เมนู

ก็เพ่งถึงเหตุโคจฉกะแล้ว โลภะชื่อว่าเป็นเหตุ. เพ่งถึงคัณฐโคจฉกะ
แล้ว โลภะชื่อว่าอภิชฌากายคัณฐะ เพ่งถึงกิเลสโคจฉกะแล้ว โลภะชื่อว่าเป็น
กิเลส.
ถามว่า ก็ราคะเกิดพร้อมกับทิฏฐิ เป็นกามาสวะหรือไม่ ? ตอบว่า
ไม่เป็น ธรรมนี้ชื่อว่า ทิฏฐิราคะ ข้อนี้สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ขึ้น
ชื่อว่า ทานที่บุคคลให้ในบุรุษบุคคลผู้ยังยินดีด้วยทิฏฐิราคะ ย่อมไม่มีผลมาก
ไม่มีอานิสงส์มาก ดังนี้.
ก็อาสวะเหล่านี้ ควรนำมาตามลำดับกิเลสบ้าง ตามลำดับแห่งมรรค
บ้าง ว่าโดยลำดับแห่งกิเลส อนาคามิมรรคย่อมละกามาสวะ อรหัตมรรค
ย่อมละภวาสวะ โสดาปัตติมรรคย่อมละทิฏฐาสวะ อรหัตมรรคย่อมละอวิชชา-
สวะ. ว่าโดยลำดับแห่งมรรค โสดาปัตติมรรคละทิฏฐาสวะ อนาคามิมรรค
ละกามาสวะ อรหัตมรรคละภวาสวะและอวิชชาสวะ ดังนี้.

สัญโญชนโคจฉกะ


[719] ธรรมเป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
สัญโญชน์ 10 คือ กามราคสัญโญชน์ ปฏิฆสัญโญชน์ มานสัญโญชน์
ทิฏฐิสัญโญชน์ วิจิกิจฉาสัญโญชน์ สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ ภวราคสัญโญชน์
อิสสาสัญโญชน์ มัจฉริยสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์.
[720] บรรดาสัญโญชน์ 10 นั้น กามราคสัญโญชน์ เป็นไฉน ?
ความพอใจต่อความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลิน
คือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือ