เมนู

ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ว่า เป็นกัลยาณมิตร เป็นผู้ภักดีมั่นคง ดังนี้
ตรัสถึงสาวกของพระพุทธเจ้า ด้วยคำว่า เป็นคนกตัญญูเป็นต้น ตรัสถึง
พระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า ดังนี้.
บัดนี้ พึงทราบว่า บุคคลใดมีปรกติไม่เห็นพระอริยเจ้าเหล่านั้น และ
ไม่มีสาธุการในการเห็น บุคคลนั้น ชื่อว่า ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า. ก็บุคคล
ผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้านั้นมี 2 อย่าง คือ ไม่เห็นด้วยจักขุ และไม่เห็นด้วยญาณ
ในการไม่เห็นทั้ง 2 นั้น ในที่นี้ พระองค์ทรงประสงค์เอาผู้ไม่เห็นด้วยญาณ
จริงอยู่ พระอริยเจ้าทั้งหลาย แม้บุคคลเห็นด้วยมังสจักษุหรือทิพยจักษุก็ไม่
ชื่อว่าเห็นได้เลย เพราะความที่จักษุเหล่านั้นถือเอาเพียงสี (วรรณะ) เป็น
อารมณ์ มิใช่คุณธรรมมีความเป็นพระอริยะเป็นอารมณ์ แม้สัตว์ทั้งหลายมี
สุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้นก็ย่อมเห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายด้วยจักษุ แต่
สัตว์เหล่านั้นไม่ชื่อว่าเห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ในข้อนั้น มีเรื่องต่อไปนี้ เป็น
อุทาหรณ์.

เรื่องการไม่เห็นพระอริยะ


ได้ยินว่า พระอุปัฏฐากของพระขีณาสพเถระผู้อยู่ในวิหารจิตตลบรรพต
เป็นพระบวชเมื่อแก่ วันหนึ่ง เมื่อเที่ยวไปบิณฑบาตกับพระเถระรับบาตรจีวร
ของพระเถระแล้วก็เดินตามหลังไป ถามพระเถระว่า ท่านขอรับ ชื่อว่าพระอริยะ
ทั้งหลายเป็นเช่นไร ? พระเถระตอบว่า คนแก่บางคนในโลกนี้รับบาตรจีวร
ของพระอริยะทั้งหลาย ทำวัตรปฏิบัติแล้ว แม้เที่ยวไปด้วยกันก็ไม่รู้พระอริยะ
ทั้งหลาย ดูก่อนอาวุโส พระอริยะทั้งหลายรู้ได้ยากอย่างนี้ ดังนี้. แม้พระเถระ
พูดอย่างนี้ พระขรัวตานั้นก็หาเข้าใจไม่.

เพราะฉะนั้น การเห็นด้วยจักษุไม่ชื่อว่าเห็น การเห็นด้วยญาณเท่านั้น
จึงชื่อว่าเห็น เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนวักกลิ มีประโยชน์อะไรแก่เธอ
ด้วยการเห็นกายอันเปื่อยเน่านี้ ดูก่อนวักกลิ บุคคลใดแลเห็นธรรม บุคคลนั้น
ชื่อว่า เห็นเรา (ตถาคต) ดังนี้ ฉะนั้น บุคคลแม้เห็นพระอริยะด้วยจักษุ
แต่ไม่เห็นอยู่ซึ่งลักษณะมีความไม่เที่ยงเป็นต้น ซึ่งพระอริยเจ้าทั้งหลายเห็น
ด้วยญาณ ยังไม่บรรลุธรรมที่พระอริยเจ้าบรรลุแล้ว ก็พึงทราบว่า บุคคลนั้น
ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะไม่เห็นธรรมอันกระทำความเป็นพระอริยะ
และความเป็นพระอริยะ ดังนี้.
บทว่า อริยธมฺนสฺส อโกวิโท (ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า)
ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่ฉลาดในอริยธรรมอันต่างด้วยธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้น.
ก็ในพระบาลีว่า อริยธมฺเม อวินีโต (ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของ
พระอริยเจ้า) นี้ มีวินิจฉัยว่า
ชื่อว่าวินัยมี 2 อย่าง ในวินัย 2
อย่างนี้ แต่ละอย่างแบ่งออกเป็น 5 บุคคลนี้
ท่านเรียกว่าผู้ไม่ได้ฝึกฝน เพราะความไม่มี
วินัยนั้น
ดังนี้.

ว่าด้วยวินัย 2 อย่าง


จริงอยู่ วินัยมี 2 อย่าง คือ สังวรวินัย และ ปหานวินัย ก็
บรรดาวินัยแม้ทั้ง 2 นี้ วินัยแต่ละอย่างยังแยกออกเป็น 5 อย่าง แม้สังวร-
วินัยก็มี 5 อย่าง
คือ
ศีลสังวร (ความสำรวมด้วยศีล) 1
สติสังวร (ความสำรวมด้วยสติ) 1