เมนู

ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ย่อมเห็นรูปเป็นตน พระองค์ตรัสว่า
สุทธรูป คือรูปล้วน ๆ เท่านั้นว่าเป็นตน. ตรัสว่า อรูปเป็นตนไว้ในฐานะ
ทั้ง 7 เหล่านั้น รูปวนฺตํ วา อตฺตานํ อตฺตนิ วา รูปํ รูปสฺมึ วา
อตฺตานํ เวทนํ อตฺตโต ฯเปฯ สญฺญํ สํขาเร วิญฺญาณํ อตฺตโต
สมนุปสฺสติ
คือ หรือเห็นตนมีรูป 1 หรือเห็นรูปในตน 1 หรือเห็นตนใน
รูป 1 เห็นเวทนาเป็นตน 1 ฯลฯ เห็นสัญญาเป็นตน 1 เห็นสังขารเป็นตน 1
เห็นวิญญาณเป็นตน 1. ตรัสว่า ตนระคนด้วยรูปและอรูปในฐานะ 12 ด้วย
อำนาจแห่งขันธ์ละ 3 อย่าง ในขันธ์ 4 อย่างนี้ว่า หรือเห็นตนมีเวทนา 1
หรือเห็นเวทนาในตน 1 หรือเห็นตนในเวทนา 1.
บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ตรัสอุจเฉททิฏฐิในฐานะทั้ง 5 คือ ย่อมเห็นรูป
เป็นตน 1 ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน 1 ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน 1 ย่อมเห็น
สังขารเป็นตน 1 ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน 1. ในฐานะที่เหลือตรัสสัสสตทิฏฐิ
ในที่นี้จึงเป็นภวทิฏฐิ 15 วิภวทิฏฐิ 5 ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบทิฏฐิเหล่า
นั้น แม้ทั้งหมดห้ามมรรคแต่ไม่ห้ามสวรรค์ อันมรรคที่หนึ่งพึงประหาณดังนี้.

ว่าด้วยความสงสัย


บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า สตฺถริ กงฺขติ (เคลือบแคลงสงสัยใน
พระศาสดา) ความว่า ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงในพระสรีระหรือในคุณของ
พระศาสดาหรือทั้ง 2 อย่าง. เมื่อเคลือบแคลงในพระสรีระย่อมเคลือบแคลงว่า
พระสรีระชื่อว่า ประดับด้วยลักษณะอันประเสริฐ 32 ประการ มีอยู่
หรือไม่หนอ ดังนี้. เมื่อเคลือบแคลงในพระคุณย่อมเคลือบแคลงว่า พระ-
สัพพัญญุตญาณอันสามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้.
เมื่อเคลือบแคลงในสิ่งทั้ง 2 นั้น ย่อมเคลือบแคลงว่า ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้า