เมนู

ก็เพ่งถึงเหตุโคจฉกะแล้ว โลภะชื่อว่าเป็นเหตุ. เพ่งถึงคัณฐโคจฉกะ
แล้ว โลภะชื่อว่าอภิชฌากายคัณฐะ เพ่งถึงกิเลสโคจฉกะแล้ว โลภะชื่อว่าเป็น
กิเลส.
ถามว่า ก็ราคะเกิดพร้อมกับทิฏฐิ เป็นกามาสวะหรือไม่ ? ตอบว่า
ไม่เป็น ธรรมนี้ชื่อว่า ทิฏฐิราคะ ข้อนี้สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ขึ้น
ชื่อว่า ทานที่บุคคลให้ในบุรุษบุคคลผู้ยังยินดีด้วยทิฏฐิราคะ ย่อมไม่มีผลมาก
ไม่มีอานิสงส์มาก ดังนี้.
ก็อาสวะเหล่านี้ ควรนำมาตามลำดับกิเลสบ้าง ตามลำดับแห่งมรรค
บ้าง ว่าโดยลำดับแห่งกิเลส อนาคามิมรรคย่อมละกามาสวะ อรหัตมรรค
ย่อมละภวาสวะ โสดาปัตติมรรคย่อมละทิฏฐาสวะ อรหัตมรรคย่อมละอวิชชา-
สวะ. ว่าโดยลำดับแห่งมรรค โสดาปัตติมรรคละทิฏฐาสวะ อนาคามิมรรค
ละกามาสวะ อรหัตมรรคละภวาสวะและอวิชชาสวะ ดังนี้.

สัญโญชนโคจฉกะ


[719] ธรรมเป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
สัญโญชน์ 10 คือ กามราคสัญโญชน์ ปฏิฆสัญโญชน์ มานสัญโญชน์
ทิฏฐิสัญโญชน์ วิจิกิจฉาสัญโญชน์ สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ ภวราคสัญโญชน์
อิสสาสัญโญชน์ มัจฉริยสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์.
[720] บรรดาสัญโญชน์ 10 นั้น กามราคสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
ความพอใจต่อความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลิน
คือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือ

ความใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกหมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย
อันใด นี้เรียกว่า กามราคสัญโญชน์.
[721] ปฏิฆสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา
อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อม
เกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา, อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วย
คิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความ
เสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักชอบพอของเรา. อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้
ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรือ อาฆาตย่อมเกิดขึ้นในฐานะอันใช่เหตุ
จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง
ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิด
ประทุษร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ
ความโกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิด
ประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาคิดปองร้าย ความคิด
ปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่น
แห่งจิต นี้เรียกว่า ปฏิฆสัญโญชน์.
[722] มานสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
การถือตัว ว่าเราดีกว่าเขา ว่าเราเสมอกับเขา ว่าเราเลวกว่าเขา
การถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความถือตัว มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ]
การยกตน การเทอดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกจิตขึ้น ความที่จิตต้องการ
เป็นดุจธง นี้เรียกว่า มานสัญโญชน์.

[723] ทิฏฐิสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
ความเห็นว่าโลกเที่ยงก็ดี ว่าโลกไม่เที่ยงก็ดี ว่าโลกมีที่สุดก็ดี ว่าโลก
ไม่มีที่สุดก็ดี ว่าชีพอันนั้นสรีระก็อันนั้นก็ดี ว่าชีพเป็นอื่นสรีระก็เป็นอื่นก็ดี
ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี
ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็มีไม่เป็นอยู่ก็มีเบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็ไม่ใช่
ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏ
คือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปร
แห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความ
ถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือ
โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐิสัญโญชน์
ความเห็นผิดแม้ทุกอย่าง เว้นสีลัพพตาปรามาสสัญโญชน์เสียจัดเป็น
ทิฏฐิสัญโญชน์.
[724] วิจิกิจฉาสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา
ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุป-
ปาทธรรมที่ว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น การเคลือบแคลง
กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่าง ๆ นานา ความ
ตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง
ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป
ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้าง
แห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉาสัญโญชน์.

[725] สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรต
ของสมณพราหมณ์ในภายนอกแต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ
ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปร
แห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด
ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดย
วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์.
[726] ภวราคสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ
ตัณหาในภพ สิเนหาในภพ ความเร่าร้อนในภพ ความสยบในภพ ความ
หมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า ภวราคสัญโญชน์.
[727] อิสสาสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
การริษยา กิริยาที่ริษยา ความริษยา การเกลียดกัน กิริยาที่เกียดกัน
ความเกียดกันในลาภสักการ การทำความเคารพ การนับถือ การไหว้ การบูชา
ของคนอื่น อันใด นี้เรียกว่า อิสสาสัญโญชน์.
[728] มัจฉริยสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
ความตระหนี่ 5 คือ ตระหนี่อาวาส ตระหนี่ตระกูล ตระหนี่ลาภ
ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม, การตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ความตระหนี่
ความหวงแหน ความเหนียวแน่น ความไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เผื่อแผ่ แห่งจิต
มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า มัจฉริยสัญโญชน์.
[729] อวิชชาสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ
ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วน

อนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุป-
บาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความ
ไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความจริง ความ
ไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความ
ไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์แจ้ง ความทรามปัญญา
ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา
โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา
ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชาสัญโญชน์.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์.
[730] ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
เว้นสัญโญชน์ธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากต-
ธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์.
[731] ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็น
กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.
ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.

[732] ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์.
ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากสัญโญชน์ธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์.
[733] ธรรมเป็นสัญโญชน์และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์
เป็นไฉน ?
สัญโญชนธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ ชื่อว่าธรรมเป็นสัญโญชน์และเป็น
อารมณ์ของสัญโญชน์.
ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์โดยสัญโญชนธรรมเหล่านั้น
เว้นสัญโญชนธรรมเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม
ประเภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่
รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของ
สัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์.
[734] ธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์
เป็นไฉน ?
กามราคสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดย
อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์
โดยกามราคสัญโญชน์

ปฏิฆสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดย
อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์
โดยปฏิฆสัญโญชน์
มานสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตตด้วยสัญโญชน์ โดยอวิชชา
สัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดย
มานสัญโญชน์
ทิฏฐิสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยอวิชชา
สัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดย
ทิฏฐิสัญโญชน์
วิจิกิจฉาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดย
อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์
โดยวิจิกิจฉาสัญโญชน์
สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์
โดยอวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วย
สัญโญชน์โดยสีลัพพตปรามาสสัญโญชน์
ภวราคสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ แสะสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดย
อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์
โดยภวราคสัญโญชน์
อิสสาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยอวิชชา
สัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดย
อิสสาสัญโญชน์

มัจฉริยสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยอวิชชา
สัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดย
มัจฉริยสัญโญชน์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์.
ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ธรรมเหล่านั้นเว้นสัญโญชน-
ธรรมเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาพธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์.
[735] ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์แต่เป็นอารมณ์ของ
สัญโญชน์
เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากสัญโญชนธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาจร รูปาวจร
อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
วิปปยุตจากสัญโญชน์แต่เป็นอารมณ์ของสัญโญชนะ.
ธรรมวิปปยุตจาถสัญโญชน์ และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์
เป็นไฉน ?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.
สัญโญชนโคจฉกะ จบ

อธิบายสัญโญชนโคจฉกะ


ว่าด้วยมานนิพเทส


พึงทราบวินิจฉัยมานนิทเทสในสัญโญชนโคจฉกะ ต่อไป
บทว่า เสยฺโย หมสฺมีติ มาโน* (การถือตัวว่าเราดีกว่าเขา) ได้แก่
มานะอันเกิดขึ้นอย่างนั้นว่า เราดีกว่าเขา โดยความหมายว่าสูงสุด. บทว่า
สทิโส หมสฺมีติ มาโน (การถือตัวว่าเราเสมอกับเขา) ได้แก่ มานะอัน
เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เราเสมอกับเขา โดยความหมายว่า เสมอ ๆ กัน. บทว่า
หีโน หมสฺมีติ มาโน (การถือตัวว่าเราเลวกว่าเขา) ได้แก่ มานะอัน
เกิดอย่างนี้ว่า เราเลวกว่าเขา โดยความหมายว่า ลามกกว่า. มานะทั้ง 3
เหล่านี้ คือ มานะว่าดีกว่าเขา มานะว่าเสมอเขา มานะว่าเลวกว่าเขา ย่อม
เกิดแก่ชน 3 จำพวก ด้วยประการฉะนี้.
จริงอยู่ มานะ 3 คือ มีความสำคัญตนว่า เราดีกว่าเขา เสมอเขา
เลวกว่าเขา ย่อมเกิดแก่คนที่ดีกว่าเขาบ้าง แก่คนที่เสมอเขาบ้าง แก่คนที่เลว
กว่าเขาบ้าง.
บรรดามานะ 3 อย่างนั้น แม้มานะว่าเราดีกว่าเขาของบุคคลผู้ดีกว่า
เขาเป็นมานะตามความเป็นจริง มานะ 2 นอกนี้มิใช่มานะตามความเป็นจริง.
มานะว่าเราเสมอเขาของบุคคลผู้เสมอเขา ฯ ล ฯ มานะว่าเราเลวกว่าเขาของ
บุคคลผู้เลวกว่าเขา เป็นมานะตามความเป็นจริง มานะ 2 นอกนี้มิใช่มานะตาม
ความเป็นจริง.
ด้วยคำที่กล่าวมานี้ ตรัสไว้อย่างไร ?
ตรัสไว้ว่า มานะ 3 ย่อมเกิดแก่บุคคลคนเดียวได้.
* อภิ. วิ. เล่ม 35. 883/476