดุจธง) ก็ความที่จิตต้องการดุจธงนั้นเป็น
ของจิต มิใช่เป็นของอัตตา ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เกตุกมฺยตา จิตฺตสฺส
(ความที่จิตต้องการดุจธง) อธิบายว่า จิตสัมปยุตด้วยมานะย่อมปรารถนาดุจธง
และภาวะแห่งจิตนั้น ชื่อว่า เกตุกมฺยตา คือ มานะที่นับว่าเป็นดุจธง.

ว่าด้วยอิสสานิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในอิสสานิทเทส ต่อไป
คำว่า ยา ปรลาภสกฺการ ครุการ มานน วนฺทนปูชนาทีสุ อิสฺสา
(การริษยาในลาภสักการะ ในการทำความเคารพ ในการนับถือ ในการไหว้