เมนู

อสทฺธทมสวนํ การฟังแต่อสัทธรรม
อกลฺยาณมิตฺตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว
อริยานํ อทสฺสนกามตาทีนิ ความเป็นผู้ไม่ต้องการเห็นพระอริยะ
เป็นต้น.
อโยนิโสมนสิกาโร การทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย.
จริงอยู่ ความเห็นอันนั่น พึงทราบว่า ย่อมเกิดขึ้นด้วยการฟังเว้นจาก
ความใคร่ครวญก้าวล่วงความเป็นกลาง มีมานะหลายอย่างเป็นประธานแห่ง
อสัทธรรมที่ประกอบด้วยวาทะอันผิดเหล่านั้น ด้วยความเป็นผู้มีอกัลยาณมิตร
กล่าวคือความเป็นผู้ซ่องเสพ มิตรชั่วผู้มีทิฏฐิวิบัติเหล่านั้น ด้วยไม่ต้องการเห็น
พระอริยะทั้งหลาย และสัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ด้วยความเป็น
ผู้ไม่ฉลาดในอริยธรรมเเละสัปปุริสธรรมอันต่างด้วยสติปัฏฐาน 4 เป็นต้น
ด้วยความไม่มีวินัยกล่าวคือการแตกแห่งสังวรในอริยธรรม และสัปปุริสธรรม
อันมีปาฏิโมกขสังวร อินทรียสังวร สติสังวร ญาณสังวร และปหานสังวร
ด้วยการกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันไม่แยบคายด้วยเหตุเหล่านั้นนั่นแหละ
อันตนอบรมแล้ว และเพราะความเป็นผู้ขวนขวายในมงคลตื่นข่าวเป็นต้น.
ก็พึงทราบความที่จิตนี้เป็นอสังขาร (ไม่มีการชักจูง) โดยนัยที่กล่าวแล้วใน
หนหลังนั่นแหละ.

ว่าด้วยธัมมุทเทสมีผัสสะเป็นต้น


พึงทราบวินิจฉัยในวาระแห่งธัมมุทเทส (ข้อธรรม) ต่อไป.

บทว่า ผสฺโส ได้แก่ ผัสสะที่เกิดพร้อมกับอกุศลจิต. แม้ในธรรม
มีเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้แหละ ธรรมมีผัสสะเป็นต้นเหล่านี้แตกต่างจากธรรมที่
แสดงไว้ก่อนเพียงเป็นอกุศลเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า จิตฺตสฺเสกคฺคตา โหติ (เอกัคคตาแห่งจิตย่อมมี) ความว่า
เอกัคคตา (สมาธิจิต) ย่อมมี เพราะความไม่ส่งจิตไปอื่นแม้ในปาณาติบาต
เป็นต้น. จริงอยู่ มนุษย์ทั้งหลายตั้งจิตไว้มั่นไม่ซัดส่ายจึงยังศัสตราให้ตก
ไปในสรีระของสัตว์ทั้งหลายไม่ผิดพลาด เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมนำวัตถุอัน
เป็นของมีอยู่ของคนอื่นไป ย่อมประพฤติมิจฉาจารด้วยจิตมีสภาพยินดีอย่างหนึ่ง
เอกัคคตาแห่งจิตย่อมมี แม้ในเพราะประพฤติอกุศล ด้วยประการฉะนี้.
คำว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิ ได้แก่ ความเห็นไม่มีตามความเป็นจริง อีก
อย่างหนึ่ง ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นคลาดเคลื่อนโดยถือเอาผิด.
ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เป็นทิฏฐิอันบัณฑิตเกลียด เพราะนำมา
แต่ความฉิบหายบ้าง. แม้ในมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้คนเห็นผิด หรือเห็นผิดเอง
หรือทิฏฐินี้ เพียงเห็นผิดเท่านั้น.
มิจฉาทิฏฐินั้นมีการยึดถือมั่นโดยอุบายไม่แยบคายเป็นลักษณะ (อโย-
นิโส อภินิเวส ลกฺขณา)
มีความยึดมั่นผิดสภาวะเป็นรส (ปรามาสรสา)
มีความยึดถือผิดเป็นปัจจุปัฏฐาน (มิจฺฉาภินิเวสนปจฺจุฏฺฐานา) มีความ
ไม่ต้องการเห็นพระอริยะทั้งหลายเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน (อริยานํ อทสฺสน-
กามตาทิปทฏฺฐานา)
พึงเห็นว่าเป็นโทษอย่างยิ่ง. แม้ในมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น
มีความต่างกันเพียงบทว่า มิจฺฉา เท่านั้น. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าว
ในอธิการแห่งกุศลนั้นแหละ.

เนื้อความแห่งพละในข้อว่า อหิริกพละ อโนตตัปปพละ นี้
จักแจ่มแจ้งในนิทเทสวาร ส่วนในคำนอกนี้ พึงทราบวจนัตถะดังต่อไปนี้.
บุคคลชื่อว่า อหิริโก เพราะอรรถว่า ย่อมไม่ละอาย. ภาวะแห่งบุคคลผู้ไม่
ละอาย ชื่อว่า อหิริกํ* (ความเป็นผู้ไม่ละอาย). สภาวธรรมที่ไม่ใช่โอตตัปปะ
ชื่อว่า อโนตัปปะ (ความเป็นผู้ไม่กลัว) ในธรรมทั้งสองเหล่านั้น อหิริกะ
มีการไม่รังเกียจกายทุจริตเป็นต้นเป็นลักษณะ. หรือมีความไม่ละอายกายทุจริต
เป็นต้นเป็นลักษณะ (กายทุจฺจริตาทีหิ อชิคุจฺฉนลกฺขณํ อลชฺชนลกฺขณํ
วา).
อโนตตัปปะ มีความไม่กลัวกายทุจริตเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละเป็น
ลักษณะ หรือมีความไม่สะดุ้งกายทุจริตเป็นต้นเหล่านั้นเป็นลักษณะ (เตเหว
อสารชฺชกฺขณํ อนุตฺตาสนลกฺขณํ วา)
. พละคืออหิริกะนั่นแหละ ชื่อว่า
อหิรกพละ. พละคืออโนตตัปปะนั่นแหละ ชื่อว่า อโนตัปปพละ. เนื้อความ
สังเขปในอธิการแห่งอกุศลนี้มีเท่านี้. ส่วนความพิสดารพึงทราบด้วยสามารถ
ความเป็นปฏิปักษ์กันตามที่กล่าวในหนหลังนั่นแหละ.
สภาวธรรมที่ชื่อว่า โลภะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้คนอยากได้
หรืออยากได้เอง หรือเป็นเพียงอยากได้เท่านั้น. ที่ชื่อว่า โมหะ เพราะอรรถว่า
เป็นเหตุให้คนหลง หรือหลงเอง หรือเป็นเพียงความหลงเท่านั้น. บรรดาสภาวะ
ทั้งสองเหล่านั้น โลภะ มีการยึดอารมณ์เป็นลักษณะ (อารมฺมณคฺคหณ-
ลกฺขโณ)
เหมือนลิงติดตัง มีความคิดในอารมณ์เป็นรส (อภิสํครโส)
เหมือนชิ้นเนื้อที่ใส่ในกระเบื้องร้อน มีการไม่สละไปเป็นปัจจุปัฏฐาน (อปริ-
จาคปจฺจุปฏฺฐาโน)
เหมือนเปื้อนสีน้ำมันและยาหยอดตา มีความเห็นชอบ
ใจในธรรมเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นปทัฏฐาน (สญฺโญชนิยธมฺเมสุ
อสฺสาททสฺสนปทฏฺฐาโน)
เมื่อเจริญขึ้นโดยความเป็นแม่น้ำ คือ ตัณหา
* บทนี้เป็น อริริกฺกํ ท่านลบกะอักษรจึงเป็นอหิริกํ.

พึงทราบว่า ย่อมพาไปสู่อบายเท่านั้น เหมือนแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว ย่อม
ไหลพัดพาไปสู่มหาสมุทรฉะนั้น.
โมหะ มีความมืดมนแห่งจิตเป็นลักษณะ หรือมีความไม่รู้เป็นลักษณะ
(จิตฺตสฺส อนฺธภาวลกฺขโณ อญฺญาณลกฺขโน วา) มีความไม่แทงตลอด
เป็นรส (อสมฺปฏิเวธรโส) หรือมีความปกปิดสภาวะแห่งอารมณ์เป็นรส
(อารมมณสภาวจฺฉาทนรโส วา) มีการไม่ปฏิบัติโดยชอบเป็นปัจจุปัฏฐาน
(อสมฺมาปฏิปตฺติปจฺจุปฏฺฐาโน) หรือมีความมืดมนเป็นปัจจุปัฏฐาน
(อนฺธการปจจุปฏฺฐาโน วา) มีการทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคายเป็น
ปทัฏฐาน (อโยนิโสมนสการปทฏฺฐาโน) พึงทราบว่า เป็นมูลของอกุศล
ธรรมทั้งปวง.
สภาวธรรมที่ชื่อว่า อภิชฌา เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้คนเพ่งเฉพาะ
หรือย่อมเพ่งเฉพาะเอง หรือธรรมนี้เป็นเพียงการเพ่งเฉพาะเท่านั้น. อภิชฌา
นั้นมีความปรารถนากระทำสมบัติของผู้อื่นให้เป็นของตนเป็นลักษณะ (ปรสมฺ-
ปตฺตีนํ สกกรณอิจฺฉาลกฺขณา)
มีความเกี่ยวข้องโดยอาการอย่างนั้นเป็นรส
(เตนากาเรน ปสงฺคภาวรสา) มีความมุ่งหมายแต่สมบัติของผู้อื่นเป็น
ปัจจุปัฏฐาน (ปรสมฺปตฺติอภิมุขภาวปจฺจุปฏฺฐานา) มีความยินดียิ่งใน
สมบัติของผู้อื่นเป็นปทัฏฐาน (ปรสมฺปตฺตีสุ อภิรติปทฏฺฐานา). จริงอยู่
อภิชฌานั้นย่อมปรากฏมุ่งหน้าแต่สมบัติของผู้อื่นเท่านั้น ก็เมื่อความยินดียิ่งมีอยู่
อภิชฌานั้นก็ย่อมเป็นไปในสมบัติของผู้อื่น พึงทราบว่า เหมือนจิตเหยียดมือไป
ในสมบัติเหล่านั้น ฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคำเป็นต้นว่า สมถะย่อมมี ต่อไป.

สภาวธรรมที่ชื่อว่า สมถะ เพราะสงบความฟุ้งซ่านในกิจอื่น ๆ
ที่ชื่อว่า ปัคคาหะ เพราะประคองจิตให้เป็นไปในอกุศล. ชื่อว่า อวิกเขปะ
เพราะไม่ซัดส่ายไป. ในอกุศลจิตนี้ ไม่ถือเอาธรรมเหล่านี้คือ ศรัทธา สติ
ปัญญา และธรรม 6 คู่ เพราะเหตุไร ? เพราะขึ้นชื่อว่า ความเลื่อมใสใน
จิตที่ไม่มีศรัทธาหามีได้ไม่ ฉะนั้น เบื้องต้นนี้จึงไม่ถือเอาศรัทธา. ถามว่า
ก็คนมีทิฏฐิทั้งหลายไม่เชื่อศาสดาของตน ๆ หรือ ? ตอบว่า เชื่อ. แต่การ
เชื่อนั้นไม่ชื่อว่าเป็นศรัทธา คำเชื่อนี้เป็นเพียงการรับคำเท่านั้น ว่าโดยอรรถ
ความเชื่อนั้นย่อมเป็นความเชื่อที่ปราศจากความใคร่ครวญบ้าง เป็นทิฏฐิบ้าง.
อนึ่ง สติย่อมไม่มีในอกุศลจิตเพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งสติ เพราะฉะนั้น
พระองค์จึงไม่ถือเอา. ถามว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิทั้งหลายย่อมไม่ระลึกถึงการงาน
อันตนกระทำบ้างหรือ ? ตอบว่า ย่อมระลึก แต่การระลึกนั้นไม่ชื่อว่าเป็นสติ
เพราะอาการระลึกนั้น เป็นความประพฤติของอกุศลจิตอย่างเดียว ฉะนั้น จึงไม่
ทรงถือเอาสติ. ถามว่า เมื่อความเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ในพระสูตร
จึงตรัสว่า มิจฉาสติ เป็นความระลึกเล่า ? ตอบว่า เพื่อจะทรงยังมิจฉัตตะ
แห่งมิจฉามรรคให้บริบูรณ์ เพราะอกุศลขันธ์ทั้งหลายเป็นสภาวะเว้นจากสติ
และเป็นปฏิปักษ์ต่อสติ จึงทรงทำเทศนามิจฉาสติไหวในพระสูตรนั้นโดยปริยาย
แต่มิจฉาสตินั้นว่าโดยนิปปริยายย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น จึงไม่ทรงถือเอา.
อนึ่ง ปัญญา ย่อมไม่มีในจิตของอันธพาลนั้น เพราะฉะนั้น จึงไม่
ทรงถือเอา. ถามว่า ความรู้ (ปญฺญา) เป็นเครื่องหลอกลวงของบุคคลผู้เป็น
มิจฉาทิฏฐิ ไม่มีหรือ ? ตอบว่า มีอยู่ แต่ความรู้เป็นเครื่องหลอกลวงนั้นไม่
ชื่อว่า ปัญญา ความรู้นั้นชื่อว่าเป็นมายา ว่าโดยใจความ มายานั้นก็คือตัณหา
นั่นเอง. ก็เพราะจิตนี้เป็นจิตกระวนกระวาย หนัก หยาบ แข็ง กระด้าง

ไม่ควรแก่การงาน ป่วย คด โกง ฉะนั้น ธรรม 6 คู่ มีปัสสัทธิเป็นต้น
พระองค์จึงไม่ทรงถือเอา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงบท 32 ที่ขึ้นสู่พระบาลีด้วยสามารถ
องค์แห่งจิตโดยลำดับบทเพียงเท่านี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงเยวาปนกธรรมจึง
ตรัสพระพุทธพจน์มีอาทิว่า เย วา ปน ตสฺมึ สมเย (ก็หรือว่านามธรรม
ที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น) ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในคำมีอาทิว่า เยวาปนกธรรมนั้นต่อไป.
ในอกุศลจิตแม้ทั้งหมด ธรรมทั้ง 10 เหล่านี้เท่านั้น คือ ฉันทะ
อธิโมกข์ มนสิการ มานะ อิสสา มัจฉริยะ ถีนะ มิทธะ อุทธัจจะ กุกกุจจะ
เป็นเยวาปนกธรรมมาในพระสูตร ย่อมปรากฏในบทพระสูตร เพราะฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ในที่นี้ ส่วนในอกุศลจิตนี้มีเยวาปนกธรรม 4 ประการ
กล่าวคือเป็นองค์ที่แน่นอน คือ ฉันทะ อธิโมกข์ มนสิการ อุทธัจจะ.
ในบรรดาเยวาปนกธรรมเหล่านั้น ธรรมมีฉันทะเป็นต้น พึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ ก็ธรรมมีฉันทะเป็นต้น (ฉันทะ 1
อธิโมกข์ 1 มนสิการ 1 ตัตรมัชฌัตตตา 1 ตามนัยที่กล่าวแล้วนั้น) เป็นกุศล
อย่างเดียว ธรรมมีฉันทะเป็นต้น (คือ ฉันทะ 1 อธิโมกข์ 1 มนสิการ 1
อุทธัจจะ 1) เหล่านี้เป็นอกุศล. ส่วนธรรมนอกนี้ ความที่จิตฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
อุทธัจจะ.
อุทธัจจะนั้นมีความไม่เข้าไปสงบเป็นลักษณะ (อวูปสมนลกฺขณํ)
เหมือนน้ำกระเพื่อมเพราะลมพัด มีความไม่ตั้งมั่นเป็นรส (อนวฏฺฐานรสํ)
เหมือนธงชัยและธงแผ่นผ้าพริ้วไปเพราะลมพัด, มีความพล่านไปเป็นปัจจุบัน-

ฐาน (ภนฺตตฺตปจฺจุปฏฺฐานํ) มีความไม่เข้าไปสงบเหมือนขี้เถ้าฟุ้งขึ้นเพราะ
แผ่นหินที่ทุ่มลง, มีความมนสิการโดยอุบายไม่แยบคายเป็นปทัฏฐาน (เจตโส
อวูปสโม อโยนิโสมนสิการปทฏฺฐานํ)
พึงทราบว่าเป็นความฟุ้งซ่านแห่งจิต.
บทธรรม 32 มีผัสสะเป็นต้น (มีอวิกเขปะเป็นที่สุด) กับบทธรรม
4 มีฉันทะเป็นต้นที่ตรัสด้วยอำนาจเยวาปนกธรรม รวมทั้งหมดเป็นบทธรรม
36 ในวาระแห่งธัมมุทเทสนี้. บทธรรมที่มาในบาลีเหล่านั้นลดบทธรรมที่เป็น
เยวาปนกธรรมที่แน่นอน 4 อย่าง ออกแล้วก็เหลือ 32 เท่านั้น ด้วยประการฉะ
นี้. แต่ในอุทเทสแห่งอกุศลนี้ เพราะเว้นธรรมที่ไม่ถือเอาจึงเป็นธรรม 16 บท
คือ หมวดธรรม 5 มีผัสสะเป็นต้น* วิตก 1 วิจาร 1 ปีติ 1 เอกัคคตาจิต 1
วิริยินทรีย์ 1 ชีวิตินทรีย์ 1 มิจฉาทิฏฐิ 1 โลภะ 1 โมหะ 1 อหิริกะ 1
อโนตตัปปะ 1.
บรรดาธรรม 16 เหล่านั้น ธรรม 7 จำแนกไม่ได้ ธรรม 9 จำแนกได้
ธรรม 7 ที่จำแนกไม่ได้ เป็นไฉน ? ธรรมที่จำแนกไม่ได้เหล่านี้คือ ผัสสะ
สัญญา เจตนา วิจาร ปีติ ชีวิตินทรีย์ โมหะ ส่วนธรรมที่จำแนกได้ 9
เหล่านี้ คือ เวทนา จิต วิตก เอกัคคตาจิต วิริยินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ
อโนตตัปปะ โลภะ.
บรรดาธรรม 16 อย่างเหล่านั้น ธรรม 6 อย่างจำแนกได้ 2 ฐาน
ธรรมอย่างหนึ่งจำแนกได้ 3 ฐาน ธรรมอย่างหนึ่งจำแนกได้ 4 ฐาน และ
ธรรมอีกอย่างหนึ่งจำแนกได้ 6 ฐาน. เป็นอย่างไร ? ธรรม 6 อย่างเหล่านี้
คือ จิต วิตก มิจฉาทิฏฐิ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ
จำแนกได้ 2 ฐาน. จริงอยู่ บรรดาธรรมทั้ง 6 เหล่านั้น จิตก่อนเพ่งถึง
ผัสสปัญจกะเรียกว่าจิต เพ่งถึงอินทรีย์เรียกว่ามนินทรีย์. วิตกเพ่งถึงองค์ฌาน
* ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต

ทั้งหลายเรียกว่าวิตก เพ่งถึงองค์มรรคทั้งหลายเรียกว่ามิจฉาสังกัปปะ. มิจฉาทิฏฐิ
ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิเหมือนกันทั้งในองค์มรรคทั้งในกรรมบถ. อหิริกะเพ่งถึงพละ
ทั้งหลายเรียกว่าอหิริกพละ เพ่งถึงหมวดสองแห่งธรรมเป็นเครื่องยังโลกให้
พินาศเรียกว่าอหิริกะ แม้ในอโนตตัปปะก็นัยนี้แหละ. โลภะเพ่งถึงมูลเรียกว่า
โลภะ เพ่งถึงกรรมบถ เรียกว่า อภิชฌา. ธรรม 6 อย่างเหล่านี้ท่านจำแนก
ในฐานะทั้ง 2 ด้วยประการฉะนี้.
ส่วนเวทนาเพ่งถึงผัสสปัญจกะเรียกว่าเวทนา เพ่งถึงองค์ฌานทั้งหลาย
เรียกว่า สุข เพ่งถึงอินทรีย์ทั้งหลาย เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์ ธรรม (เวทนา)
อย่างเดียวจำแนกได้ 3 ฐานด้วยประการฉะนี้. ก็วิริยะเพ่งถึงอินทรีย์ทั้งหลาย
เรียกว่า วิริยินทรีย์ เพ่งถึงองค์มรรคทั้งหลาย เรียกว่า มิจฉาวายามะ เพ่งถึง
พละ เรียกว่า วิริยพละ เพ่งถึงธรรมปิฏฐิทุกะ เรียกว่า ปัคคาหะ ธรรม
(วิริยะ) อย่างเดียวนี้ท่านจำแนกไว้ 4 ฐาน ด้วยประการฉะนี้. ก็สมาธิเพ่งถึง
องค์ฌานทั้งหลาย เรียกว่า เอกัคคตาจิต เพ่งถึงอินทรีย์ เรียกว่า สมาธินทรีย์
เพ่งถึงองค์มรรคทั้งหลาย เรียกว่า มิจฉาสมาธิ เพ่งถึงพละทั้งหลาย เรียกว่า
สมาธิพละ เพ่งถึงธรรมปิฏฐิทุกะ เรียกว่า สมถะ ด้วยสามารถแห่งธรรม
หมวดหนึ่งในทุติยทุกะ เรียกว่า อวิกเขปะ โดยทุกะที่สาม ธรรม (สมถะ)
นี้อย่างเดียวท่านจำแนกไว้ 6 ฐาน ด้วยประการฉะนี้.
ก็ธรรมแม้ทั้งหมดเหล่านั้นจัดเป็น 9 กอง คือ
ผัสสปัญจกะ 1 องค์ฌาน 1 อินทรีย์ 1 องค์มรรค 1 พละ 1
มูล 1 กรรมบถ 1 โลกนาสกธรรม 1 ปิฏฐิทุกะ 1.

บรรดาธรรม 9 กองนั้น กองนั้น คำใดที่ข้าพเจ้าพึงกล่าว คำนั้นข้าพเจ้ากล่าว
ไว้ในนิทเทสแห่งกุศลจิตดวงที่หนึ่งแล้วแล.
จบกถาว่าด้วยธัมมุทเทสวาร

บาลีนิทเทสวาร


[278] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่
สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญา มีในสมัยนั้น.
[279] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนา มีในสมัยนั้น.
[280] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
จิต มีในสมัยนั้น.
[281] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉา-
สังกัปปะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิตก มีในสมัยนั้น.
[282] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งดูอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
วิจาร มีในสมัยนั้น.
[283] ปีติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?