เมนู

แต่ว่า กามาวจรทั้งหลาย รูปาวจรทั้งหลาย และโลกุตรธรรมทั้งหลาย
อันอรูปาวจรทั้งหลายไม่พึงรู้ได้เลย ส่วนอรูปาวจรทั้งหลาย อันมโนวิญญาณ
บางดวงพึงรู้ได้ บางดวงก็รู้ไม่ได้ อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่านั้น อันมโนวิญ-
ญาณบางดวงเท่านั้นพึงรู้ได้ บางดวงก็รู้ไม่ได้. ธรรมทั้งหลายมีกามาวจรเป็น
ต้นไม่พึงรู้ได้ด้วยโลกุตรธรรมทั้งหลาย ก็โลกุตรธรรมทั้งหลายอันมโนวิญญาณ
บางดวงพึงรู้ได้ บางดวงก็รู้ไม่ได้ เพราะความที่โลกุตรธรรมเหล่านั้นอัน
พระนิพพานไม่พึงรู้ และโลกุตรธรรมเหล่านั้น พึงรู้ด้วยมโนวิญญาณบางดวง
ไม่พึงรู้ด้วยมโนวิญญาณบางดวง เพราะความที่มรรคและผลทั้งหลาย อันพระ-
นิพพานไม่พึงรู้ ดังนี้.

อาสวโคจฉกะ


[708] ธรรมเป็นอาสวะ เป็นไฉน ?
อาสวะ 4 คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏอาสวะ อวิชชาสวะ.
[709] บรรดาอาสวะ 4 นั้น กามาสวะ เป็นไฉน ?
ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัด คือความใคร่ ความเพลิดเพลิน
คือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความ
ใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย อัน
ใด นี้เรียกว่า กามาสวะ.
[710] ภวาสวะ เป็นไฉน ?
ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ สิเน-
หาในภพ ความเร่าร้อนในภพ ความสยบในภพ ความหมกมุ่นในภพ ในภพ
ทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า ภวาสวะ.

[711] ทิฏฐาสวะ เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า โลกเที่ยงก็ดี ว่าโลกไม่เที่ยงก็ดี ว่าโลกมีที่สุดก็ดี ว่า
โลกไม่มีที่สุดก็ดี ว่าชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นก็ดี ว่าชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็น
อื่นก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่
มรณะก็ดี ว่าสัตว์เป็นอยู่ก็มี ไม่เป็นอยู่ก็มีเบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยัง
เป็นอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ทิฏฐิ ความเห็นไป
ข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ
ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้ง
มั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ
การถือโดยวิปลาสมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐาสวะ.
มิจฉาทิฏฐิ แม้ทั้งหมด จัดเป็นทิฏฐาสวะ.
[712] อวิชชาสวะ เป็นไฉน ?
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ
ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วน
อนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาท-
ธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น
ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทง
ตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ
ความไม่พิจารณา การไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา
ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคือ
อวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปุริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา
อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชาสวะ.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะ.
[713] ธรรมไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน ?
เว้นอาสวธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม
ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ ที่เหลือ คือ เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมไม่เป็นอาสวะ.
[714] ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน ?
กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
เป็นอารมณ์ของอาสวะ.
ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน ?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.
[715] ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยอาสวธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ.
ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากอาสวธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
วิปปยุตจากอาสวะ.

[716] ธรรมเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน ?
อาสวะเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของ
อาสวะ.
ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ในเป็นอาสวะ เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของอาสวะโดยอาสวธรรมเหล่านั้น เว้น
อาสวธรรมเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่
ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็น
อาสวะ.
[717] ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็น
ไฉน ?
กามาสวะ เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะ โดยอวิชชาสวะ
อวิชชาสวะ เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะโดยกามาสวะ
ภวาสวะ เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะโดยอวิชชาสวะ อวิชชาสวะ
เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะโดยภวาสวะ
ทิฏฐาสวะเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะโดยอวิชชาสวะ อวิชชาสวะ
เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะโดยทิฏฐาสวะ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ.
ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยอาสวธรรมเหล่านั้น เว้นอาสวธรรมเหล่า
นั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม-
สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ.

[718] ธรรมวิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นไฉน ?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.
อาสวโคจฉกะ จบ

ว่าด้วยนิทเทสอาสวทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอาสวทุกะ ต่อไป
ราคะประกอบด้วยเบญจกามคุณ ชื่อว่า กามาสวะ ฉันทราคะใน
รูปภพและอรูปภพ ความใคร่ชอบใจอันเป็นไปในฌาน ราคะสหรคตด้วย
สัสสตทิฏฐิ ความปรารถนาด้วยอำนาจแห่งภพ ชื่อว่า ภวาสวะ ทิฏฐิ 62
ชื่อว่า ทิฏฐาสวะ ความไม่รู้ในฐานะ 8 ชื่อว่า อวิชชาสวะ.
ก็เพื่อมิให้หลงใหลในอาสวะทั้งหลายที่ตรัสไว้ในที่นั้น ๆ พึงทราบ
ความต่างกันแห่งอาสวะมีอาสวะหมวดหนึ่งเป็นต้น เพราะเมื่อว่าโดยอรรถ อา-
สวะเหล่านี้มีอย่างเดียวเท่านั้น อย่างนี้คือ ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า เป็น
ของหมักดอง แต่ในพระวินัยตรัสอาสวะ 2 อย่าง คือ เพื่อปิดกั้นอาสวะอัน
เป็นไปในปัจจุบัน เพื่อป้องกันอาสวะอันเป็นไปในสัมปรายิกภพ ดังนี้. ใน
พระสูตร ในสฬายตนะ มีอาสวะ 3 อย่างว่า ดูก่อนอาวุโส อาสวะ 3 เหล่านี้
คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ ดังนี้. ในนิพเพธิกปริยายสูตร
มีอาสวะ 5 อย่าง ที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่เป็นเหตุให้ตกนรก
ก็มี อาสวะเป็นเหตุให้เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานก็มี อาสวะที่ให้ไปสู่ปิตติวิสัยก็มี