เมนู

จูฬันตรทุกะ


[701] ธรรมมีปัจจัย เป็นไฉน ?
ขันธ์ 5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณ
ขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีปัจจัย.
ธรรมไม่มีปัจจัย เป็นไฉน ?
อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีปัจจัย.
[702] ธรรมเป็นสังขตะ เป็นไฉน ?
ธรรมที่มีปัจจัยเหล่านั้นอันใดเล่า ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่า ธรรม
เป็นสังขตะ.
ธรรมเป็นอสังขตะ นั้นเป็นไฉน ?
ธรรมที่ไม่มีปัจจัยนั้นอันใดเล่า ธรรมนั้นนั่นแหละชื่อว่า ธรรมเป็น
อสังขตะ.
[703] ธรรมที่เห็นได้ เป็นไฉน ?
รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นได้.
ธรรมที่เห็นไม่ได้ เป็นไฉน ?
จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์,
รูปที่เห็นไม่ได้ที่กระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธรรมายตนะ และอสังขตธาตุ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นไม่ได้.
[704] ธรรมที่กระทบได้ เป็นไฉน ?
จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
ที่กระทบได้.

ธรรมที่กระทบไม่ได้ เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้
ซึ่งนับเนื่องในธรรมายตนะ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่
กระทบไม่ได้.
[705] ธรรมเป็นรูป เป็นไฉน ?
มหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 นั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่า ธรรมเป็นรูป.
ธรรมไม่เป็นรูป เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นรูป.
[706] ธรรมเป็นโลกิยะ เป็นไฉน ?
กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ
ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นโลกิยะ.
ธรรมเป็นโลกุตระ เป็นไฉน ?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นโลกุตระ.
[707] ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ได้ และที่จิตบางอย่างรู้ไม่ได้
เป็นไฉน ?
ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้
หรือธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรม
เหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรม

เหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใด
จักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด
ชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดจักขุ
วิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดกาย
วิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้.
ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้
หรือธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้,
ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือ
ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรม
เหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด
กายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดโสต
วิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณ
รู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้.
ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้
หรือธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้,
ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรม
เหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใด
ฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดจักขุ
วิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฐานวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณ
รู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้
ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้.

ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้
หรือธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้
ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือ
ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรม
เหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรม
เหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใด
ชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด
ฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้.
ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้
หรือธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรม
เหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้, หรือธรรม
เหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใด
กายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดฆาน
วิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณไม่รู้ได้ ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณ
รู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้, หรือธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณ
รู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ได้และที่จิตบางอย่าง
รู้ไม่ได้.
จูฬันตรทุกะ จบ

อรรถกถานิกเขปกัณฑ์


ว่าด้วยเหตุโคจฉกะ


พึงทราบวินิจฉัยนิทเทสอโทสะในเหตุโคจฉกทุกะ ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า ไมตรี ด้วยอำนาจแห่งกิริยาที่สนิทสนม. อาการแห่ง
ไมตรี ชื่อว่า กิริยาที่สนิทสนม. ความเป็นมิตรที่พรั่งพร้อมด้วยเมตตาอัน
ไมตรีให้เป็นไป ชื่อว่า เมตฺตายิตตฺตํ คือ ความสนิทสนม. ที่ชื่อว่า อนุทฺทา
คือการเอ็นดู เพราะอรรถว่า ย่อมเอื้อเฟื้อ คือย่อมคุ้มครอง. อาการที่เอ็นดู
ชื่อว่า อนุทฺทยนา คือกิริยาที่เอ็นดู. ความเป็นแห่งกิริยาที่เอ็นดู ชื่อว่า
อนุทฺทายิตตฺตํ คือความเอ็นดู. การแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ชื่อว่า หิเตสิตา
คือความแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล. ชื่อว่า อนุกมฺปา คือความสงสาร ด้วย
อำนาจการอนุเคราะห์.
พระองค์ตรัสถึงเมตตาที่บรรลุอุปจารสมาธิและอัปปนา ด้วยบทเหล่านี้
แม้ทั้งหมด ตรัสถึงอโทสะเป็นโลกิยะและโลกุตระด้วยบทที่เหลือ.
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอโมหะ ต่อไป.
บทว่า ทุกฺเข ญาณํ (ความรู้ในทุกข์) ได้แก่ ปัญญาในทุกขสัจจะ.
แม้ในบทมีอาทิว่า ทุกฺขสมุทเย ญาณํ เป็นต้นก็นัยนี้. ก็บรรดาความรู้ใน
ทุกข์เป็นต้นนั้น ความรู้ในทุกข์ (ทุกเข ญาณํ) ย่อมเป็นไปใน การฟัง การ
เข้าใจ การแทงตลอดและการพิจารณา ความรู้ทุกขสมุทัยก็เป็นไปอย่างนั้น.
แต่ความรู้ในนิโรธ ย่อมเป็นไปในการฟัง การแทงตลอดและการพิจารณา
นั่นแหละ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาก็เหมือนกัน.