เมนู

อย่างเดียว และเป็นธรรมมีเหตุ (สเหตุกะ) ในการเกิดพร้อมกัน 3 เหตุ
หรือ 2 เหตุ. ส่วนโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะเป็นเหตุแต่ไม่มี
เหตุประกอบ. แม้ในนิทเทสแห่งทุกะที่สัมปยุตด้วยเหตุก็นัยนี้แหละ.

ว่าด้วยนิทเทสสังขตทุกะ


ในนิทเทสสังขตทุกะ พระองค์ทรงทำนิทเทสไว้ด้วยอำนาจธรรมเป็น
เอกวจนะว่า โย เอว โส ธมฺโม (ธรรมที่ไม่มีปัจจัยนั้นใดเล่า) ดังนี้ ทรง
หมายเอาอสังขตธาตุตามที่ตรัสไว้ในทุกะแรก แต่ในทุกะแรกนี้ทรงทำเป็น
พหุวจนะไว้โดยนัยปุจฉานุสนธิว่า อิเม ธมฺมา อปฺปจฺจยา (ธรรมเหล่านี้
ไม่มีปัจจัย) ดังนี้ เพราะทรงยกขึ้นถามด้วยอำนาจแห่งบทพหุวจนะ. แม้ใน
บทมีอาทิว่า อิเม ธมฺมา สนิทสฺสนา (สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่
เห็นได้
) ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ว่าด้วยนิทเทสวิญเญยยทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งเกนจิวิญเญยยทุกะ ต่อไป.
บทว่า จกฺขุวิญฺเญยฺยา (ธรรมที่จักขุวิญญาณรู้ได้) ได้แก่ อันจักขุ
วิญญาณพึงรู้แจ้ง. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน อนึ่ง ในนิทเทสนี้ คำว่า
จิตบางดวงรู้ได้ คือในบรรดาจิตทั้งหลายมีจักขุวิญญาณเป็นต้น จักขุวิญญาณ
หรือโสตวิญญาณดวงใดดวงหนึ่งพึงรู้ได้. คำว่า จิตบางดวงรู้ไม่ได้ คือ
จักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณไม่พึงรู้ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่มีทุกะนี้ว่า
เย เต ธมฺมา จกฺขุวิญฺเญยฺยา น เต ธมฺมา โสตวิญฺเญยฺยา (ธรรม
เหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้) ดังนี้ เพราะ