เมนู

บทว่า ปุพฺพนฺเต (ในส่วนอดีต) ได้แก่ ในส่วนที่ล่วงไปแล้ว.
บทว่า อปรนฺเต (ในส่วนอนาคต) ได้แก่ ในส่วนที่ยังไม่มาถึง. บทว่า
ปุพฺพนฺตาปรนฺเต ได้แก่ ในส่วนทั้ง 2 นั้น. คำว่า อิทปฺปจฺจยตา ปฏิจฺจ-
สมุปฺปนฺเนสุ ญาณํ
(ความรู้ในอิทัปปัจจยตาธรรมและปฏิจจสมุปบาทธรรม)
ได้แก่ ความรู้เนื้อความในปัจจัยทั้งหลายและในธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัย
อย่างนี้ว่า นี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมนี้ ดังนี้.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งโลภะ


เนื้อความแห่งบททั้งหลายที่ยังมิได้กล่าวไว้ในหนหลังแม้ในโลภนิทเทส
พึงทราบดังต่อไปนี้.
สภาวะที่ชื่อว่า ราคะ (ความกำหนัด) ด้วยสามารถความยินดี. ที่ชื่อว่า
สาราคะ (ความกำหนัดนัก) ด้วยอรรถว่าความยินดีมีกำลัง. ที่ชื่อว่า อนุนโย
(ความคล้อยตามอารมณ์) เพราะยังสัตว์ทั้งหลายให้คล้อยไปในอารมณ์ทั้งหลาย.
ที่ชื่อว่า อนุโรโธ (ความยินดี) เพราะอรรถว่า ย่อมพอใจ อธิบายว่า ย่อม
ยังสัตว์ให้ใคร่. ที่ชื่อว่า นนฺที (ความเพลิดเพลิน) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุ
ให้สัตว์เพลิดเพลินในภพใดภพหนึ่ง หรือตัวเองย่อมเพลิดเพลิน. ความเพลิด
เพลินนั้นด้วย ความกำหนัดด้วยอรรถว่าความยินดีนั้นด้วย เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า นนฺทีราโค (ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน) ในนันทีราคะ
นั้น ตัณหาเกิดขึ้นครั้งเดียวในอารมณ์หนึ่ง ชื่อว่า นันที (ความเพลิดเพลิน)
เมื่อเกิดขึ้นบ่อย ๆ จึงตรัสเรียกว่า นันทีราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความ
เพลิดเพลิน).
บทว่า จิตฺตสฺส สาราโค (ความกำหนัดหนักแห่งจิต) ได้แก่ ความ
กำหนัดใดที่ตรัสไว้ว่า สาราโค (ความกำหนัดหนัก) ด้วยอรรถว่า ความยินดีมี