เมนู

เพราะเป็นเหมือนเชือกด้วยอรรถว่าผูกไว้แน่น. เชือกคือตัณหา ชื่อว่า ตณฺหา-
คทฺทุลํ.
สมุทร (ทะเล) คือตัณหาด้วยอรรถว่าให้เต็มได้ยาก เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ตัณหาเหมือนสมุทร.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งโทสะ


พึงทราบวินิจฉัยในโทสนิทเทส ต่อไป.
คำว่า อนตฺถํ เม อจริ (ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา) คือ
ได้กระทำความไม่เจริญแก่เรา. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยอุบายนี้
คำว่า อฏฺฐาเน วา ปน อาฆาโต (หรืออาฆาตอันเกิดขึ้นได้ใน
ฐานะอันมิใช่เหตุ) ได้แก่ความโกรธย่อมเกิดขึ้นในฐานะอันมิใช่เหตุ จริงอยู่
บุคคลบางคนย่อมโกรธในฐานะอันมิใช่เหตุว่า ฝนย่อมตกเกินไป ย่อมโกรธว่า
ฝนไม่ตก ย่อมโกรธว่า พระอาทิตย์ร้อน ย่อมโกรธว่า พระอาทิตย์ไม่ร้อน
เมื่อลมพัดอยู่ก็โกรธ ลมไม่พัดก็โกรธ เมื่อไม่สามารถจะกวาดลานก็โกรธใบ
โพธิ์ทั้งหลาย เมื่อไม่สามารถจะห่มจีวรได้ก็โกรธลมพัด สะดุดหกล้มก็โกรธตอ
ไม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงความโกรธนี้จึงตรัสว่า อฏฺฐาเน วา ปน
อาฆาโต ชายติ
(หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันมิใช่เหตุ) ดังนี้.
บรรดาความโกรธเหล่านั้น ความแตกแห่งกรรมบถย่อมมีเพราะอาฆาตเกิดขึ้น
ปรารภสัตว์ทั้งหลายในฐานะ 9 ข้างต้น แต่อาฆาตในฐานะอันมิใช่เหตุเกิดใน
สังขาร ย่อมไม่ทำการแตกกรรมบถ.
โทสะที่ชื่อว่า จิตอาฆาต เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นยังจิตให้อาฆาตอยู่
ความอาฆาตที่แรงกว่านั้น ชื่อว่า ปฏิฆาโต (ความขัดเคือง). ที่ชื่อว่า ปฏิฆะ
(ความกระทบกระทั่ง) ด้วยอำนาจความหงุดหงิด. ที่ชื่อว่า ปฏิวิโรโธ (ความ
แค้น) เพราะคับแค้นใจ. ที่ชื่อว่า โกโป (ความเคือง) ด้วยอำนาจแห่ง

ความโกรธ. บทว่า ปโกโป สมฺปโกโป (ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน)
ทรงเพิ่มบทด้วนอุปสรรค. ที่ชื่อว่า โทโส (โทสะ) ด้วยอำนาจการประทุษ
ร้าย. บทว่า ปโทโส สมฺปโทโส (ความคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิด
ประทุษร้าย) ทรงเพิ่มบทด้วยอุปสรรค.
คำว่า จิตฺตสฺส พฺยาปตฺติ (ความขุ่นจิต) ความว่า อาการเปลี่ยน
แปลงต่าง ๆ เพราะจิตวิบัติ ชื่อว่า มโนปโทโส (ธรรมชาติประทุษร้ายใจ)
เพราะเกิดขึ้นประทุษร้ายใจ. ที่ชื่อว่า โกโธ (โกรธ) ด้วยสามารถแห่งการ
โกรธ. อาการแห่งการโกรธ ชื่อว่า กุชฺฌนา (กิริยาที่โกรธ). ภาวะแห่งจิต
ที่โกรธ ชื่อว่า กุชฺฌิตตฺตํ (ความโกรธ).
บัดนี้ เพื่อทรงแสดงนัยที่ตรัสไว้ในอกุศลนิทเทส จึงตรัสคำมีอาทิว่า
โทโส ทุสฺสนา (การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย) ดังนี้ เพราะ
ฉะนั้น บัณฑิตพึงทำการประกอบในนิทเทสนี้อย่างนี้ว่า โทสะเห็นปานนี้อันใด
ที่ตรัสไว้ในที่นี้ว่า จิตอาฆาต ฯลฯ ความโกรธ และที่ตรัสไว้แล้วในหนหลังโดย
นัยมีอาทิว่า โทโส ทุสฺสนา (การประทุษร้าย กิริยาที่ประทุษร้าย) นี้เรียกว่า
โทสะ. ด้วยว่า เมื่อมีคำที่กล่าวไว้อย่างนี้ ย่อมเป็นอันท่านกันข้อเสียหายใน
การพูดซ้ำ นิทเทสแห่งโมหะ พึงทราบโดยนัยที่เป็นปฏิปักษ์กับคำที่กล่าวไว้
ในนิทเทสแห่งอโมหะ ก็นิทเทสแห่งโมหะนี้จักมีแจ้งในอรรถกถาแห่งวิภังคปกรถ
โดยอาการทั้งปวง.
คำว่า เตหิ ธมฺเมหิ เย ธมฺมา สเหตุกา (ธรรมเหล่าใดมีเหตุ
โดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น ) ความว่า ธรรมเหล่าใดที่เป็นเหตุก็ดี ไม่เป็นเหตุ
ก็ดี อื่นใด ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สเหตุกา (มีเหตุ) ด้วยเหตุธรรมเหล่านั้น.
แม้ในบทว่า อเหตุกะ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในที่นี้ ธรรมที่เป็นเหตุย่อมเป็นเหตุ

อย่างเดียว และเป็นธรรมมีเหตุ (สเหตุกะ) ในการเกิดพร้อมกัน 3 เหตุ
หรือ 2 เหตุ. ส่วนโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะเป็นเหตุแต่ไม่มี
เหตุประกอบ. แม้ในนิทเทสแห่งทุกะที่สัมปยุตด้วยเหตุก็นัยนี้แหละ.

ว่าด้วยนิทเทสสังขตทุกะ


ในนิทเทสสังขตทุกะ พระองค์ทรงทำนิทเทสไว้ด้วยอำนาจธรรมเป็น
เอกวจนะว่า โย เอว โส ธมฺโม (ธรรมที่ไม่มีปัจจัยนั้นใดเล่า) ดังนี้ ทรง
หมายเอาอสังขตธาตุตามที่ตรัสไว้ในทุกะแรก แต่ในทุกะแรกนี้ทรงทำเป็น
พหุวจนะไว้โดยนัยปุจฉานุสนธิว่า อิเม ธมฺมา อปฺปจฺจยา (ธรรมเหล่านี้
ไม่มีปัจจัย) ดังนี้ เพราะทรงยกขึ้นถามด้วยอำนาจแห่งบทพหุวจนะ. แม้ใน
บทมีอาทิว่า อิเม ธมฺมา สนิทสฺสนา (สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่
เห็นได้
) ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ว่าด้วยนิทเทสวิญเญยยทุกะ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งเกนจิวิญเญยยทุกะ ต่อไป.
บทว่า จกฺขุวิญฺเญยฺยา (ธรรมที่จักขุวิญญาณรู้ได้) ได้แก่ อันจักขุ
วิญญาณพึงรู้แจ้ง. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน อนึ่ง ในนิทเทสนี้ คำว่า
จิตบางดวงรู้ได้ คือในบรรดาจิตทั้งหลายมีจักขุวิญญาณเป็นต้น จักขุวิญญาณ
หรือโสตวิญญาณดวงใดดวงหนึ่งพึงรู้ได้. คำว่า จิตบางดวงรู้ไม่ได้ คือ
จักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณไม่พึงรู้ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่มีทุกะนี้ว่า
เย เต ธมฺมา จกฺขุวิญฺเญยฺยา น เต ธมฺมา โสตวิญฺเญยฺยา (ธรรม
เหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้) ดังนี้ เพราะ